Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

ทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกคลอดก่อนกำหนด

ภาวะ”คลอดก่อนกำหนด”

คุณพ่อและคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะกังวลหากท่านต้องพบเจอการ ”คลอดก่อนกำหนด” วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน

เด็กคลอดก่อนกำหนด คือเด็กที่อยู่ในครรภ์ต่ำกว่า 37 สัปดาห์ หรือ 259 วัน มักจะมีน้ำหนักต่ำกว่า 2.5 กิโลกรัม แต่การแพทย์ในสมัยปัจจุบันที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ทำให้พบว่ามีเด็กคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น

สาเหตุอาจมาจาก 2 ปัจจัยหลัก

1.ปัจจัยจากแม่ โดยคุณแม่อาจมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือแบคทีเรียบางอย่างกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพราะความเครียดเป็นสาเหตุของโรคต่างๆได้

2.ปัจจัยจากลูก ทารกอาจมีความพิการหรือมีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น ไส้เลื่อน โรคหัวใจ ทารกบางรายเจริญเติบโตช้าในครรภ์ อาจเป็นเพราะสุขภาพแม่ไม่แข็งแรง อาหารไม่มีคุณค่าทางสารอาหารมากพอ หรือรกเสื่อมสภาพ มีโอกาสเกิดก่อนกำหนดได้เช่นกัน

จากที่กล่าวไปข้างต้นการคลอดก่อนกำหนดอาจเกิดจากหลากหลายปัจจัยทั้งนี้เราต้องดูแลทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดและถูกวิธี จะสามารถลดอัตราความเสี่ยงที่ก่อให่เกิดปัญหาเหล่านี้ไปได้บ้าง

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก women.thaiza.com

ภาวะเสี่ยงที่อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนดนั้นปัจจุบันก็ยังไมทราบว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริง แต่พบว่าเกิดจากหลายปัจจัยซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

1.คุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี จะมีโอกาสสูงที่จะคลอดก่อนกำหนดกว่าคุณแม่ที่อายุระหว่าง 18-34 ปี

2.คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวและโรคที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

3.คุณแม่ที่เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน พบว่าสิ่งนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง เมื่อท้องแรกคลอดก่อนกำหนด ท้องสองจะมีโอกาสเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น

4.คุณแม่ที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด

5.ความเครียด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรจะหลีกเลี่ยงความเครียดโดยทำสิ่งที่รู้สึกสบายใจและมีความสุข

6.คุณแม่ที่มีมดลูกผิดปกติ เช่น มดลูกขยายตัวมากเกินไปหรือแคบเกินไป เนื้องอก และการตั้งครรภ์แฝด เป็นต้น

7.คุณแม่ที่เกิดอาการแท้งบ่อยครั้ง

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก www.glitter.si

การดูแลลูกคลอดก่อนกำหนด

เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีน้ำหนักน้อย ในช่วงแรกนั้นต้องอยู่โรงพยาบาล จนกระทั่งมีน้ำหนักกว่า 2 กิโลกรัม และสามารถปรับอุณหภูมิร่างกายของตนเองได้ หากแพทย์ตรวจดูแล้วไม่มีภาวะแทรกซ้อน จึงสามารถกลับบ้านได้

1.ความสะอาด เป็นสิ่งสำคัญมาก บ้านควรสะอาด อากาศถ่ายเทดี รวมไปถึงอาหารสำหรับลูก คุณแม่ต้องดูแลรักษาความสะอาดทุกอย่างที่อยู่รอบตัวลูก

2.เสริมพัฒนาการเรียนรู้ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีพัฒนาการล่าช้าบ้าง การฟังดนตรีเบาๆหรือการพูดคุยของระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อย ก็จะช่วยได้มากขึ้น

3.การกินนม นมแม่เป็นอาหารที่สำคัญที่สุด คุณแม่มือใหม่ควรให้ลูกคลอดก่อนกำหนดกินนมแม่ โดยบางครั้งคุณหมออาจพิจารณาให้เสริมสารอาหารในน้ำนมแม่ (Human Milk Fortifier) เพื่อทำให้ทารกมีน้ำหนักที่มากขึ้นและยังได้รับสารอาหารครบถ้วนอีกด้วย

