Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

เคล็ดลับเลี้ยงดูลูกน้อย 5

เคล็ดลับเลี้ยงดูลูกน้อย 5

5 กิจกรรมช่วยให้ทารกและเด็กหลับง่าย

ลูกน้อยในหลายๆบ้านอาจจะนอนหลับได้ยากง่ายแตกต่างกันไป และมีบางกิจกรรมที่สามารถช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายและนอนได้ยาวนานขึ้น มาดูกันค่ะ

  1. การนวดก่อนนอนประมาณ 15 นาที ติดกันเป็นเวลา 1 เดือน จะทำให้ลูกน้อยนอนหลับง่ายขึ้น
  2. การฟังเพลงกล่อม โดยเป็นเพลงที่มีจังหวะซ้ำๆ เพราะเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่มีจังหวะใกล้เคียงกับเสียงหัวใจเต้น หรือเสียงอื่นๆที่ทารกคุ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่
  3. ไกวเปลให้หลับ จังหวะการเคลื่อนไหวไปมาของเปลจะช่วยให้ลูกน้อยหลับได้ไวขึ้น
  4. สำหรับเด็กแรกเกิด สามารถห่อตัวทารกด้วยผ้าโปร่งหรือผ้าฝ้ายได้ค่ะ เพราะการที่ทารกเคลื่อนตัวหรือเหวี่ยงตัวไปมา อาจทำให้รบกวนการนอนหลับได้
  5. เล่านิทานก่อนนอน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งเด็กทารกและเด็กที่โตแล้ว เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านไปในตัวและที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยให้ลูกน้อยหลับได้สนิทตลอดคืนคือการเลือกผ้าอ้อมที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ระคายเคือง และสามารถซึมซับได้ดีอย่างเช่น มามี่โพโค แพ้นท์ อัลตร้า โพรเทค ที่สามารถซึมซับได้มากถึง 4 แก้ว ถอดออกง่าย แถมยังสวมง่ายเพราะถูกออกแบบมาให้เป็นผ้าอ้อมแบบกางเกงค่ะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Anna Princesscat

พัฒนาการทางสังคมของเด็กแรกเกิด-6เดือน

เจ้าตัวเล็กที่อยู่ในช่วงแรกเกิด-6เดือน ถือว่าเป็นวัยที่ลูกเริ่มเรียนรู้ในการมองตาม ฟังตาม หรือเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อและแม่เสมอ คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนเขาให้รู้จักเข้าสังคมได้ โดยเริ่มจากอุ้มเขาไว้ ชวนคุย และโต้ตอบหยอกล้อด้วยภาษาและท่าทาง และเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะกอดเขา ให้อ้าแขนรอไว้ก่อน เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าเรากำลังจะกอด และลูกจะรู้จักการเลียนแบบท่าทาง

ช่วงที่ลูกน้อยอายุ 4-6 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มมองและจดจำคนได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกทำความคุ้นเคยกับคนและสิ่งแวดล้อมก่อนอายุ 6 เดือน พยายามสบตาและยิ้มให้ลูกบ่อยๆทั้งในเวลาปกติ และเวลาป้อนนม เด็กจะเรียนรู้การยิ้มตอบ และแสดงอารมณ์มีความสุขเมื่อมีใครมาเล่นด้วย อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการทำให้ลูกน้อยรู้สึกแห้งสบายตัว เพื่อที่จะให้เขาสามารถเล่นและหัวเราะได้อย่างไม่มีอุปสรรคค่ะ เมื่อลูกน้อยรู้สึกสบายตัวแล้ว โตขึ้นมาเขาจะเป็นเด็กอารมณ์ดี เข้ากับคนอื่นง่ายถึงแม้จะยังพูดไม่ได้ แต่การที่ลูกหัวเราะ เพียงเท่านี้ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกแฮปปี้ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ

ผู้ช่วยที่จะทำให้เจ้าตัวเล็กแฮปปี้ได้ทั้งวัน

ส่งเสริมระบบการมองเห็นของลูก

คุณพ่อคุณแม่เชื่อไหมคะว่าเรามีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาระบบการมองเห็นของลูกๆได้ด้วยเทคนิคง่ายๆค่ะ

