Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

เคล็ดลับเลี้ยงดูลูกน้อย 3

เคล็ดลับเลี้ยงดูลูกน้อย 3

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

เชื่อหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว เด็กน้อยก็มีอารมณ์เหวี่ยง วีน ปรี๊ดแตก ได้เช่นกัน ซึ่งแท้จริงแล้ว อารมณ์เหล่านี้ถือเป็นช่วงหนึ่งในพัฒนาการของลูกน้อย ที่จะแสดงถึงความต้องการบางอย่างให้คนรอบข้างได้รับรู้ว่าเขาต้องการอะไร เช่น ต้องการเรียกร้องความสนใจ เอาแต่ใจ เป็นต้น

แต่เหนือสิ่งอื่นใด คนเป็นพ่อแม่อย่างเรา ต้องเตรียมการรับมือกับอารมณ์ลักษณะนี้ของลูกน้อยอย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาและขจัดอารมณ์ร้าย ๆ เหล่านี้ให้คลี่คลายลงอย่างนุ่มนวลมากที่สุด

ก่อนอื่นตัวคุณพ่อคุณแม่เองต้องเตรียมพร้อมรับอารมณ์วีนแตกของลูกน้อยไว้ก่อน ด้วยการเข้าใจอารมณ์ของเขา มอบความอบอุ่นทางกายและใจ ให้เขารู้สึกผ่อนคลายด้วยการ “สวมกอด” พร้อมกับ “คำพูด” ที่เข้าใจและรับรู้ถึงความรู้สึกของเขา เพื่อให้เขาได้ปลดปล่อยออกมาจนลูกน้อยเริ่มมีทีท่าที่สงบลง จากนั้น คุณพ่อคุณแม่ใช้จังหวะนี้ค่อย ๆ “อบรมสั่งสอน” ด้วยการอธิบายตามหลักของเหตุผลที่เข้าใจง่าย และเมื่อคุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีนี้บ่อย ๆ กับลูก จะช่วยทำให้เขาค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะปรับอารมณ์และเหตุผลด้วยตัวของเขาเอง

วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถับมือกับอารมณ์ลูกน้อยได้เหมาะสมมากที่สุด และถือเป็นโอกาสในการปรับอารมณ์ของตัวเองและลูกน้อยเพื่อให้อยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข และเป็นการสร้างนิสัย “ที่ดี” ในอนาคตด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก story.pptvhd36.com

ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ pixabay.com

รู้ทันพัฒนาการที่ไม่ถูกต้องในแต่ละช่วงวัย-วัยแรกเกิด

วัยแรกเกิด (ช่วงอายุ 0-1 ปี) 
ช่วง 1-3 เดือนแรก
 
จะเป็นช่วงพัฒนากล้ามเนื้อศีรษะ ลูกจะค่อยๆ เริ่มขยับศีรษะได้เองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ สามารถยิ้ม ส่งเสียงคราง ให้คุณแม่ชื่นใจได้แล้วนะคะ

ช่วง 4-6 เดือน เขาก็จะเริ่มขยับมือและเท้า เริ่มหยิบสิ่งของเข้าปาก ฟันก็เริ่มขึ้น เริ่มลุกขึ้นนั่ง 

ช่วง 7-9 เดือน ก็จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้เป็นคำๆ ตามที่ได้ยิน สามารถที่จะถือสิ่งของเล็กๆ หรือเริ่มยืนหรือเดินโดยยึดเกาะราวหรือขอบโต๊ะไว้ด้วย 

ช่วง 10-12 เดือน เขาเริ่มเข้าใจคำถาม ตอบสนองคุณแม่ได้ดีขึ้น ซึ่งพัฒนาการในช่วงขวบปีแรกนี้ ลูกจะเติบโตขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ และแข็งแรงก็ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ของคุณแม่ และการให้ลูกได้ทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารที่ ครบถ้วน เพราะวัยแรกคลอดถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการเติบโต เพื่อให้ร่างกายของลูกมีพัฒนาการเติบโตแข็งแรง ได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือน้ำนมแม่ค่ะ และนอกจากอาหาร คุณแม่ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ลูกน้อยด้วยของเล่นต่างๆ ได้ด้วยนะคะ นอกจากดูแลพัฒนาการทางร่างกายแล้ว การดูแลวัยเด็กให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อป้องกัน ให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บในเด็กเล็ก และหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเกิดผดในเด็ก ผื่นคันจากอากาศร้อน หรือผื่นผ้าอ้อม เพราะต่อมเหงื่อและผิวของเด็กวัยแรกคลอดยังทำงานไม่สมบูรณ์และ แข็งแรงพอ จึงมีโอกาสเกิดผดผื่นได้ง่ายๆ บ่อยครั้งที่ลูกร้องไห้งอแงเพราะรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะอากาศ ร้อนๆ ในเมืองไทย ทำให้มีโอกาสเกิดการอุดตันของการระบายเหงื่อบริเวณข้อพับ ผิวหนังใต้ผ้าอ้อม ซึ่งเป็นอาการยอดฮิตของการเกิดผดผื่นในเด็กทารก โดยสามารถปกป้องด้วยการทาแป้งเด็กที่อ่อนโยนต่อผิวลูก บริเวณที่อาจเกิดผดได้ง่ายๆ และพยายามอย่าให้เขาเกาเพราะอาจกลายเป็นแผลได้ แต่หากสังเกตเห็นการ อักเสบ ผดแดง ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