4.การอาบน้ำ ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกน้อยบ่อยครั้งนักเพื่อรักษาพลังงานที่มีอยู่น้อยในตัวเด็กเอาไว้ อาบน้ำให้วันละครั้งก็พอ และถ้าวันไหนอากาศเย็นก็ไม่ต้องอาบให้

ถ้าหากทารกมีอาการผิดปกติ เช่น ตัวร้อน ไข้ขึ้นสูงผิดปกติ มีน้ำมูก น้ำหนักไม่ขึ้น หายใจเร็วเกินไป เด็กหน้าซีด เป็นต้น ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก women.kapook.com

การสังเกตอาการของการคลอดก่อนกำหนด

คุณแม่ที่มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดอาจมีอาการดังต่อไปนี้

1.อาการน้ำเดินหรือที่เรียกว่าน้ำคร่ำแตก โดยทั่วไปถุงน้ำคร่ำจะแตกตอนใกล้คลอด แต่อาการคลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำใสออกเหลืองออกมาทางช่องคลอด ไม่สามารถกลั้นได้

2.การตรวจสอบสารคัดหลั่ง การตรวจหาสาร ”Fetal fibronectin“ จากสารคัดหลั่งในช่องคลอด ซึ่งตามปกติจะตรวจไม่พบ

3.มีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเกิดจากอาการ ”ครรภ์เป็นพิษ“ อาการคือจะปวดท้องมาก ท้องจะแข็งตึง มดลูกจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมีเลือดขังอยู่ภายใน อีกอาการหนึ่งคือ ”รกเกาะต่ำ“ อาการคือจะมีเลือดออกมาจากช่องคลอด ทั้ง2อาการนี้ควรพบแททย์ทันที

4.การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) ด้วยเทคโนโลยีที่มีมายาวนานอย่างอัลตราซาวด์ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง มาช่วยทำนายโอกาสเกิดการคลอดก่อนกำหนด

5.ลูกในครรภ์ดิ้นน้อยผิดปกติ อาการดิ้นของลูกสามารถสื่อถึงความแข็งแรงของลูกได้ ถ้าลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นเลยของคลอดก่อนกำหนด

6.อาการเจ็บท้องขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งใกล้คลอดเท่าไหร่อาการเจ็บจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ

ขอบคุณรูปภาพจาก www.manager.co.th

นมที่เหมาะสมสำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนด

อย่างที่รู้กันว่าเด็กคลอดก่อนกำหนดเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐาน โดยที่อาหารที่สำคัญและประโยชน์แก่ลูก นั่นคือนมแม่ บทความนี้จะมาบอกเล่าว่านมแม่และนมเสริมว่าทานอย่างไร ให้เพียงพอต่อการพัฒนาของลูก

ทานนมแม่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารทางโภชนาการพร้อมภูมิคุ้มกันเหมือนตอนอยู่ในท้อง

ถ้าหากต้องมีนมเสริมมี 2 แบบ โดยนมสูตรปกติจะมีส่วนประกอบของนมวัวเป็นหลัก ส่วนนมสูตรพิเศษนั้น อาจจะเป็นสูตรถั่วเหลืองหรือนมสูตรกรดอะมิโน ทั้ง 2สูตร จะเป็นนมที่ให้พลังงานและแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างครบถ้วน อาจจะเพิ่มสารอาหารบางชนิดเป็นพิเศษที่ลูกน้อยขาด

ต่อมาเป็นเรื่องการชงนม ไม่ใช่ว่าชงยังไงก็ได้ อย่างง่ายที่สุดชงให้พอดี ดูไม่ข้นจนเกินไป ลูกน้อยจะกินนมปริมาณมากดังนั้น คุณแม่คุณแม่ตองดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด จนกว่าน้ำหนักมีประมาณ 3 กิโลกรัม ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐาน

ทั้งนี้ควรปรึกษาและทำตามคำแนะนำของแพทย์ ลูกน้อยจะได้มีสุขภาพแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมั่นใจ

ปัญหาสุขภาพที่อาจจะพบ (1)

ปัญหาสุขภาพที่อาจจะพบ (1)

เมื่อทารกเกิดมาก่อนกำหนด อาจจะต้องเผชิญปัญหาสุขภาพต่างๆ เนื่องด้วยภูมิคุ้มกันยังทำได้ไม่เต็มที่ รวมไปถึงอวัยวะภายในที่อาจจะโตได้ไม่สมบูรณ์ด้วยค่ะ

