Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

เคล็ดลับเลี้ยงดูลูกน้อย 1

เคล็ดลับเลี้ยงดูลูกน้อย 1

การดูแลลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนด

ลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนดนั้นจะได้รับการดูแลจากคุณหมอเป็นพิเศษและเมื่อลูกน้อยแข็งแรงพร้อมกลับบ้านแล้ว คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของคุณแม่ คนสำคัญที่ต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิดแล้วล่ะค่ะ

สิ่งสำคัญที่แนะนำให้คุณแม่ทำคือ

  1. ดูแล เอาใจใส่ ระวังเรื่องการติดเชื้อ : เพราะลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนดนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันยังไม่เต็มที่ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของแม่จะส่งต่อถึงลูกในช่วงท้าย ๆ การตั้งครรภ์ เด็กคลอดก่อนกำหนดจึงมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าเด็กปกติถึง 4 เท่า เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการพาลูกออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น และที่สำคัญคุณแม่รวมถึงคนใกล้ชิดลูกควรหมั่นล้างมือ ไม่ควรให้ลูกอยู่ใกล้คนที่ไม่สบาย รักษาความสะอาดของใช้ทุกอย่างของลูกมากขึ้นกว่าปกติ เพราะเด็กไม่ค่อยแข็งแรงจำเป็นต้องระวังเรื่องหวัดให้มาก 

  2. รักษาอุณหภูมิร่างกายให้ลูก : คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องอุณหภูมิของลูกน้อยเป็นอย่างมาก เมื่ออาบน้ำให้ลูกน้อยแล้วควรจะรีบเช็ดตัวให้แห้ง ห่มผ้า ไม่ให้ลูกถูกลม เพราะลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดตัวเล็กน้ำหนักน้อย เสียความร้อนในร่างกายได้ง่าย อาจจะสังเกตว่าลูกตัวร้อน ตัวเย็น และช่วยดูแลเรื่องเสื้อผ้าให้อบอุ่น สบายตัว

  3. ใจแม่สบาย กายลูกเติบโต : สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่คุณแม่ห้ามลืมก็คือ เลี้ยงเจ้าตัวเล็กอย่างปกติไม่ต้องกังวล เพียงแค่ระวังเรื่องต่างๆที่กล่าวไปข้างต้น หากคุณแม่มีอาการวิตกกังวลอาจจะทำให้ส่งผลถึงพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้นะคะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ th.theasianparent

อาการปัสสาวะเล็ดของแม่ตั้งครรภ์

เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านอาจจะมีอาการแปลกๆที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ใช่ไหมคะ หนึ่งในนั้นคืออาการปัสสาวะเล็ด ที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับแม่ๆทุกท่าน

จริงๆแล้วอาการปัสสาวะเล็ดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป แต่อาจจะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก ปกติเราจะควบคุมการไหลปัสสาวะของเราได้ แต่ในบางกรณี เมื่ออยู่เหนือการควบคุมก็ทำให้ปัสสาวะเล็ดลอดออกมา เนื่องจากในช่องท้องมีแรงดันเพิ่มขึ้น เช่น ไอ จาม หัวเราะ หรือเวลาที่เรายกของหนัก ๆ (บางคนเกิดอาการกลัวมาก ๆ ก็ปัสสาวะเล็ดได้เหมือนกัน)

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง ระบบทางเดินปัสสาวะมีการขยายตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรง ประกอบกับหนูน้อยในท้องตัวโตขึ้น มดลูกเลยขยายตัวจนกดทับกระเพาะปัสสาวะ จนทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ในช่วง 3 เดือนสุดท้าย

วิธีแก้

  1. เมื่อมีอาการปวดปัสสาวะให้รีบเข้าห้องน้ำโดยด่วน อย่ากลั้นไว้ 
  2. การดื่มน้ำให้น้อยลงนั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกวิธี อาจจะส่งผลให้ปัญหาอื่นๆตามมา
  3. หลังคลอดอาการปัสสาวะเล็ดก็จะค่อย ๆ หายไปเอง ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าคุณแม่ยังมีอาการต่อเนื่อง ก็ควรปรึกษาคุณหมอ

