Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

ทารกในช่วงวัยกำลังนอน

ทารกในช่วงวัยกำลังนอน

ช่วงนอนตลอด

ยังคงใช้เวลานอนตลอด แต่มือและเท้าจะเริ่มดิ้นไปมา มีการจ้องมองที่มือตัวเอง และเริ่มมีปฏิกิริยาต่อสิ่งของต่าง ๆ ตอนนี้ยังขับถ่ายเหลวและหลายครั้งอยู่ จึงควรเลือกผ้าอ้อมที่ช่วยปกป้องผิวจากผื่นคัน

ขับถ่ายเหลวทั้ง ๆ ที่นอนอยู่จนเลอะออกมาจากด้านหลัง!

หนูยังถ่ายเหลวอยู่เลย

การนอนกับพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยวัย 12 เดือน

การนอนกับพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยวัย 12 เดือน

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วง 12 เดือน ลูกน้อยจะหมดพลังงานไปกับการสำรวจโลก เพราะลูกน้อยมองโลกใบใหญ่ใบนี้ เป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้และน่าสนใจมาก และด้วยความที่ลูกน้อยนั้นมีพลังงานที่เต็มเปี่ยมล้นเสียเหลือเกิน ทำให้ตอนนี้ลูกน้อยก็จะมัวแต่ลองเล่นนู่น นี่ นั่นเพื่อเป็นการสำรวจของแบบไม่เหน็ดเหนื่อย จึงป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยวัย 12 เดือนนี้มักจะไม่ค่อยอยากจะนอน หรือนอนยาก เพราะพวกลูกน้อยคิดว่าการนอนนั้นถือว่าเป็นการรบกวนการสำรวจโลกใบใหญ่ของเขาตอนนี้ และอาจจะมีอารมณ์เสียด้วย หากว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องเรียกเจ้าตัวน้อยมานอน และบ่อยครั้งที่ลูกน้อยมักจะแสดงท่าทางหรือคำพูดสั้นๆที่ปฏิเสธการนอน แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรทำตารางการนอนของลูกน้อยให้เหมาะสม ซึ่งไม่ใช่การนอนเยอะๆ แต่หมายถึงนอนให้พอดีและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการนอนหลับนั้นมีส่วนสำคัญมากสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่เรื่องนี้กับลูกน้อยให้มากขึ้นเพราะว่าการนอนนั้นถือว่าเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ เป็นช่วงเวลาของการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และเป็นช่วงเวลาของการผลิต Growth Hormones คือฮอร์โมนที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองที่แข็งแรงสมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นแล้วหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกแจ่มใสคุณพ่อคุณแม่จะต้องจัดตารางเวลาการนอนของลูกให้ดี รวมทั้งสร้างบรรยากาศการนอนที่เป็นสุขให้แก่ลูกน้อยด้วยห้องนอนที่ดีต้องไม่มีสิ่งใดๆมารบกวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงจะต้องเงียบ และความชื้นรวมไปถึงมดที่จะมากัด ขัดความสุขในช่วงเวลานอนของลูกน้อยอีกด้วยนั่นเอง

เพื่อส่งเสริมให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างเพียงพอ ไม่ตื่นขึ้นมาในช่วงกลางดึกเพราะความอับชื้น ขอแนะนำ MamyPoko Pants Ultra Protect ผ้าอ้อมแบบกางเกง ที่ นุ่ม และ ซึมซับได้ดี ผู้ช่วยตัวเก่งที่จะทำให้ทุกคืนของลูกน้อยเป็นคืนที่แสนสุข พร้อมตื่นขึ้นมารับวันใหม่อย่างมีความสุขค่ะ

สภาพการเจริญเติบโต เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : 4 - 8 กิโลกรัม

ร่างกายโดยรวม

กินนมได้มาก และเริ่มอ้วนกลมแบบทารก

ตา

เริ่มกรอกตามองตามสิ่งของที่ขยับได้ และจะค่อย ๆ มองได้กว้างขึ้น

คอ

กล้ามเนื้อคอจะค่อย ๆ แข็งแรงขึ้น และเริ่มพยุงศีรษะตัวเองได้รวมถึงสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้

มือ

เริ่มอมนิ้วมือของตัวเอง และหยิบจับของเล่นได้

หลัง, สะโพก

นอกเหนือจากกล้ามเนื้อมือเท้าและคอแล้ว กล้ามเนื้อหลังก็มีการพัฒนาเช่นกัน เมื่อคว่ำก็จะสามารถยกคอไว้ได้อย่างมั่นคงหรือที่เรียกกันว่า “การชันคอ”

จิตใจ

เริ่มแสดงความรู้สึกได้มากขึ้น เช่น การจ้องมอง หัวเราะเมื่อมีคนเล่นหยอกล้อด้วย

ผิว

ภายในระยะ 2 เดือนหลังเกิด ทารกจะขับไขมันออกมาจำนวนมากเนื่องจากอิทธิพลด้านฮอร์โมนที่ได้รับภายในท้องคุณแม่ และทำให้ทารกมี “ผิวมัน” แต่หากไม่ได้รับอิทธิผลดังกล่าวแล้ว ทารกจะมี “ผิวแห้ง” และทำให้ทารกมีผิวหนังที่บอบบาง ไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้ และเป็นแผลได้ง่าย หากมีสิ่งสกปรก เช่น เหงื่อปริมาณมาก นม น้ำลาย ฯลฯ ตกค้างอยู่ในผิวที่แห้ง จะทำให้ผิวหยาบง่ายขึ้นจนเกิดเป็นรอยแดง ผื่นคัน ผด กลาก เป็นต้น