ปัญหาการรักษาสมดุลด้านต่าง ๆ ของร่างกาย ทารกกลุ่มนี้จะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายตนเองได้ดี เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมากตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม จึงเห็นกันเสมอ ๆ ว่าทารกต้องอยู่ในตู้อบตั้งแต่แรกเกิด นอกจากนี้น้ำตาล เกลือแร่บางอย่างในเลือดมักต่ำจากที่ร่างกายมี เนื่องจากมีเวลาสะสมระหว่างอยู่ในครรภ์คุณแม่ได้น้อย แม้กระทั่งการรักษาสมดุลน้ำก็ไม่ดี ได้สารน้ำมากเกินก็มีปัญหาบวม น้อยเกินก็อาจทำให้ไตล้มเหลว

ปัญหาระบบหัวใจ ทารกคลอดก่อนกำหนดยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบและทิศทางการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดได้ตั้งแต่ระยะแรก ทำให้หัวใจอาจทำงานหนักกว่าปกติ มีภาวะปอดขึ้น ยิ่งซ้ำเติมให้หายใจลำบากเพิ่มขึ้นอีก ถ้ามีอาการมากอาจต้องให้ยาหรือทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไข ผลกระทบของการไหลเวียนเลือดที่ไม่พอ ก็อาจทำให้อวัยวะอื่นทำงานบกพร่องไปด้วย เช่น ไตทำหน้าที่น้อยลงทางเดินอาหารเคลื่อนไหวหรือดูดซึมอาหารน้อยลง

ปัญหาทางระบบประสาท ใน 2-3 วันแรกของชีวิต ทารกที่มีอาการหายใจลำบากรุนแรง หรือมีปัญหาของหัวใจหรือระบบไหลเวียนเลือด อาจเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในโพรงสมอง ซึ่งอุบัติการณ์จะสูงในทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม ทารกที่เกิดภาวะนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อความพิการระบบประสาทระยะยาวได้

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ modernmom

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ Healthline

ปัญหาสุขภาพที่อาจจะพบ (2)

ปัญหาสุขภาพที่อาจจะพบ (2)

ปัญหาการติดเชื้อ ทารกเกิดก่อนกำหนดมีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันด้านต่างๆ เกราะป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย ได้แก่ ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ทั้งในทางเดินหายใจและทางเดินอาหารก็ไม่แข็งแรง ซึ่งเป็นทางเข้าของเชื้อโรคที่สำคัญที่สุด ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทารกได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายมากที่สุดคือการสัมผัสกับคนรอบข้าง เป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกคนที่จะมีเชื้อสะสมตามมือและตามร่างกาย โดยไม่ได้ก่อเรื่องอะไร แต่เมื่อมาสัมผัสกับทารกโดยไม่ได้ล้างมือ ไม่ว่าจะโดยตรง หรือผ่านทางอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ โดยเฉพาะถ้าเกราะธรรมชาติของร่างกายมีช่องทางเข้าได้ง่าย เช่น ผิวหนังที่บางหลุดลอกเป็นแผล หรือบริเวณให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดหรือที่สะดือของทารก เชื้อก็จะเข้าไปเพิ่มจำนวนแล้วก่อโรคได้

ปัญหาการมองเห็น ทารกเกิดก่อนกำหนด มีการเจริญพัฒนาของเส้นเลือดที่จอประสาทตายังไม่เต็มที่ เมื่อมีปัญหาของระบบอื่น ๆ ข้างต้น โดยเฉพาะระบบหายใจ ทำให้ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ด้วยการให้ออกซิเจนเพื่อรักษาชีวิตให้รอดการเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในเลือดมีผลต่อการตึงตัวของเส้นเลือดที่จอประสาทตา โดยระดับออกซิเจนที่สูงขึ้นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว เกิดการขาดเลือดของจอประสาทตาบริเวณที่เส้นเลือดยังงอกไปไม่ถึง เส้นเลือดใหม่ที่งอกใหม่จะมีลักษณะที่ผิดปกติ และมีเยื่อพังผิดดึงรั้งทำให้จอประสาทตาหลุดลอกได้ ยิ่งน้ำหนักน้อยยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติทางการมองเห็นซึ่งความรุนแรงน้อยกว่า ได้แก่ สายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ ตาเหล่หรือตาส่าย

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ modernmom

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ American Pregnancy Association

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์