รู้ทันพัฒนาการที่ไม่ถูกต้องในแต่ละช่วงวัย-วัยคลาน

วัยหัดคลาน (ช่วงอายุ 1-2 ปี) ผ่านช่วงขวบปีแรกมาได้แล้ว คุณแม่มือโปรก็สบายใจได้ระดับหนึ่งแล้วนะคะ เพราะว่านั่นเป็นช่วงที่จะเรียกว่า ยากที่สุดก็ได้ เนื่องจากลูกเล็กยังไม่เข้าใจภาษาของเรา แต่พอเข้าสู่วัยหัดคลาน ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดบางคำ แต่อาจจะยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำๆ แต่เขาจะเข้าใจความหมายเวลาที่คุณแม่พูดหรือแสดงท่าทาง เด็กวัยนี้ ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษนะคะ คุณแม่ควรให้ความใกล้ชิด เอาใจใส่ และใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากๆ โดยอาจเลือกกิจกรรมที่สามารถร่วมสนุกกันได้ทั้งครอบครัว หรือชวนลูกๆ

ของเพื่อนคุณแม่ที่มีวัยใกล้เคียงกัน แล้วปล่อยให้พวกเขาได้เล่นด้วยโดยสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ก็ได้นะคะ เด็กวัยนี้ จะเชื่อฟังคุณแม่เพราะเขายังไม่รู้ ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ยังไงก็พยายามอย่า “ห้าม” มากจนเกินไป ลองปล่อยให้ลูกได้ลองเล่นอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ดูบ้าง คุณแม่อาจจะปล่อยเขาเล่นกับสัตว์เลี้ยง ลงไปวิ่งเล่นบนสนามหญ้า หรือช่วยคุณแม่ปลูกต้นไม้บ้าง นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางความคิด ยังช่วยสร้างเสริมภูมิต้านทานของลูกด้วยค่ะ

เครดิตภาพ : Flickr

รู้ทันพัฒนาการที่ไม่ถูกต้องในแต่ละช่วงวัย อายุ 1-2 ปี

วัยหัดพูด (ช่วงอายุ 2-3 ปี) ช่วงเวลานี้แหละค่ะที่คุณแม่จะไม่เหงา พูดคนเดียวอีกต่อไปแล้ว เพราะเจ้าตัวเล็กจะเริ่มส่งเสียงพูดเป็นคำยาวๆ หรือบางทีเป็นประโยคเลยก็มี เพื่อช่วยให้ลูกได้ฝึกพูดได้คล่องก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล คุณแม่เองก็อย่าลืมฝึกคุย กับลูกอยู่บ่อยๆ นะคะ บางครั้งอาจพูดบางอย่าง เพื่อให้ลูกตั้งคำถามกลับมา หรือถามคำถามเขาให้เขาได้คิด และตอบ ไม่ว่าจะเป็นคำถามหรือคำตอบว่าอะไร รับรองว่าเรียกรอยยิ้มจากคุณแม่และทุกคนในบ้านได้แน่ๆ และการพูดคุยกันบ่อยๆ ก็ยังช่วยฝึกพัฒนาการพูด ทักษะการคิด ช่วยให้เขากล้าเสนอความคิดเห็นและกล้า แสดงออกได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ต้องการการใช้พลังงานและการเสริมสร้างพัฒนาการทาง ร่างกายที่เหมาะสม การเลือกกีฬาง่ายๆ ก็จะช่วยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อแขนขาได้เป็นอย่างดีด้วย โดยคุณแม่อาจจะชวนลูกน้อยไปจ๊อกกิ้งรอบหมู่บ้าน หรือให้เขาปั่นจักรยานสามขาตามขณะที่เราเดินออกกำลัง นอกจากจะช่วยฝึกพัฒนาการด้านร่างกายแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่ได้ใช้เวลาดีๆ กับลูก เพิ่มความอบอุ่นและให้เขา สัมผัสได้ถึงความห่วงใยของคุณแม่ด้วยค่ะ

