Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

พัฒนาการด้านร่างกาย

พัฒนาการด้านร่างกาย

ท่านอนของลูกน้อย

ลูกน้อยวัย 6 เดือนแรก ท่านอนของลูกน้อย ในวัยนี้สำคัญมาก เพราะการให้ลูกนอนได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของแต่ละช่วงจึงสำคัญ และคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจลูกน้อยอย่างใกล้ชิด นะคะ

แรกเกิดถึง 3 เดือน นอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้ ขณะที่การนอนคว่ำเสี่ยงกับโรค SIDS

4-6 เดือน เหมาะกับการนอนคว่ำ ด้วยกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้ลูกสามารถชันคอและยกศีรษะได้ แต่ควรมีที่นอนและหมอนที่ไม่นุ่มนิ่มจนเกินไป เพื่อไม่ให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ

6 เดือนขึ้นไป กล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงแล้ว แถมยังสามารถพลิกตัวได้ด้วยค่ะ เหมาะกับท่านอนหลายแบบ อาจจะเป็นการนอนตะแคง นอนหงาย กึ่งนั่งกึ่งนอน หรือนอนคว่ำก็ได้

ท่านอนสัมพันธ์กับพัฒนาการของลูกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามแบบนี้ จึงควรจัดท่าให้เหมาะกับวัยลูกนะคะ ที่สำคัญ ควรเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดสะอ้าน อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัยกับลูกค่ะ

ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Tikkö Chirawat

ลูกน้อยชันคอ

ลูกน้อยวัย 4-6 เดือน คงจะอยู่ในช่วงที่กำลังพลิกๆ หงายๆ ใช่ไหมคะ เด็กๆ ในวัยนี้จะเริ่มพลิกควำได้ดี ชันคอได้ดี เพราะกล้ามเนื้อส่วนกลางของลำตัว กล้ามเนื้อคอเริ่มมีความแข็งแรง เมื่อพลิกคว่ำตัวจะสามารถชันคอได้ และเริ่มพลิกตัวหงายได้เอง เวลาอุ้มนั่ง อุ้มพาดบ่า คอจะตั้งตรงได้ ไม่ว่าจะอุ้มลูกท่าไหน ลูกก็จะสามารถชันคอได้ค่ะ แต่ถ้าลูกน้อยมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป และยังชันคอไม่ได้ อาจเป็นสัญญาณบอกว่ากล้ามเนื้อมีปัญหา หรืออาจมีปัญหาเรื่องสมองอ่อนแรง ที่ส่งผลให้พัฒนาการกล้ามเนื้อล่าช้าด้วยนะคะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Veepachara P M Llsj

การขับถ่ายของเด็กทารก

เด็กทารกที่กินนมแม่มักมีระบบย่อยอาหารที่ดี ย่อยง่าย ถ่ายคล่อง โดยเฉพาะน้ำนมสีเหลือง (Colostrum) หรือหัวน้ำนม ที่เป็นสุดยอดของอาหารสำหรับทารกแรกเกิดนั้น จะมากไปด้วยภูมิคุ้มกัน วิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน ซึ่งทั้งหมดล้วนไปช่วยให้ลูกเติบโตแข็งแรงช่วยขับ “ขี้เทา” ซึ่งเป็นอึชุดแรกของลูกที่มีลักษณะเหนียว สีเขียวเข้มเกือบดำที่จะอึออกมาใน 2-3 วันแรก แถมยังช่วยจับสารตัวเหลือง บิลิลูบิน (Billirubin) ออกมาทิ้งพร้อมกับอึกองโต ป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลืองเกินไปอีกด้วย

อึของเด็กแรกเกิดมักบอกสุขภาพและความสมบูรณ์ของเด็กได้ เช่น เด็กที่คลอดครบกำหนดก็มักจะแข็งแรงขับขี้เทาออกมาได้ตามเวลา และกินเก่งเพราะถ่ายออกไปมาก น้ำนมแม่เลยพามีมากตามการดูดของลูก เข้าข่ายแข็งแรงมาก กินมาก ถ่ายมาก

เมื่อลูกอายุประมาณ 1 เดือนจึงจะเริ่มอึเพียงวันละ 1 ครั้ง แต่ทารกหลายคนที่กินนมแม่อาจจะมีบางคนที่อึแบบวันเว้นวัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อาจจะทำให้ลูกแน่อนท้อง ไม่สลบายตัว คุณแม่อาจจะต้องมีเครื่องมือช่วยให้จำวันที่ลูกอึหรือระยะความถี่ห่างการอึของลูกได้ อาจทำเป็นตารางจดบันทึกไว้ง่ายๆ ด้วยการทำสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอะไรก็ได้ค่ะ