  • พยายามมองที่หน้าลูกบ่อยๆ เพราะดวงตาของคนจะมีขนาดกลมและมีการตัดกันที่ชัดเจนระหว่างตาขาวและตาดำ และที่สำคัญคือดวงตาสามารถกลอกไปมาได้

  • เปลี่ยนตำแหน่งที่ลูกนอนบ้าง เพื่อให้ทารกได้เห็นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

  • หาภาพใบหน้าพ่อแม่มาวางไว้ใกล้ๆ ที่นอนของลูก เพื่อให้ลูกได้เห็นและจดจำหน้าได้เร็วขึ้น

  • แขวนวัตถุประเภท 3 มิติ เช่น โมบาย นกกระดาษ ฯลฯ ในจุดที่เด็กทารกสามารถมองเห็นและเอื้อมมือหยิบได้

  • พยายามเล่นกับลูกบ่อยๆ อาจจะให้ลูกมองตัวเองในกระจกพร้อมกับพูดคุยกับลูกไปด้วย

ขอบคุณรูปภาพจากคุณ MaMeaw Philakaew

10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกรักคุณ

1. สบตา - เด็กพยายามจะจ้องหน้าและเลียนแบบสีหน้า
2. หันหาคุณ - เด็กมักจะหันหาเสียงที่เขาคุ้นเคย เช่นคุณยายกำลังคุยกับคุณแม่ ลูกน้อยก็เลือกที่จะหันหาคุณแม่แม้ว่าคุณยายจะอุ้มเขาอยู่ก็ตาม
3. เปิดปาก - จากการสำรวจพบว่าเด็กจะมีพฤติกรรมการขยับปาก เมื่อได้กลิ่นแม่ของเขา เพราะเด็กสามารถจำแม่ได้แม้จะสัมผัสได้แค่กลิ่นก็ตาม
4. สบายในอ้อมแขน - ลูกน้อยจะรู้สึกสบายและนอนอย่างผ่อนคลายในอ้อมแขนของคุณ
5. ยิ้ม - เมื่อทารกอายุ 6-12 สัปดาห์ เด็กจะเริ่มยิ้มให้คุณแบบเต็มๆ นั่นถือว่าเป็นการเริ่มการสื่อสารกับคุณแม่
6. พูดอ้อแอ้ - เมื่ออายุ 2 เดือนทารกจะเริ่มพูดอ้อแอ้ๆสื่อสารกับคุณ การพูดสื่อสารกับทารกจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูดและการฟังที่ดี
7. ออกอาการดีใจเมื่อเจอคุณ - เมื่อทารกอายุ 6 เดือน ลูกน้อยจะสามารถบอกความแตกต่างระหว่างคนดี (เช่นเพื่อนของคุณ หรือญาติๆ) กับคนที่ดีที่สุด (คือแม่ของเขา) เองได้ โดยจะออกอาการดีใจทันทีเมื่อเห็นหน้าของคุณ
8. หัวเราะ - เสียงหัวเราะของลูกน้อยมีพลังกับพ่อแม่เสมอ
9. งอแงเมื่อถูกแยกห่าง - ลูกน้อยไม่ชอบนักเมื่อต้องแยกห่างจากคนที่เขารัก เพราะทารกเข้าใจว่าคุณจะไม่กลับมาหาเขาอีก
10. รายงานตัว - เมื่อลูกน้อยเริ่มคลานได้ คุณแม่จะสังเกตได้ว่าเขาพยายามที่จะคลานเข้ามาใกล้ๆเพื่อรายงานตัวว่าเขาอยู่ตรงนี้

และอย่าลืมที่จะเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกน้อย และช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว ไม่เหนอะหนะตลอดวันนะคะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Anchalee Jaensang