4 สไตล์การนอนของเบ๋บี๋ กับเทคนิคการแก้ที่ได้ผลจริง ! (ตอนที่1)

คุณแม่หลายท่านคงทราบดีว่า สิ่งที่จะเป็นตัวช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างดี คือการนอนหลับ แต่ว่าเด็กแต่ละคนก็มีปัญหาการนอนหลับที่ไม่เหมือนกัน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการนอนหลับแต่ละประเภท และการแก้ไขกันดีกว่าค่ะ

1. งีบแบบแมว
เด็กบางคนนอนแค่สั้นๆ ประมาณครั้งละ 30-45 นาที นอกจากนอนไม่นานแล้ว เวลาในการหลับแต่ละครั้งก็ไม่แน่นอน สั้นยาวไม่เท่ากัน

วิธีแก้ : เด็กที่นอนบ่อยๆครั้งละสั้นๆ จะตื่นได้นานประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง - 2 ชั่วโมงจึงจะถึงเวลาหลับครั้งต่อไป เพื่อให้ลูกนอนหลับเป็นเวลามากขึ้น อาจใช้วิธีปลุกให้ตื่นในตอนเช้าเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น ปลุกตอน 7 โมงเช้าทุกวัน และพยายามให้ลูกนอนหลับครั้งต่อไป ในอีกสองชั่วโมงถัดไป พยายามให้ลูกนอนเป็นเวลาในแต่ละวัน เทคนิคสำคัญคือ เอาลูกเข้านอนโดยไม่ต้องรอให้ลูกง่วง เนื่องจากส่วนใหญ่ทารกจะเหนื่อยและอยากงีบหลับก่อนที่จะส่งสัญญาณต่างๆออกมาอยู่แล้ว

2. ตื่นแต่เช้า
เด็กบางคนนอนได้ยาวตลอดคืน แต่ตื่นเช้ามาก เช่น ตื่นมาตอนตี 4 หรือตี 5 จนบางครั้งคุณพ่อคุณแม่เหนื่อยไปตามๆกัน

วิธีแก้ : ถ้าคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยเข้านอนตอน 6 โมงเย็นหรือ 1 ทุ่ม เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับลูกน้อยที่จะตื่นขึ้นมาตอนตี 5 หรือ 6 โมงเช้า หากอยากให้ลูกตื่นสายขึ้น ลองพาลูกเข้านอนช้ากว่าเดิมสัก 15-30 นาที อาจช่วยให้ลูกตื่นสายขึ้นได้บ้าง แต่ถ้ายังไม่ช่วยอะไร แสดงว่าลูกเป็นเด็กที่ตื่นเช้าโดยธรรมชาติ หรืออาจะใช้เทคนิคทำราวกับว่า นี่คือการตื่นมาตอนกลางคืน คือคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเปิดไฟให้สว่างและพยายามกล่อมให้ลูกหลับต่ออีกสักพัก

4 สไตล์การนอนของเบ๋บี๋ กับเทคนิคการแก้ที่ได้ผลจริง ! (ตอนที่2)

3. ตื่นง่าย
เด็กน้อยบางคนไม่มีปัญหาในการหลับ แต่รู้สึกตัวและตื่นง่ายมาก แม้กระทั่งเสียงคุณแม่ทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆที่ไม่ได้ดังมาก เสียงแตรรถยนต์ หรือแสงที่ส่องเข้ามาในที่นอนเพีนงเล็กน้อยก็ทำให้ลูกตื่นได้แล้ว

วิธีแก้ : ปกติเด็กทารกมักจะรู้สึกตัวตื่นสั้นๆไม่กี่นาทีระหว่างที่นอนหลับ แล้วสามารถหลับต่อได้เอง แต่สำหรับเด็กน้อยที่รู้สึกตัวตื่นได้ง่ายมาก คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะหลับต่อไปด้วยตนเอว ไม่ควรเข้าไปโอ๋หรืออุ้มทันที และสำหรับเด็กตื่นง่าย ควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ลูกนอนหลับได้ลึก ห้องนอนลูกควรมืดสนิท อุณภูมิอบอุ่นพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือไม่หนาวจนเกินไป อาจลองใช้เสียงเพลงเบาๆเพื่อกล่อมลูก และใช้เป็นเสียงเพื่อป้องกันเสียงดังรบกวนจากภายนอก

4. นอนยาก
เด็กบางคนนอนหลับยากมาก ไม่ยอมนอนบนที่นอนของตัวเอง นอนหลับไม่เป็นเวลา และจะไปนอนหลับบนคาร์ซีทหรือหลับในเวลาที่ไม่ควรหลับ เด็กหลับยากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากคุณพ่อคุณแม่สร้างเงื่อนไขในการนอนตั้งแต่แรก เช่น ต้องอุ้มโยกไปมาทุกครั้งเพื่อนอนหลับ ทำให้เด็กเกิดการจดจำ