โดยสรุปคือ ปัญหาปัสสาวะเล็ดถือไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร การพกกางเกงชั้นใน และกางเกงติดตัวไว้สัก 1 ชุด ก็อาจจะเป็นการป้องกันที่ดีเลยนะคะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ pnmag

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยตื่นขึ้นมาตอนดึก

การนอนหลับของทารกเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญา การส่งเสริมให้ทารกได้นอนหลับสนิทตลอดคืนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับทารก ซึ่งทารกแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทารกส่วนใหญ่มักจะหลับได้นานขึ้นในช่วงตอนกลางคืนเมื่ออายุเกิน 4-6 เดือน ไปแล้วค่ะ แต่หากลูกน้อยมักตื่นบ่อยในตอนกลางคืน หรือบางรายที่เคยนอนหลับยาว ตอนกลางคืนแล้วมาตื่นร้องไห้บ่อยๆ อาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้

• ปวดฟันเวลาฟันขึ้น แก้ไขโดยให้ยาแก้ปวดหรือทาเจลแก้ปวด

• ฝันร้ายจากการเล่นมากในช่วงเย็นหรือก่อนนอน วิธีแก้คืออย่าให้ลูกเหนื่อยเกินไป ควรจัดเวลานอนกลางวันให้เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป และช่วงก่อนนอนให้ทำกิจกรรมที่ไม่โลดโผนตื่นเต้น

• นวดสัมผัส ด้วยโลชั่นกลิ่นลาเวนเดอร์จะช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับฝันดีค่ะ

• พาลูกเข้านอนตรงเวลาและวางแพลนที่แน่นอน เช่น อาบน้ำเสร็จ ใส่ชุดนอน ดื่มนม แปรงฟัน ฟังนิทาน หอมแก้ม บอกราตรีสวัสดิ์และปิดไฟนอน และให้ลูกนอนเอง อย่าอุ้มลูกจนหลับ ถึงแม้ลูกจะไม่นอนทันทีก็ปล่อยให้ลูกอยู่บนเตียงคนเดียวไปเรื่อยๆ ถ้าลูกร้องไห้ไม่ต้องอุ้ม แต่คุณพ่อคุณแม่คอยอยู่ข้างๆ ได้ ลูกน้อยอาจร้องไห้นานถึง 1-2 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ

• ลูกอาจไม่สบาย เช่น เป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ทำให้คัดจมูก หายใจไม่ออก หรือ คันมากตามผิวหนัง ทำให้นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อยๆ วิธีแก้ไขโดยให้ยาที่ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้

• กินนมไม่พอ ให้ดูจำนวนครั้งที่ลูกปัสสาวะ ถ้าได้ 6 ครั้ง/วัน แปลว่าได้นมในปริมาณที่เพียงพอ และถ้าลูกตื่นขึ้นมาดูดนมแป๊บเดียวแล้วก็หลับต่อได้แสดงว่าลูกไม่ได้หิวนม คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุที่ทำให้ลูกตื่น เพื่อไม่ให้ใช้การดูดนมเป็นตัวกล่อมให้ลูกนอนหลับค่ะ

• สำรวจดูว่าผ้าอ้อมที่สวมใส่เลอะหรือลูกถูกรัดพันด้วยผ้าห่มแน่นไปหรือไม่ ลูกน้อยอาจไม่สบายตัวหรือขยับตัวไม่ได้เพราะห่มตัวแน่นเกินไปจึงนอนไม่หลับ ถ้าใช่ ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือคลายผ้าห่มออก โดยไม่ต้องเปิดไฟสว่างจ้า ลูกน้อยจะได้หลับต่อค่ะ