การหัดเดินของลูกน้อย

เมื่อลูกน้อยเริ่มเข้าสู่วัย 11 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มสนุกกับการหัดเดิน ดังนั้นจึงทุ่มเทพลังไปกับการฝึกเดิน ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบที่หัดเดินของตัวเอง เข่น เก้าอี้เล็กๆ ในบ้านที่ลูกอาจจะไปเกาะหรือพิงโดยไม่รู้ตัวและเก้าอี้ก็เคลื่อนออกไป เมื่อลูกรู้ว่าสามารถทำให้เก้าอี้เลื่อนออกไปได้ ลูกจะสนุกกับการเดินแล้วก้าวเดินตาม คุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกก้าวเดินต่อไปด้วยตัวเอง โดยคุกเข่าต่อหน้าลูกและกางมือออกมารับ จากนั้นเรียกลูกโผเข้ามาหา เพื่อให้ลูกเดินต่อไปไกลเพิ่มขึ้นค่ะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Aimorn Amornsuang

เด็กทารกสื่อสารด้วยการร้องไห้

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงวัย 1-3 ปี มักจะมีปัญหาไม่ยอมหลับตอนกลางคืน ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ เพราะการที่ลูกน้อยนอนหลับไม่เต็มอิ่มในตอนกลางคืน จะส่งผลเรื่องการเจริญเติบโต และพัฒนาการในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ เด็กที่นอนไม่พอจะความจำไม่ดี ขี้ลืม ขาดสมาธิ เหม่อลอย หงุดหงิดและแปรปรวนง่าย เคลื่อนไหวน้อย ดูไม่สดชื่น หรืออาจจะเป็นเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น แถมยังอาจจะส่งผลจ่อเรื่องความสูงด้วย เพราะการนอนดึกไปลดการหลั่นของ Growth hormone เรามาลองดูวิธีการแก้ไขกันค่ะ

1. ควรบอกลูกล่วงหน้าซักหน่อยว่าใกล้ถึงเวลานอนแล้ว ลูกจะได้เตรียมใจ ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ หรือถูกพรากไปจากกิจกรรมที่กำลังทำอยู่

2. จัดสรรเวลานอนกลางวันของลูกให้เหมาะสม เช่น เลื่อนเวลามานอนเร็วขึ้น และดูว่าเวลาในการนอนกลางวันของลูกมากเกินไปหรือเปล่า เพราะเด็กวัย 1-3 ปี ต้องการการนอนกลางวันแค่ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่ตอนกลางคืนต้องการ 11-12 ชั่วโมง

3. จัดสิ่งแวดล้อมให้ดูสบายๆ เงียบ ไม่มีเสียงรบกวน หากลูกกลัวความมืด คุณพ่อคุณแม่ต้องพูดให้ลูกมั่นใจว่าพ่อกับแม่จะอยู่ใกล้ๆลูก หรือนอนกับลูกไปสักระยะหนึ่ง จนลูกรู้สึกอบอุ่นใจ และหลับไป

4. ทำให้ลูกรู้ว่าคุณรักเขา เช่น อุ้มลูกเดินเล่นก่อนพาเข้านอน กอด หอม หรือเป็นคนพาเข้านอนด้วยตัวเอง ให้ลูกรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทิ้งให้อยู่แต่กับพี่เลี้ยง

ในช่วงแรกๆอาจจะยากซักหน่อย คุณพ่อคุณแม่ต้องยืดหยุ่น ไม่จู้จี้หรือบังคับลูกมากเกินไป เพราะไม่อย่างนั้นแล้วลูกจะรู้สึกว่าการเข้านอนเป็นเรื่องการบังคับค่ะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ สุริยาทิตย์ เด็ก หงส์น้อย

เรื่องน่ารู้เด็กทารก

สำหรับพ่อแม่มือใหม่บางท่าน อาจจะเริ่มต้นการเลี้ยงดูทารกด้วยความสับสน เพราะยังไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก วันนี้มามี่โพโคมี 5 เรื่องเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดที่พ่อแม่ทุกคนต้องรู้มากฝากกันค่ะ

1. เด็กแรกเกิดจะทานนมแม่ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หากขณะให้นมคุณแม่ไม่ทราบจริงๆว่าลูกทานอิ่มแล้วหรือยัง เด็กทารกจะเบนหน้าออกจากหน้าอกเมื่ออิ่ม หรือสามารถสังเกตได้จากการปริมาณอุจจาระหรือปัสสาวะ ใน 24 ชั่วโมง ลูกต้องอุจจาระ 2 ครั้ง โดย 1 ครั้งต้องมีพื้นที่เท่ากับแกนกระดาษทิชชู่

