Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

ทารกระยะแรกเกิด

ทารกระยะแรกเกิด

ลองมาวิเคราะห์เกี่ยวกับช่วงเวลา “ปัจจุบัน” และ “หลังจากนี้” ของทารกกัน!

ช่วงแรกเกิดผิวของทารกแรกเกิดจะมีความละเอียดอ่อนมาก หากปล่อยให้ก้นเปียกชื้นจากปัสสาวะหรืออุจจาระเหลวก็จะทำให้เป็นผื่นได้ง่าย ดังนั้น จึงควรเลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้เร็ว และหมั่นเปลี่ยนให้บ่อย ๆ นอกจากนี้ ขอให้เปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างระมัดระวังเนื่องจากสะดือทารกยังไม่แห้งดี

ภาษาของทารก

การเข้าใจภาษาทารกไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับภาษาของทารกโดยเฉพาะลูกคนแรกด้วยแล้ว ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจภาษาของลูกน้อยกันค่ะ

ภาษาของทารก

อายุ 0-1 เดือน

ทารกจะนอนกลับเป็นส่วนใหญ่จึงยังไม่อาจสื่อสารอะไรได้มากนัก ช่วงวันนี้เมื่อทารกเริ่มปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวได้มากขึ้น เมื่อลูกได้ยินเสียงดังรอบข้างมักจะมีการสะดุ้งตกใจ

อายุ 2-4 เดือน

ทารกจะเริ่มส่งยิ้มกับผู้ที่มาหยอกล้อเล่นได้อย่างมีความสุข และสามารถแยกเสียงสูงต่ำได้เนื่องจากระบบการได้ยินเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น

อายุ 5-6 เดือน

เมื่อเด็กได้ยินเสียงที่ตนพอใจก็จะตื่นเต้นและส่งท่าทางเพื่อตอบสนองรับกับเสียงที่ได้ยินนั้นในระดับหนึ่ง

อายุ 7-12 เดือน

เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าใจความหมายของคำที่คุณแม่สื่อสารด้วย เช่น ปาป๊า มาม๊า จ๊ะจ๋า หม่ำๆ เป็นต้น นอกจากนี้จะสามารถรับรู้และจดจำชื่อขอตัวเองได้ รวมถึงคำต่างๆ ที่เราสื่อสารกับลูกอย่างสม่ำเสมอค่ะ

อายุ 1-2 ปี

เด็กเริ่มเรียนรู้และเข้าใจคำต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สื่อสารด้วยได้ สามารถชี้ภาพได้ 2-3 ภาพและรู้จักอวัยวะของตัวเองเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ส่วน แต่จะสามารถรับรู้ได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการสื่อสารและการกระตุ้นพัฒนาการของคุณพ่อและคุณแม่ด้วยค่ะ คุณแม่ควรหมั้นเล่นสื่อสารกับลูกบ่อยๆ ลูกจะจดจำและตอบสนองในสิ่งที่รับรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น ลองบอกให้ลูกน้อยหยิบของเล่น

ภาษาและการแสดงออกของทารก

ในช่วง 3 ปีแรก เด็กจะมีพัฒนาการด้านการรับรู้และแสดงออกทางด้านภาษากับคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่มในครรภ์จึงส่งผลให้สามารถตอบสนองในสิ่งที่ได้ยินมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทารกยังไม่สามารถแสดงออกได้มากเท่าการเรียนรู้และจดจำในสิ่งที่ได้ยินจากคุณพ่อคุณแม่

เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่ 6-9 เดือน เด็กจะเริ่มส่งเสียง อ้อแอ้ เป็นช่วงที่เด็กกำลังเริ่มหัดใช้ภาษาและพัฒนาการต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถพูดเป็นคำได้ในอนาคต คุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมทักษะของลูกน้อยได้โดยสื่อสารกับลูกน้อยเป็นประจำ ลูกจะจดจำและเกิดการเรียนรู้เมื่อพบว่าตัวเองมีคู่สนทนาตรงหน้า คุณแม่ควรเน้นพูดประโยคสั้นๆ ไม่ยาวเกินไป และเว้นจังหวะเพื่อให้ลูกได้ตอบสนองคุณแม่บ้างค่ะ จริงๆ แล้วคุณแม่สามารถคุยกับลูกได้ทุกเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า เวลาลูกทานข้าว คุณแม่อาจพูดคำว่า “หม่ำๆ” ลูกจะเข้าใจว่านี่เป็นเวลาทานข้าว หรือเวลาอาบน้ำ คุณแม่อาจพูดว่าอาบน้ำขณะทอดเสื้อผ้าลูกอยู่ หรืออุ้มพาเขาไปที่กระมังอาบน้ำ นอกจากนี้คุณแม่สามารถใช้ของเล่นมาเป็นตัวช่วยแสดงท่าทางประกอบเพื่อกระตุ้นการรับรู้และตอบสนองทางภาษาของคุณแม่ได้อย่างชัดเจนขึ้น แต่คุณแม่ไม่ควรพูดคำเดิมบ่อยๆ หรือให้ลูกเล่นกับของเล่นเดิมๆ เพราะเมื่อลูกรับรู้ในสิ่งนั้นจนคุ้นชิน ลูกจะไม่รู้สึกตื่นกับอะไรใหม่ๆ แล้ว คุณแม่ควรเปลี่ยนคำพูด หรือหยอกล้อเล่นด้วยท่าทางใหม่ๆ เปลี่ยนของเล่นชิ้นใหม่เพื่อเปิดโลกทัศน์และกระตุ้นการการสร้างพัฒนาการใหม่ๆ ให้ลูกรู้สึกตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เค้าอยากมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นต่อไป

การเข้าใจภาษาของทารกไม่ใช่เรื่องยากแต่ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณแม่ทั้งสิ้น หากคุณแม่สื่อสารภาษามาจากใจ เชื่อว่าลูกจะย่อมเป็นเด็กที่เรียนรู้อย่างได้อย่างฉลาดแน่นอนค่ะ

พัฒนาการของลูกน้อย เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : แรกเกิด ~ 5 กิโลกรัม

ร่างกายโดยรวม

เมื่อแรกเกิด ทารกจะยังคงมีร่างกายและแขนขาเล็ก ซึ่งแตกต่างกับความคิดที่ว่าทารกจะตัวอ้วนกลมเล็กน้อย

ศีรษะ

อาจจะมีรูปร่างเบี้ยวเล็กน้อยและมีส่วนที่ปูดออกมาศีรษะด้านบนจะมีช่องว่าง (ศีรษะด้านหน้า) ที่ไม่มีกระดูก แต่ศีรษะจะค่อย ๆ เข้ารูปและช่องว่างจะหายไปภายในช่วงอายุ 1-2 ขวบ

คอ

มีรูปร่างเรียวเล็กและไม่แข็งแรงจะโยกเอนไปมา ไม่สามารถรับน้ำหนักศีรษะที่หนักได้

แขน

โดยธรรมชาติ ทารกจะงอข้อศอก และกำมือทั้งสองข้างเบา ๆ อยู่ในลักษณะรูปตัว w ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับตอนที่อยู่ในท้องคุณแม่

ขา

จะงอหัวเข่า และอ้าขาไปด้านนอก เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณต้นขายังไม่แข็งแรง ลักษณะขาที่อยู่ในรูปตัว M นี้เป็นลักษณะโดยธรรมชาติ

สะดือ

สายสะดือจะหลุดออกเมื่อผ่านไปประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากนั้นสะดือจะยังคงเปียกอยู่ประมาณ 1 เดือน ซึ่งหากสัมผัสถูกขอบผ้าอ้อม ฯลฯอาจจะทำให้เกิดแผลและอักเสบได้

ร่ายกาย

อุณหภูมิของร่างกายจะสูงประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งทารกจะยังไม่สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายเองได้ จึงต้องช่วยควบคุณอุณหภูมิโดยการปรับระดับอุณหภูมิห้อง ใช้เครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องนอนช่วย

ผิว

ผิวหนังของทารกจะละเอียดอ่อน บอบบาง และเป็นแผลง่ายกว่าผู้ใหญ่มาก ในช่วงแรกเกิด ทารกจะเผาผลาญพลังงานมากจึงมีเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ รวมทั้งมีการขับไขมัน (sebum) ออกมาจำนวนมาก ทำให้ต่อมไขมันอุดตัน และเกิดผื่นสีเหลือง เช่น ที่บริเวณศีรษะ คิ้ว อีกทั้งจะเกิดผดที่บริเวณใบหน้าหรือหลังคอที่มีต่อมเหงื่ออยู่มาก และอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อจากการใช้เล็บเกา ซึ่งหากมีอาการคัดจมูก จะทำให้ไม่สามารถกินนมแม่หรือนมชงได้ดี จึงขอให้ระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องนี้