• เตียงนอนของลูกมีอุณหภูมิห้องไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว สังเกตว่าลูกชอบห้องที่มือสนิทหรือมีแสงไฟสลัว เสียงไม่ดังหนวกหู แต่เสียงหึ่งเบาๆ อาจจะเป็นที่ต้องการของลูก เพื่อไม่ให้รู้สึกวังเวงเกินไป เช่น พัดลม หรือเสียงนาฬิกาเดิน และอย่าลุกหาลูกน้อยทันทีที่ลูกส่งเสียงอืออากึ่งหลับกึ่งตื่นเพราะอาจทำให้ลูกตื่นนอนได้ค่ะ

การเล่านิทานส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

การเล่านิทาน อ่านหนังสือให้ลูกฟังมีประโยชน์มากมาย ไม่เว้นแม้แต่ลูกเล็กวัยขวบปีแรก เพราะนอกจากจะเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแล้ว ขณะที่พ่อแม่เล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้ลูกฟัง ยังส่งผลดีต่อพัฒนาการหลายๆ ด้านของลูกด้วย

การอ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้ลูกวัยขวบปีแรกฟัง จะช่วยการกระตุ้นพัฒนาการถึง 3 ด้านของลูก
พัฒนาการด้านภาษา - ลูกจะได้ฝึกการได้ยิน ได้รู้จักภาษาและเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จากหนังสือ
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก - เด็กๆ จะได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยการใช้นิ้วมือ หยิบ จับ สัมผัส และขีดเขียน เป็นการทำงานประสานกันระหว่างสายตาและมือ (Eye-Hand coordination) ซึ่งกระตุ้นการทำงานของสมองโดยตรง เป็นการช่วยพัฒนาสติปัญญาให้กับเด็ก
พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม - ขณะอ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้ลูกฟัง การได้โอบกอดลูก ได้นั่งตัก การใกล้ชิด สัมผัสและเกิดการปฏิสัมพันธ์กัน จะทำให้พ่อแม่ลูกเกิดความผูกพันและไว้ใจกันและกัน ลูกก็จะมีอารมณ์ที่มั่นคง และยิ่งถ้าเล่านิทานอย่างสนุกสนาน เด็กๆ ก็จะยิ่งมีความสุข อารมณ์ดี การเรียนรู้และการจดจำก็จะพัฒนาดีตามไปด้วย

เริ่มอ่านหนังสือเมื่อไรดี
ตั้งแต่ลูกลืมตาดูโลก ก็เล่านิทานให้ฟังได้เลย เพราะการได้ยินเริ่มพัฒนาแล้ว แม้ลูกจะยังไม่เข้าใจความหมาย แต่เป็นการทำกิจกรรมที่จะสร้างความคุ้นเคยให้ เช่น คุ้นเคยกับเสียงของแม่ หรือที่แม่อ่านหนังสือให้ฟัง ซึ่งถ้าไม่เคยปูพื้นฐานเรื่องการเล่านิทาน อ่านหนังสือให้ลูกเลย มาเริ่มทำตอนอายุ 1 ขวบ อาจจะต้องใช้การโน้มน้าวอยู่นาน หรืออาจล้มเหลว เพราะลูกไม่ชินกับกิจกรรมนี้

แต่ถ้าจะเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกในวัยที่เข้าใจภาษาฟังบ้างแล้ว ต้องเป็นตอนอายุ 6 เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายพร้อมที่จะพัฒนา เริ่มนั่งเองได้ รู้จักชื่อตัวเอง ถึงจะยังพูดไม่ได้เป็นคำที่มีความหมาย แต่เริ่มส่งเสียงโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ ถ้าพูดให้ลูกฟังก็เป็นการเพิ่มข้อมูลคำศัพท์ และลูกก็จะเริ่มฟังและสนใจจะฝึกพูดแล้ว