ถ้ามีการอุจจาระ 2 ครั้ง แสดงว่าทารกได้ทานนมเพียงพอแล้ว แต่ถ้าอุจจาระถึง 4 ครั้งแสดงว่าได้รับนมมากเกินไป (Over Feeding)

2. เด็กแรกเกิดมักต้องการทานนมทุก 2-3 ชั่วโมง ทำให้ไม่สามารถนอนเป็นระยะเวลานานได้ ทารกจะสามารถนอนได้นานๆมากกว่า 6 ชั่วโมง หลังจากมีอายุ 3 เดือนไปแล้ว

3. ต้องเช็ดสายสะดือลูกให้แรกหลังอาบน้ำเสร็จ โดยเฉพาะบริเวณใต้สะดือ เพื่อไม่ให้น้ำขัง แล้วใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดสะดือลูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และควรปล่อยให้สายสะดือหลุดไปเองตามธรรมชาติ

4. เด็กแรกเกิดในช่วงแรกอาจมีผิวนุ่ม แต่หลังจากนั้นอาจมีอาการผิวแห้งหรือผิวลอก ไม่มีอะไรที่น่ากังวล อาจจะใช้ครีมและโลชั่นสำหรับเด็กทารกทาให้ก็ได้

5. เรื่องสุขอนามัยและเรื่องความสะอาดถือเป็นเรืองสำคัญ อย่าพาลูกออกไปเผชิญแสงแดด คนป่วย และฝูงชน และล้างมือก่อนสัมผัสตัวลูกทุกครั้ง

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ บาส คับ

พัฒนาการลูกน้อยวัย2ขวบ

เด็กๆ ที่ใกล้วัย 2 ขวบจะเริ่มมีพัฒนาการที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่จะมองว่าเป็นเด็กดื้อ (Terrible Two) เพราะลูกจะเชื่อฟังเราน้อยลง และมีพฤติกรรมใหม่ๆ ที่ท้าทายให้คุณแก้ปัญหาด้วย ซึ่งเหตุผลของความดื้อและเจ้าอารมณ์นั้นมักเกิดจากสาเหตุดังนี้

1. อยากรู้อยากเห็น - เพราะหนูกำลังเรียนรู้และค้นพบสิ่งใหม่ๆ ด้วยการลงมือทำ หนูจึงชอบกดปุ่มโทรศัพท์เล่น ดึงหางแมว ใช่ว่าจะเอาแต่ใจตัวเองหรือเอาแต่ซนซะหน่อย

2. เรียกร้องความสนใจ - ด้วยความเหงา เบื่อ เซ็ง ที่พอหนูทำตัวดีแล้วทุกคนก็หายไปทำธุระตัวเองกันหมด สู้กินข้าวหก ทำของแตกไม่ได้ คุณแม่เป็นต้องวิ่งปรู๊ดมาดูก่อนใคร ถึงจะมีเสียงดุว่าตามมาก็ยังดีกว่าอยู่คนเดียว

3. ท้าทาย - ยิ่งตอนหนูอายุ 14-22 เดือน หนูกังวลมากว่าพ่อแม่จะตีจากหนูไป ไม่รักกันเหมือนเคย หนูจึงอยากรู้นักว่าถ้าโดนห้ามก็ยังจะท้าทายทำต่อซะอย่าง แล้วจะมีอะไรหรือเปล่า

4. ไม่มีเหตุผล - หนูอยากทำเพราะอยากทำ ถึงจะยังทำเองไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดทางร่างกาย และมีคนคอยห้ามโน่นห้ามนี่ น่าจะลองให้หนูทำอะไรเองบ้างนะ ถ้าไม่อันตรายเกินไป

5. เหนื่อย - วัยอย่างหนูชอบงีบกลางวัน แต่บางครั้งต้องไปนอกบ้านกับคุณแม่ทั้งวัน เลยพาลหงุดหงิดเอาง่ายๆ

6. หิว - อารมณ์หิวไม่ปราณีใคร หนูต้องการเติมพลังบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่ อย่ายึดมื้ออาหารตามแบบผู้ใหญ่ ต้องมีมื้อของว่างให้หนูบ้าง

เพียงคุณพ่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการและพฤติกรรมของลูกน้อย ก็จะสามารถรับมือพฤติกรรมลูกน้อยได้แล้วล่ะค่ะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Tonglak Boonsom

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์