ดังนั้น สิ่งที่จะนำไปสัมผัสกับผิวของทารก ขอให้เลือกสิ่งที่อ่อนนุ่มและอ่อนโยนต่อผิว

นมแม่

นมแม่ซึ่งมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสมนั้นถือว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เมื่อแรกเกิด ทารกจะร้องไห้ตื่นและหิวนมทุก ๆ 2 - 3 ชั่วโมงตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ขอให้ป้อนทุกครั้งที่ทารกต้องการกินนม ในช่วงแรกอาจจะกินนมได้ไม่เก่ง แต่จะค่อย ๆ ดูดหรือกลืนนมได้เก่งขึ้น ดังนั้นไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในช่วงนี้ ทารกจะมีกระเพาะอาหารที่เล็ก และหูรูดกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรง ทำให้บางครั้งอาเจียนเอานมที่กินเข้าไปออกมา

ดังนั้น ในช่วงแรกเกิดอุจจาระจะเหลว และขับถ่ายหลายครั้ง

การอาบน้ำ

แม้ว่าทารกจะนอนอยู่ในเตียงตลอดทั้งวัน แต่ก็ต้องอาบน้ำให้วันละ 1 ครั้งเพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรก เช่น เหงื่อ, ไขมัน ฯลฯ ที่เกิดจากระบบการเผาผลาญพลังงาน ในช่วงแรกเกิดที่มีภูมิต้านทานต่ำ ให้อาบน้ำโดยใช้อ่างอาบน้ำเด็ก ซึ่งทารกที่อยู่ในน้ำคร่ำในท้องคุณแม่มาโดยตลอดจะชื่นชอบการอาบน้ำมาก หากอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นแม้เพียงไม่กี่นาที ร่างกายก็จะอุ่นขึ้น ทำให้อารมณ์ดี และมีการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ดูเหมือนว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดี

ดังนั้น หลังการอาบน้ำทารกจะกินนมได้มากและนอนหลับสบาย

การแต่งตัว

ทารกแค่เพียงกินนมหรือร้องไห้ ก็จะมีเหงื่อออกมาก ดังนั้นต้องเตรียมเสื้อผ้าที่ช่วยซับเหงื่อดังกล่าวไว้ให้มากพอ เนื่องจากใน 1 วันต้องเปลี่ยนหลายตัว ซึ่งในช่วงนี้ คอและกระดูกสันหลังของทารกยังไม่แข็งแรง จึงควรเลือกชุดด้านในหรือเสื้อผ้าแบบกิโมโนที่นำเสื้อด้านซ้ายและขวามาซ้อนทับกันด้านหน้าและผูกด้วยเชือกที่สามารถเปลี่ยนได้ทั้ง ๆ ที่ลูกนอนอยู่ ซึ่งผิวของทารกบอบบางและละเอียดอ่อนมาก หากปกหรือชายเสื้อเสียดสีกับผิว อาจจะทำให้มีอาการบวมแดงที่ผิวได้

ดังนั้น ชุดด้านในหรือเสื้อผ้าของช่วงแรกเกิดจึงควรเป็นชุดเรียบ ๆ

1 วันของทารก

ทารกที่เกิดมาไม่นาน จะกินนมและนอน ตื่นเมื่อหิว กินและนอนต่อซ้ำ ๆ แบบนี้ตลอดทั้งวัน กล่าวกันว่าใน 1 วันจะนอนประมาณ 10 -20 ชั่วโมง ทารกจะนอนหลับไม่ลึกและนอนได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนั้นทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกหิว จะลืมตาตื่นขึ้น ร้องไห้แสดงความต้องการต่อคุณแม่ว่าอยากกินนม

ดังนั้น จากการได้สัมผัสใกล้ชิดกับคุณแม่เช่นนี้จะทำให้สายสัมพันธ์ลึกซื้งยิ่งขึ้น

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์

เคล็ดลับคุณแม่ที่เกี่ยวข้อง