อ่านหนังสืออย่างไร ลูกได้ประโยชน์มากสุด
ควรเปล่งเสียงพูดให้ชัดถ้อย ชัดคำ เมื่อลูกอายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรใช้ภาษาให้ถูกต้อง ลูกจะได้ฝึกฟังและฝึกพูด หากลูกพูดผิดก็ควรแก้ไขให้ถูกต้อง น้ำเสียงเร้าใจ อ่านในจังหวะที่สนุกสนาน ใช้เรียกความสนใจลูก อาจทำเสียงประกอบเรื่องเพื่อเพิ่มความสนุก เช่น เสียงสัตว์ เสียงสมพัด ฯลฯ ทำท่าทางประกอบการเล่าเรื่อง เพิ่มความสนุก และยังช่วยให้ลูกได้ขยับร่างกายตามไปด้วย
มีอุปกรณ์เสริม ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ เช่น ตุ๊กตาหุ่นนิ้ว ตุ๊กตาผ้า หรือสิ่งของต่างๆ ที่ตรงกับเนื้อเรื่อง และช่วยให้ลูกได้สัมผัสพื้นผิววัสดุที่หลากหลายด้วย เล่าประกอบดนตรี อาจเปิดเพลงในจังหวะช้าๆ คลอเบาๆ ไปด้วย ช่วยให้ลูกมีอารมณ์ดี
ได้ใกล้ชิด ผูกพัน การได้สบตา พูดคุย โอบกอดลูกตอนเล่านิทาน จะเป็นสื่อกลางของความรัก มีปฏิสัมพันธ์กันเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์มั่นคง การเรียนรู้ก็จะพัฒนาดีตามไปด้วย
เล่านิทาน 10 นาที เวลาคุณภาพ ช่วงก่อนนอนหรือหลังกินนม ก็พอแล้ว ไม่ควรยัดเยียดการเล่านิทานให้ลูกฟังมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกต่อต้าน จนนิทานกลายเป็นเรื่องที่ไม่สนุกไปเลย

เล่นอย่างไรให้เหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

การเล่นที่เหมาะสมกับตรงช่วงวัย เช่นการเล่นที่ง่ายเกินไป เด็กจะรู้สึกเบื่อ ไม่ท้าทาย หรือหากยากเกินไปเด็กก็อาจจะท้อแท้หมดกำลังใจ รู้สึกล้มเหลวได้ แต่ถ้าเด็กเล่นได้เหมาะสมตรงกับพัฒนาการจะช่วยให้เด็กได้รับความรู้สึกประสบความสำเร็จ มีคุณค่า และรู้สึกดีต่อตนเอง ซึ่งช่วยให้เด็กเล่นได้สร้างสรรค์และมีพัฒนาการที่ดี เหมาะสมตามวัยได้ค่ะ

0-1 ขวบ วัยสำรวจ ให้เด็กได้เล่นที่กระตุ้นให้เกิดการมอง ฟัง ดม คว้า หยิบถือ เขย่า ชิม ได้อย่างปลอดภัย เช่น ห่วงยางเล็กๆ สำหรับกัด กระดิ่งกรุ๋งกริ๋ง โมบายสีสวย และเล่นกับเด็กอย่างง่ายๆ เช่น จ๊ะเอ๋ เล่นเสียงสูง ต่ำ พูดคุย หัวเราะกับเด็กอย่างสนุกสนาน

1-2 ขวบ วัยเตาะแตะ ควรส่งเสริมการเล่นประเภทดึง ลาก ต่อ เคลื่อไหวไปมาได้ เช่น รถลาก บล็อกอันใหญ่ๆ ไว้ต่อ นิทานภาพเรียนรู้คำศัพท์และสีลูกบอลสำหรับเตะ เล่นซ่อนหาและเริ่มเล่นคู่กับเด็กอื่นได้

3-4 ขวบ วัยก่อนเรียน การเล่นน้ำ เล่นทราย ปั้นดินน้ำมัน วาดรูป ระบายสี นิทาน ร้องเพลง กระโดดโลดเต้น ปั่นจักรยาน 3 ล้อ เล่นตามจินตนารการ เริ่มเล่นกัยเด็กคนอื่นได้มากขึ้น

4-6 ขวบ วัยอนุบาล กล้ามเนื้อเริ่มแข็งแรง คล่องแคล่วมากขึ้น ความคิดพัฒนาขึ้นสามารถวิ่งเล่น กระโดดเล่นกลางแจ้ง เล่นสมมุติ สวมบทบาทต่างๆ เล่นกันกลุ่มเด็กได้

