Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

สัญญาณต่างๆ ของลูกน้อย

สัญญาณต่างๆ ของลูกน้อย

การสื่อสารด้วยสัญญาณต่างๆ ของลูกน้อยเป็นการแสดงออกเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกโดยสามารถสื่อสารได้ตั้งแต่วัยทารก และจะถูกพัฒนาไปตามช่วงอายุของลูกน้อย ตั้งแต่การร้องไห้ การยิ้ม การหัวเราะ หรือแม้กระทั่งการพูดด้วยเสียงอ้อแอ้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตเพื่อทำความเข้าใจว่าลูกต้องการที่จะสื่อว่าอะไร เพื่อช่วยในการตอบสนองความต้องการของลูกน้อยได้อย่างเหมาะสม

10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกรักคุณ

1. สบตา - เด็กพยายามจะจ้องหน้าและเลียนแบบสีหน้า
2. หันหาคุณ - เด็กมักจะหันหาเสียงที่เขาคุ้นเคย เช่นคุณยายกำลังคุยกับคุณแม่ ลูกน้อยก็เลือกที่จะหันหาคุณแม่แม้ว่าคุณยายจะอุ้มเขาอยู่ก็ตาม
3. เปิดปาก - จากการสำรวจพบว่าเด็กจะมีพฤติกรรมการขยับปาก เมื่อได้กลิ่นแม่ของเขา เพราะเด็กสามารถจำแม่ได้แม้จะสัมผัสได้แค่กลิ่นก็ตาม
4. สบายในอ้อมแขน - ลูกน้อยจะรู้สึกสบายและนอนอย่างผ่อนคลายในอ้อมแขนของคุณ
5. ยิ้ม - เมื่อทารกอายุ 6-12 สัปดาห์ เด็กจะเริ่มยิ้มให้คุณแบบเต็มๆ นั่นถือว่าเป็นการเริ่มการสื่อสารกับคุณแม่
6. พูดอ้อแอ้ - เมื่ออายุ 2 เดือนทารกจะเริ่มพูดอ้อแอ้ๆสื่อสารกับคุณ การพูดสื่อสารกับทารกจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูดและการฟังที่ดี
7. ออกอาการดีใจเมื่อเจอคุณ - เมื่อทารกอายุ 6 เดือน ลูกน้อยจะสามารถบอกความแตกต่างระหว่างคนดี (เช่นเพื่อนของคุณ หรือญาติๆ) กับคนที่ดีที่สุด (คือแม่ของเขา) เองได้ โดยจะออกอาการดีใจทันทีเมื่อเห็นหน้าของคุณ
8. หัวเราะ - เสียงหัวเราะของลูกน้อยมีพลังกับพ่อแม่เสมอ
9. งอแงเมื่อถูกแยกห่าง - ลูกน้อยไม่ชอบนักเมื่อต้องแยกห่างจากคนที่เขารัก เพราะทารกเข้าใจว่าคุณจะไม่กลับมาหาเขาอีก
10. รายงานตัว - เมื่อลูกน้อยเริ่มคลานได้ คุณแม่จะสังเกตได้ว่าเขาพยายามที่จะคลานเข้ามาใกล้ๆเพื่อรายงานตัวว่าเขาอยู่ตรงนี้

และอย่าลืมที่จะเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกน้อย และช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว ไม่เหนอะหนะตลอดวันนะคะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Anchalee Jaensang

เด็กทารกสื่อสารด้วยการร้องไห้

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงวัย 1-3 ปี มักจะมีปัญหาไม่ยอมหลับตอนกลางคืน ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ เพราะการที่ลูกน้อยนอนหลับไม่เต็มอิ่มในตอนกลางคืน จะส่งผลเรื่องการเจริญเติบโต และพัฒนาการในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ เด็กที่นอนไม่พอจะความจำไม่ดี ขี้ลืม ขาดสมาธิ เหม่อลอย หงุดหงิดและแปรปรวนง่าย เคลื่อนไหวน้อย ดูไม่สดชื่น หรืออาจจะเป็นเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น แถมยังอาจจะส่งผลจ่อเรื่องความสูงด้วย เพราะการนอนดึกไปลดการหลั่นของ Growth hormone เรามาลองดูวิธีการแก้ไขกันค่ะ

1. ควรบอกลูกล่วงหน้าซักหน่อยว่าใกล้ถึงเวลานอนแล้ว ลูกจะได้เตรียมใจ ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ หรือถูกพรากไปจากกิจกรรมที่กำลังทำอยู่

2. จัดสรรเวลานอนกลางวันของลูกให้เหมาะสม เช่น เลื่อนเวลามานอนเร็วขึ้น และดูว่าเวลาในการนอนกลางวันของลูกมากเกินไปหรือเปล่า เพราะเด็กวัย 1-3 ปี ต้องการการนอนกลางวันแค่ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่ตอนกลางคืนต้องการ 11-12 ชั่วโมง

3. จัดสิ่งแวดล้อมให้ดูสบายๆ เงียบ ไม่มีเสียงรบกวน หากลูกกลัวความมืด คุณพ่อคุณแม่ต้องพูดให้ลูกมั่นใจว่าพ่อกับแม่จะอยู่ใกล้ๆลูก หรือนอนกับลูกไปสักระยะหนึ่ง จนลูกรู้สึกอบอุ่นใจ และหลับไป

4. ทำให้ลูกรู้ว่าคุณรักเขา เช่น อุ้มลูกเดินเล่นก่อนพาเข้านอน กอด หอม หรือเป็นคนพาเข้านอนด้วยตัวเอง ให้ลูกรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทิ้งให้อยู่แต่กับพี่เลี้ยง

ในช่วงแรกๆอาจจะยากซักหน่อย คุณพ่อคุณแม่ต้องยืดหยุ่น ไม่จู้จี้หรือบังคับลูกมากเกินไป เพราะไม่อย่างนั้นแล้วลูกจะรู้สึกว่าการเข้านอนเป็นเรื่องการบังคับค่ะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ สุริยาทิตย์ เด็ก หงส์น้อย

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์