ดังนั้น หลังทำความสะอาดจะต้องรักษาความชุ่มชื้นด้วย

นมแม่

เมื่อลูกได้ดูดนมแม่บ่อยๆ จะทำให้ดื่มนมได้ดีขึ้น เวลาให้นมก็จะค่อย ๆ เป็นเวลามากขึ้น ระยะห่างของการให้นมก็จะเปลี่ยนเป็นทุก ๆ 3 - 4 ชั่วโมง และทำให้ปริมาณในการกินนมต่อ 1 ครั้งเพิ่มขึ้นด้วย แต่อาจจะมีคุณแม่บางท่านที่เป็นกังวลว่าลูกมีปริมาณการกินนมต่อ 1 ครั้งไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม หากลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ก็ถือว่าไม่มีปัญหา!

แต่หากลูกไม่กินนมเอาแต่ดูดเล่น ขอให้เปลี่ยนเวลาให้นมเป็นครั้งละ 20 นาที และรอให้หิวก่อนจึงให้นมในครั้งต่อไป

การกินนมแบบนี้จะช่วยให้ลูกกินนมเป็นเวลา ไม่พร่ำเพรื่อมากเกินไป

การอาบน้ำ

ในระยะ 1 เดือนหลังเกิด ให้เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็ก และให้เปลี่ยนมาอาบในอ่างอาบน้ำที่ห้องน้ำกับคุณแม่หรือคุณพ่อ! หากอุณหภูมิในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและห้องล้างตัวต่ำเกินไป หรือน้ำร้อนเกินไป อาจจะทำให้ลูกร้องไห้ หรือบางคนจะงอแงเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ ในเวลาดังกล่าว ขอให้กอดลูกแน่น ๆ อย่างอ่อนโยน ในช่วงที่คอและสะโพกยังไม่แข็งแรง ให้คุณแม่วางลูกในท่าที่มั่นคง โดยวางไว้บนเข่าของคุณแม่หรือบนเบาะรองและอาบน้ำให้ ขอให้ล้างส่วนที่มองไม่เห็น เช่น บริเวณหลังหู, คอ, ใต้วงแขน, รอยพับที่ข้อมือและเท้า ฯลฯ ที่สกปรกจากเหงื่อไคลให้สะอาดด้วย

ดังนั้น ก่อนที่จะอาบน้ำขอให้ตรวจเช็คและปรับอุณหภูมิของห้องน้ำและน้ำอุ่นก่อน

การแต่งตัว

ทารกจะไวต่อความร้อนและทนต่อความหนาวได้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากขยับตัวบ่อย ดังนั้น หากรู้สึกว่า “หนาวนิดหน่อย” จะหมายถึงว่าอุณหภูมิพอดี ทารกที่เอาแต่นอนหลับก็จะเริ่มขยับแขนขา ทำให้บริเวณท้องหรือชายของเสื้อผ้าหรือชุดด้านในหลุดออก จึงควรเลือกเสื้อผ้าหรือเสื้อคลุมที่ด้านบนด้านล่างติดกันและแยกบริเวณส่วนขาออกและให้มือยื่นอยู่นอกแขนเสื้อได้ และในที่นอนก็ขอให้มีแค่เสื้อผ้าอยู่ก็พอ หลังให้นมหรือตอนที่ร้องไห้ ทารกจะมีเหงื่อออกมาก หากเอามือสอดไปที่ด้านหลังแล้วมีเหงื่อออก ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อไม่ให้เหงื่อชื้น

ดังนั้น ต้องระวังไม่สวมเสื้อผ้ามากเกินไป

1 วันของทารก

หากระยะเวลาการให้นมลูกเริ่มคงที่แล้ว ทารกก็จะนอนหลับได้ยาวนานขึ้น หากเริ่มชันคอแล้ว ก็ให้พาออกไปเดินเล่นข้างนอกโดยการอุ้มหรือให้นั่งรถเข็นเด็ก เป็นโอกาสให้ลูกได้สัมผัสกับธรรมชาติ ซึ่งแสงแดด ลม หรือกลิ่นของต้นไม้ต่าง ๆ ถือว่าเป็นแรงกระตุ้นที่ดี แต่ขอให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนเยอะและไม่ใช้เวลาในการเดินเล่นนาน เนื่องจากร่างกายยังไม่แข็งแรงและยังมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่ และอย่าลืมปิดม่านบังแดดในรถเข็นเด็ก สวมหมวก หรือกางร่มของคุณแม่เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตมากเกินไป

ดังนั้น ในช่วงแรกควรเดินเล่นใกล้ ๆ บ้านก่อนหากเริ่มขยับคอและพลิกตัวได้ ก็ใกล้ถึงวันที่จะนั่งได้แล้ว!

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์