6 ขวบขึ้นไป วัยประถม เด็กมีระบบความคิดดีขึ้น สามารถเล่นเกมตามกฎกติกาได้ รู้จักอดทนรอคอย ผลัดกันเล่นได้ เช่น เกมเศรษฐี โดมิโน บันไดงู เล่นกีฬาเป็นกลุ่ม ซึ่งช่วยในการพัฒนาทักษะสังคมมาก

เมื่อพาตัวเล็กไปปาร์ตี้บ้านเพื่อน

  • ช่วงเวลาในการจัดปาร์ตี้อาจเป็นช่วงสายๆ ของวัน เพราะหลังตื่นนอนลูกน้อยจะอารมณ์ดี พร้อมที่จะล่นสนุกไปกับคุณแม่ แต่ถ้าจัดงานเลยช่วงเที่ยงๆ ไปแล้ว ลูกอาจจะเริ่มง่วงนอน งอแง ทำให้หมดสนุกกันทั้งคุณแม่และคุณลูกได้ค่ะ

  • หากจะมีการจัดปาร์ตี้เล็กๆ สนุกๆ กัน ควรมีการตกลงสถานที่กันก่อนว่าจัดเป็นแบบ Indoor หรือ Outdoor เพื่อสะดวกต่อการเตรียมของทำจะเป็นสำหรับลูก เช่น ของเล่นชิ้นโปรด (ควรมีไว้เผื่อลูกงอแงค่ะ) หรือถ้าจัดแบบเป็นสระน้ำ ก็ไม่ควรพลาดที่จะเตรียมชุดว่ายน้ำ สำหรับลูกน้อยและคุนแม่ เพื่อจะได้สนุกไปพร้อมๆ กัน คุนแม่ควรเตรียมผ้าอ้อมที่สามารถรองรับปัสสาวะและอุจจาระของลูกได้ด้วยก็จะดีมากค่ะ เพื่อช่วงเวลาสนุกจะได้ไม่สะดุดลงค่ะ

  • ถึงจะไปแค่ใกล้ๆ บ้านก็ควรเตรียมของใช้ว่วนตัวไปด้วยเช่น เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยนสัก 1 ชุด ผ้าอ้อม ผ้าเช็ดตัว และ Baby Wipe ผ้านุ่มชุ่มชื่น เตรียมไว้เผื่อเจ้าต้วน้อยทานอาหารเลอะเทอะ หรือฉี่ อึ ออกมาก็จะได้เปลี่ยนให้ลูกน้อยสบายตัวได้ทันทีค่ะ

  • รถเข็นเป็นตัวช่วยพิเศษที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ เพราะนอกจากจะพาลูกน้อยออกมาเดินเล่นข้างนอกได้แล้ว ก็ยังแบ่งเราคุณแม่ด้วยที่ไม่ต้องอุ้มเจ้าตัวน้อยไว้ตลอดเวลา หรือถ้าลูกง่วง รถเข็นก็ยังเป็นที่นอนของลูกได้สบายๆ เลยค่ะ

  • ของเล่นชิ้นเล็กๆ อย่างตุ๊กตาผ้า ลูกบอลนิ่มๆ ช่วยให้ลูกสนุกขึ้นได้ค่ะ ถ้าหากลูกต้องนั่นเล่นอะไรเพลินๆ คั่นเวลาในระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่คุยกับเพื่อน หรือนั่งทานอะไรเล็กๆ น้อยๆ กันค่ะ

  • หากอยากหากิจกรรมสนุกๆ ทำร่วมกัน การอ่านหนังสือภาพก็เป็นกิจกรรมที่คุณแม่กับเพื่อนๆ และก็ลูกน้อยสามารถสนุกไปด้วยกันได้ เพราะลูกคงไม่อยากนั่งอยู่ในรถเข็นเฉยๆ คนเดียวหรอกค่ะ การชวนการอ่านหนัสือภาพแบบนี้ลูกน้อยจะได้เปิดหูเปิดตาไปด้วยค่ะ