การเลี้ยงดูลูกน้อยเมื่อเข้าสู่ปีที่สอง

ผ่านช่วงขวบปีแรกมาได้แล้ว คุณแม่มือโปรก็สบายใจได้ระดับหนึ่งแล้วนะคะ เพราะว่านั่นเป็นช่วงที่จะเรียกว่า ยากที่สุดก็ได้ เนื่องจากลูกเล็กยังไม่เข้าใจภาษาของเรา แต่พอเข้าสู่วัยหัดคลาน ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดบางคำ แต่อาจจะยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำๆ แต่เขาจะเข้าใจความหมายเวลาที่คุณแม่พูดหรือแสดงท่าทาง เด็กวัยนี้ ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษนะคะ คุณแม่ควรให้ความใกล้ชิด เอาใจใส่ และใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากๆ โดยอาจเลือกกิจกรรมที่สามารถร่วมสนุกกันได้ทั้งครอบครัว หรือชวนลูกๆ ของเพื่อนคุณแม่ที่มีวัยใกล้เคียงกัน แล้วปล่อยให้พวกเขาได้เล่นด้วยโดยสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ก็ได้นะคะ และที่สำคัญอีกอย่างคือการเลือกใช้ผ้าอ้อมแบบกางเกงที่มีความยืดหยุ่น กระชับ ก็จะช่วยให้เขามั่นใจทุกกิจกรรมได้เช่นกันค่ะ

นอกจากนั้นเด็กวัยนี้ จะเชื่อฟังคุณแม่เพราะเขายังไม่รู้ ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ยังไงก็พยายามอย่า “ห้าม” มากจนเกินไป ลองปล่อยให้ลูกได้ลองเล่นอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ดูบ้าง คุณแม่อาจจะปล่อยเขาเล่นกับสัตว์เลี้ยง ลงไปวิ่งเล่นบนสนามหญ้า หรือช่วยคุณแม่ปลูกต้นไม้บ้าง นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางความคิด ยังช่วยสร้างเสริมภูมิต้านทานของลูกด้วยค่ะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Nunnapas Paosopa

พัฒนาการเด็กทางร่างกายและการส่งเสริม

ลูกน้อยเมื่ออยู่ในช่วงวัย 1-2 ขวบ สามารถเดินและยืนได้เองอย่างมั่นคง อย่างเช่น สามารถเก็บของเล่นที่อยู่ที่พื้นและเดินเตาะแตะนำไปเก็บเข้าที่ได้ หากเจอสถานที่ที่ไม่เรียบ เขาจะคลานเหมือนหมี ปีนข้ามที่กีดขวางโดยลงน้ำหนักที่มือหรือเท้าพร้อมกับยกเข่าสูง ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้นมากโดยมีการเพิ่มความเร็วและหยุดได้เมื่อเจอบางสิ่งที่น่าสนใจ มีการกะระยะและควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นมาก

ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กลูกสามารถหยิบจับสิ่งของหลายๆ ชิ้นได้ในมือเดียว มีการกำแน่นไม่ปล่อยหากมีคนมาแย่ง แต่ก็จะเดินนำของเล่นไปให้คนที่ตนเองถูกใจด้วย และนอกเหนือจากการหยิบจับแล้ว วัยนี้จะเริ่มดึง ฉุด ลาก สิ่งที่เขาชอบและเข้าใจการทำงานของของเล่นแบบดึงลาก ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้นด้วย

- การเดินบ่อยๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อขาและการทรงตัวแข็งแรง ไม่ล้มง่าย วิ่งกระโดดได้ดีคล่องแคล่ว

- การเดินช่วยพาเจ้าหนูไปยังพื้นสัมผัส (Sensory) ที่แตกต่างกันออกไป ได้เรียนรู้เรื่องทิศทางในการออกสู่โลกใหม่

- การเล่นในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างออกไป ทำให้เด็กได้ฝึกคิดต่อ มีความคิดสร้างสรรค์ว่าจะเล่นอะไรกับสิ่งแวดล้อมใหม่นี้ดี

- การสำรวจพบสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเอง อย่างแรกที่ได้คือความภูมิใจ มีทั้งความสนุก ความตื่นเต้น จนบางครั้งออกอาการขี้อวดหยิบสิ่งที่ไปเจอเอามาให้คุณแม่ด้วย

- เมื่อลูกเริ่มก้าวเดินได้ ความใส่ใจอย่างแรกเห็นทีจะเป็นเรื่องความปลอดภัยนะคะ คุณควรทำบ้านให้รัดกุม มีที่กั้นระหว่างบันไดหรือประตู ยิ่งบ้านไหนมีสระน้ำแล้วยิ่งต้องระมัดระวังให้มาก

- ควรจะเลือกของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการ เพิ่มทักษะ และความคิดสร้างสรรให้ลูกได้ เช่น ตัวต่อ สีเทียนสีไม้ พลั่วขุดดินและกระป๋องอันจิ๋ว อุปกรณ์บทบาทสมมุติ รถลาก ฯลฯ และไม่ต้องมีเยอะแยะจนเกินความจำเป็น

เสริมสร้างสุขนิสัยการนอนของลูกน้อย

การเสริมสร้างสุขนิสัยการนอนของลูกน้อยในการนอน ประกอบด้วยปัจจัยหลายๆปัจจัยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และการกินอาหารที่ถูกต้องก่อนการนอน

วิธีสร้างสุขนิสัยในการนอนที่ดี

1. กำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้เป็นเวลาที่สม่ำเสมอ

2. มีกิจวัตรก่อนนอนที่สงบ ง่ายที่สุด และสม่ำเสมอ ไม่ทำกิจกรรมที่ตื่นเต้นมากเกินไป เช่น เล่านิทานหรือดูหนังผี

3. จัดห้องนอนให้ดูผ่อนคลายและสงบ ไม่มีโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ในห้องนอน

4. หากเด็กตื่นหลังจากหลับไปแล้ว พ่อแม่ต้องสังเกตว่า เด็กตื่นเพราะอะไร และอย่าเพิ่งรีบเข้าไปหา ปล่อยให้นอนอยู่อย่างนั้น แล้วเด็กก็จะหลับต่อไปได้เอง

5. คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกและลูกน้อยไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหรือรับประทานขนมที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม ลูกอมกาแฟ ช็อกโกแลต และชา

6. ไม่ให้เด็กนอนกลางวันมากเกินไป และไม่ให้เด็กหลับในช่วงเย็น

ให้เด็กทำกิจกรรม ออกกำลัง วิ่งเล่น พอสมควรในตอนกลางวัน

7. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถซึมซับได้อย่างดีเยี่ยม เพื่อการนอนหลับสบายตลอดคืนของลูกน้อย

  1. กำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้เป็นเวลาที่สม่ำเสมอ
  2. มีกิจวัตรก่อนนอนที่สงบ ง่ายที่สุด และสม่ำเสมอ ไม่ทำกิจกรรมที่ตื่นเต้นมากเกินไป เช่น เล่านิทานหรือดูหนังผี
  3. จัดห้องนอนให้ดูผ่อนคลายและสงบ ไม่มีโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ในห้องนอน
  4. หากเด็กตื่นหลังจากหลับไปแล้ว พ่อแม่ต้องสังเกตว่า เด็กตื่นเพราะอะไร และอย่าเพิ่งรีบเข้าไปหา ปล่อยให้นอนอยู่อย่างนั้น แล้วเด็กก็จะหลับต่อไปได้เอง
  5. คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกและลูกน้อยไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหรือรับประทานขนมที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม ลูกอมกาแฟ ช็อกโกแลต และชา 
  6. ไม่ให้เด็กนอนกลางวันมากเกินไป และไม่ให้เด็กหลับในช่วงเย็น
    ให้เด็กทำกิจกรรม ออกกำลัง วิ่งเล่น พอสมควรในตอนกลางวัน
  7. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถซึมซับได้อย่างดีเยี่ยม เพื่อการนอนหลับสบายตลอดคืนของลูกน้อย

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์