วิธีแก้ : ต้องใช้ตัวช่วย เช่น ของเล่นที่ลูกชอบ ตุ๊กตาตัวโปรด หรือเสื้อยืดตัวเก่าของคุณแม่วางไว้ในที่นอน เพื่อให้ลูกนอนหลับในที่นอนของตนเองได้ง่ายขึ้น ในขณะที่เด็กบางคนอาจหลับได้ง่ายที่บ้าน แต่เมื่อต้องออกไปนอกบ้าน กลับไม่สามารถหลับได้เลย เพื่อฝึกให้ลูกมีความยืดหยุ่นในการหลับ ก่อนเดินทางประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจจะมี 1-2 วันที่ให้ลูกงีบหลับช่วงเช้ายาวหน่อย แล้วไม่ต้องนอนหลับในช่วงบ่าย หรือถ้าจำเป็นต้องออกข้างนอก และไม่อยากให้ลูกหลับบนรถจนผิดเวลาแล้วกลับมาไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกตื่นด้วยการพูดคุย ร้องเพลง หรือเปิดซีดีสนุกๆ แล้วค่อยกลับมากล่อมให้หลับที่บ้านค่ะ

ทำไมลูกถึงไม่คลานซักที

คุณแม่หลายท่านคงกังวลว่าทำไมลูกเราถึงไม่คลานซักที มาดูเหตุผลกันค่ะ

พัฒนาการก้าวกระโดด เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มคืบคลานได้เมื่ออายุ 6-7 เดือน อย่างไรก็ดีพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเร็ว บางคนอาจจะช้าหน่อย เริ่มคืบคลานได้ตอน 10 เดือนขึ้นไป หรืออาจพัฒนาการข้ามขั้น ลูกไม่คลานแต่ลุกขึ้นเกาะยืน เกาะเดิน ตั้งไข่ จนเดินได้เอง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ถ้าลูกทำได้ช้ากว่าเกณฑ์มาก แนะนำให้ไปปรึกษาคุณหมอค่ะ

เกณฑ์ที่ส่งสัญญาณว่าอาจไม่ปกติ
อายุ 6 เดือน           ลูกยังไม่พลิกตัว
อายุ 10 เดือน        เวลาจับนั่งลูกไม่สามารถทรงตัวได้เองเลย
อายุ 12 เดือน        ลูกไม่เหนี่ยวตัวเกาะยืน
อายุ 18 เดือน        ลูกไม่ตั้งไข่หรือเดินเอง
หากลูกน้อยมีเกณฑ์แบบนี้แล้ว อย่าลืมไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อความสบายใจและเพื่อการรักษาอย่างถูกต้องนะคะ

ลำดับการขึ้นของฟัน

เมื่อพูดถึงพัฒนาการเด็ก การขึ้นของฟันเหมือนจะเป็นสิ่งที่ใช้เวลานานและดูเหมือนจะไม่มีวันจบสิ้น ทั้งปวดฟัน รู้สึกไม่สบาย และอีกสารพัดอาการที่ไม่ได้ส่งผลต่อแค่เด็ก แต่ยังลำบากถึงผู้ปกครองด้วย

ฟันน้ำนม – เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 0-6 เดือน โดยจะโผล่ออกมาจากเหงือกบวม ๆ และทำให้เจ้าตัวเล็กน้ำลายยืดตลอดเวลา ไม่สบายตัว และอาจทำให้เป็นไข้ได้
ฟันกระต่าย – เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-10 เดือน ในช่วงนี้ฟันคู่หน้าทั้งบนล่างจะเริ่มงอก อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ค่อยสบายนักเวลาให้นม
ฟันกราม – ช่วงอายุระหว่าง 10-14 เดือน ฟันกรามจะเริ่มงอกทำให้เด็กเจ็บจนอาจถึงขั้นไม่หลับไม่นอน
เขี้ยว – อายุ 1-2 ขวบ เขี้ยวจะเริ่มงอก และอาจทำให้เจ็บ ไม่สบาย หรือมีไข้ได้เช่นกัน
ฟันกรามส่วนที่ 2 – ฟันชุดสุดท้ายจะขึ้นในช่วงอายุ 2-3 ขวบ ซึ่งรวมถึงฟันกรามใหญ่ นั่นแปลว่าจะปวดและไม่สบายปากมากขึ้นเป็นสองเท่า

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์

เคล็ดลับคุณแม่ที่เกี่ยวข้อง