  • ชวนเพื่อนๆ รุ่นเดียวกับลูกๆ มากันหลายๆ คน หลายๆ ครอบครัว ลูกจะได้มีเพื่อนรุ่นเดียวกัน การได้เจอเพื่อนใหม่ๆ ช่วยให้ลูกน้อนอารมณ์ดีและสนุกกับปาร์ตี้ได้มากขึ้นค่ะ

  • ควรสอบถามเพื่อนด้วยว่า มีห้องน้ำชั้นล่างของบ้านที่สะดวกใช้หรือเปล่า เผื่อลูกน้อยจะเลอะเทอะจะได้จัดการง่ายๆ ไม่ต้องอุ้มขึ้นลง หรือวิธีที่ง่ายสุดคือใส่ผ้อ้อมสำเร็จรูปป้องกันไว้เลยก็ปลอดภัยดีค่ะ แต่คุณแม่ควรพกผ้าเปียกไปด้วยนะคะ

  • หากลูกยังเล็กมาก และคุณแม่กังวล ควรบอกกับเพื่อนเจ้าของบ้านด้วยว่าเรามีลูกตัวน้อยไปด้วย หากเป็นสัตว์ที่ตัวใหญ่มาก ควรแยกสัตว์เลี้ยงไว้ส่วนอื่นๆ ของบ้าน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดอันตรายขึ้นกับเด็กๆ ที่อยู่ในงานปาร์ตี้ค่ะ

เมื่อเตรียมการเรียบร้อยแล้ว คุณแม่ก็พาเจ้าตัวน้อยไปงานปาร์ตี้ได้แล้วค่ะ เห็นไหมคะว่าสามารถพาลูกไปเปิดหูเปิดตาได้ง่ายๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่สนุกเพราะมีลูกไปด้วยแล้วค่ะ

การขับถ่ายของลูกน้อย

ในทารกช่วงวัย 0-6 เดือน โดยส่วนใหญ่ยังควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ การขับถ่ายจึงเป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งในช่วงเดือนแรกๆ ลูกน้อยจะขับถ่ายบ่อยมาก คือปัสสาวะประมาณวันละ 10 ครั้งต่อวัน ถ่ายอุจจาระประมาณ 8-10 ครั้งต่อวัน แต่จะค่อยๆ ลดจำนวนลงเมื่อระบบขับถ่ายพัฒนาขึ้น

อาหารที่สำคัญสำหรับทารกคือ นมแม่ เพราะนอกจากจะมีสาอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายอย่างครบถ้วนแล้ว น้ำนมแม่ยังช่วยในเรื่องระบบการขับถ่าย ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด ทารกอาจจะมีอุจาระเหนียวสีเขียวเข้มเกือบดำ หากทารกได้รับน้ำนมแม่ที่เพียงพอ อุจจาระจะค่อยๆ เปลี่ยนสีเป็นเหลืองนิ่มๆ ภายในสัปดาห์แรก คุณแม่อาจเข้าใจผิดว่าลูกท้องเสียเพราะลักษณะของอุจาระจะนิ่มๆ ค่อนไปทางเหลว ถ้าลูกถ่ายเหลว บางครั้งเป็นฟองนิ่มหรือมีเมือก แต่ไม่มีกลิ่นเหม็น ลูกน้อยอารมดี ร่าเริง แจ่มใส น้ำหนักไม่ลดก็ว่าเป็นปกติค่ะ

พอลูกประมาณ 3 เดือนไปแล้ว ระบบการย่อยและลำไส้ของลูกค่อย ๆ ทำงานดีขึ้น สามารถดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ จากน้ำนมแม่ได้ดี อีกทั้งกระเพาะก็ใหญ่ขึ้นด้วย จึงทำให้ลูกถ่ายอุจจาระน้อยลง เหลือประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 6 ระบบการขับถ่ายและระบบการย่อยจะดีขึ้น และบางคนเริ่มขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลาและสม่ำเสมอบ้างแล้ว ที่สำคัญเขาพร้อมที่จะรับอาหารเสริมได้แล้ว แต่นมยังเป็นอาหารหลักสำหรับลูกน้อยในขวบปีแรกอยู่ค่ะ

มารู้จักการนอนของลูกน้อยกันค่ะ

ทารกแต่ละคนมีนิสัยแตกต่างกันออกไป และมีธรรมชาติการนอนที่ต่างกัน เช่นเด็กนอนไม่นานแต่นอนบ่อย เป็นเด็กตื่นเช้า หรือเป็นเด็กตื่นง่าย เป็นต้น

ทารกส่วนใหญ่จะนอนหลับครั้งละสั้นๆ ประมาณ 3-4 ชั่วโมง จนกระทั่ง 9-10 เดือน จึงจะนอนได้ยาวกว่านี้ แต่ถ้าลูกน้อยคนไหนมีลักษณะการนอนที่ต่างจากนี้

คุณพ่อคุณแม่อาจต้องปรับการนอนของลูกให้สมดุลค่ะ ซึ่งลักษณะการนอนของทารกจะแบ่งเป็น 4 แบบ

งีบแบบแมว
เด็กที่นอนบ่อยๆ ครั้งละสั้นๆ จะตื่นได้นาน 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมง จึงจะถึงเวลาหลับครั้งต่อไป เพื่อให้ลูกนอนหลับเป็นเวลามากขึ้น อาจใช้วิธีปลุกลูกให้ตื่นในตอนเช้าเวลาเดียวกันทุกวัน เช่นปลูกทุก 7 โมงเช้าทุกวัน และพยายามให้ลูกนอนหลับครั้งต่อไปในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ควรให้ลูกนอนเป็นเวลาในแต่ละวัน

ตื่นแต่เช้า
ถ้าคุณพ่อคุณแม่พาลูกเข้านอนตอน 6 โมงเย็น หรือ 1 ทุ่ม เป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกจะตื่นเช้ามาก คุณพ่อคุณแม่ลองนำลูกเข้าน้อยช้ากว่านั้นประมาณ 15-30 นาที อาจช่วยให้ลูกตื่นสายได้บ้าง แต่ถ้ายังไม่ช่วยอะไรแสดงว่าลูกเป็นที่ตื่นเช้าโดยธรรมชาติหรือให้เทคนิคทำราวกับว่านี่คือการตื่นมาตอนกลางคืน โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเปิดไฟให้สว่างและพยายามกล่อมให้ลูกหลับต่ออีกสักพัก

ตื่นง่าย
สำหรับเด็กน้อยที่ตื่นตัวได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะหลับต่อไปด้วยตนเอง ไม่ควรเข้าไปโอ๋ลูกหรืออุ้มลูกขึ้นมาทันที และสำหรับเด็กที่ตื่นง่ายควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ลูกนอนหลับได้ลึก ห้องนอนลูกควรมืดสนิท อุณหภูมิห้องที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป อาจลองใช้เสียงเพลงบรรเลงเบาๆ เพื่อกล่อมลูกและใช้เป็นเสียงเพื่อป้องกันเสียงดังรบกวนจากภายนอก

นอนยาก
เด็กบางคนนอนยากมาก ไม่ยอมนอนหลับบนที่นอนของตัวเอง หลับไม่เป็นเวลา หรือหลับในเวลาที่ไม่ควรหลับ ส่วนใหญ่เกิดจากคุณพ่อคุณแม่สร้างเงื่อนไขการนอนหลับตั้งแต่แรก เช่นจะต้องอุ้มลูกโยกไปมาทุกครั้งเพื่อให้นอนหลับ ลูกน้อยจะจดจำได้ว่าต้องอุ้มเท่านั้นจึงจะหลับ ส่งผลให้นูกน้อยหลับได้ยาก
ถ้าอยากให้ลูกหลับได้ง่ายขึ้นอาจต้องใช้ตัวช่วย เช่น ของเล่นชิ้นโปรด ตุ๊กตาตัวโปรด วางไว้ในที่นอนเพื่อให้ลูกนอนหลับในที่นอนของตัวเองได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันเด็กบางคนนอนหลับที่อื่นไม่ได้เลยนอกจากที่นอนตัวเอง ซึ่งอาจเป็นปัญหาเมื่อต้องเดินทางไปพักที่อื่น เพื่อฝึกให้ลูกมีความยืดหยุ่นในการนอน ก่อนเดินทางสัก 1 สัปดาห์ อาจจะมี 1-2 วันที่ให้ลูกงีบหลับช่วงเช้ายาวหน่อย แล้วไม่ต้องนอนหลับในช่วงบ่าย หรือถ้าจะเป็นต้องออกไปข้างนอก และไม่อยากให้ลูกหลับบนรถจนผิดเวลานอน แล้วกลับมาที่บ้านไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่อาจจะพยายามกระตุ้นให้ลูกตื่นด้วยการพูดเล่นกับลูก ร้องเพลง หรือเปิดซีดีเพลงสนุกๆ ให้ลูกฟังแล้วค่อยให้กลับมานอนสบายที่บ้านค่ะ

การคลอดก่อนกำหนดนั้นส่งผลต่อสุขภาพของลูกหรือไม่ ?

ทารกคลอดก่อนกำหนด มีภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพในหลายด้าน เพราะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยังพัฒนาไม่เต็มที่ แต่ก็ต้องออกมาอยู่ในโลกภายนอกก่อนกำหนด ทำให้สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง และอวัยวะที่สำคัญก็อาจจะมีปัญหาได้ ปัญหาที่พบได้บ่อยคือภาวะเลือดออกในสมอง โดยถ้าเด็กมีปัญหาในการหายใจ ทั้งการหยุดหายใจ หรือหัวใจไม่เต้น เด็กกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองสูง นอกจากนี้ยังพบว่ามีภาวะขาดออกซิเจน โดยอาจจะมีปัญหาจากหัวใจ ปอด เพราะการขาดออกซิเจนจะทำให้เนื้อสมองตาย เด็กกลุ่มนี้เมื่อโตขึ้นมีโอกาสเสี่ยงเรื่องปัญหาสมองพิการได้ และยังมีส่วนต่างๆของร่างกายที่สามารถพบปัญหาได้ อาทิเช่น ตา, หัวใจ , ปอด , ลำไส้ ,และการหยุดหายใจ

ปัญหาสุขภาพของเด็กคลอดก่อนกำหนด แม้จะเกิดขึ้นในอวัยวะที่สำคัญ แต่ทุกโรคสามารถรักษาได้ รวมไปถึงการดูแลเอาใจใส่ที่ใกล้ชิดนะคะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ khanpak.com

ท่านอนสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนแรก

ท่านอนของลูกน้อยวัย 6 เดือนแรกนี้สำคัญมาก เพราะการให้ลูกนอนได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของแต่ละช่วงจึงสำคัญ และคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจลูกน้อยอย่างใกล้ชิดนะคะ
ช่วงแรกเกิดถึง 3 เดือน นอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้ ขณะที่การนอนคว่ำเสี่ยงกับโรค SIDS  (Sudden Infant Death Syndrome) หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก

อายุ 4-6 เดือน เหมาะกับการนอนคว่ำ ด้วยกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้ลูกสามารถชันคอและยกศีรษะได้ แต่ควรมีที่นอนและหมอนที่ไม่นุ่มนิ่มจนเกินไป เพื่อไม่ให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ

อายุ 6 เดือนขึ้นไป กล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงแล้ว แถมยังสามารถพลิกตัวได้ด้วยค่ะ เหมาะกับท่านอนหลายแบบ อาจจะเป็นการนอนตะแคง นอนหงาย กึ่งนั่งกึ่งนอน หรือนอนคว่ำก็ได้

ท่านอนสัมพันธ์กับพัฒนาการของลูกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามแบบนี้ จึงควรจัดท่าให้เหมาะกับวัยลูกนะคะ ที่สำคัญ ควรเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดอากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัยกับลูกค่ะ

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์