Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

การฟื้นตัวของร่างกาย

การฟื้นตัวของร่างกาย

จะฟื้นตัวจากบาดแผลหลังคลอ
ดอย่างไร?

จะดูแลบาดแผลจากการผ่าคลอดหรือแผลฝีเย็บอย่าไร? คงจะอยากรู้กันเป็นอย่างมากใช่ไหมว่ามีการจัดการ รักษาบาดแผลกันอย่างไร และอาการเจ็บจะต่อเนื่องไปถึงเมื่อไร

การฟื้นตัวของมดลูกและรังไข่เป็นอย่างไร?

มดลูกและรังไข่ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะเวลา 10 เดือน

จะกลับไปเหมือนเดิมโดยใช้เวลาประมาณ 6 - 8 สัปดาห์หลังคลอด

มาดูกันเถอะว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ในกระบวนการทำให้กลับไปเป็นเเหมือนเดิม

มดลูกจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้อย่างไร?

ก่อนคลอดมดลูกที่เคลื่อนตัวไปอยู่เหนือสะดือจะหดรัดตัวอย่างรวดเร็วจนมาอยู่ใต้สะดือ เมื่อเอารกออกไป วันรุ่งขึ้นก็จะเคลื่อนย้อนกลับไปอยู่ที่ความสูงระดับสะดืออีกครั้ง หลังจากนั้นก็หดรัดตัวซ้ำไปมาพร้อมกับลดขนาดลง หลังคลอด 5 วัน สัมผัสจากด้านนอกก็จะพอรู้ได้ แต่เมื่อผ่านไป 10 วันจะเล็กลงจนสัมผัสไม่ได้ แต่กว่าจะกลับไปเหมือนเดิมอย่างสมบูรณ์แบบก็ต้องใช้เวลาประมาณ 6 - 8 สัปดาห์ จนถึงตอนนั้นขอให้ดำเนินชีวิตอย่างไม่ฝืนโดยดูสภาพร่างกายของตัวเองไปด้วย

การปวดท้องหลังคลอดคืออะไร?

อาการปวดท้องที่คล้ายกับอาการปวดท้องคลอดลูกที่เกิดขึ้นตามการหดรัดตัวของมดลูก เราเรียกอาการนี้ว่า “การปวดท้องหลังคลอด” โดยอาการปวดก็จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล แต่เมื่อเทียบแล้วยังน้อยกว่าอาการปวดท้องตอนคลอดลูกจึงขอให้วางใจได้ ลักษณะก็คือปวดท้องมากกว่าตอนปวดท้องประจำเดือนเล็กน้อย และจะรู้สึกปวดหลังคลอดประมาณ 2 - 3 วัน ตอนที่ออกจากโรงพยาบาลก็เกือบจะไม่รู้สึกแล้ว

น้ำคาวปลาคืออะไร?

เป็นคำเรียกของเหลวที่ไหลออกมาจากช่องคลอดหลังคลอด ซึ่งมีทั้งเลือดที่ไหลออกมาจากแผลในมดลูกที่เกิดขึ้นตรงส่วนที่รกหลุดออกไปและตรงที่เยื่อหุ้มตัวเด็กและรกหลุดออก เลือดที่คั่งอยู่ในมดลูก สารคัดหลั่ง และเมือกผสมปนกันอยู่

น้ำคาวปลาจะไหลต่อเนื่องไปถึงเมื่อไร?

หลังคลอด 2 - 3 วันจะมีปริมาณมาก และมีสภาพใกล้เคียงกับเลือด หลังจากนั้นการไหลของเลือดก็จะค่อย ๆ ลดลงตามการฟื้นตัวของมดลูกและช่องคลอด สีจะเปลี่ยนจากสีแดง→น้ำตาลแดง→เหลือง→ขาว ในท้ายที่สุดสีจะใส ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล หลังคลอดประมาณ 3 - 5 สัปดาห์ น้ำที่ไหลออกมาจะมีลักษณะใส

มาตรวจเช็คน้ำคาวปลากันเถอะ

น้ำคาวปลาถือเป็นมิเตอร์วัดที่สำคัญในการเช็คว่ามดลูกฟื้นตัวแล้วหรือไม่ มาเช็คการเปลี่ยนแปลงของสีและปริมาณของน้ำคาวปลาดู หากเป็นกังวลเนื่องจากเกิดอาการน้ำคาวปลามีสีแดงต่อเนื่องไม่หยุด หรือน้ำคาวปลาที่ลดน้อยลงเรื่อยๆ กลับเพิ่มมากขึ้นอย่างฉับพลัน หรือมีก้อนเลือดไหลออกมา เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์

ประจำเดือนจะเริ่มมาเมื่อไร?

โดยทั่วไปแล้ว กล่าวกันว่าจะเริ่มมีประจำเดือนหลังคลอดประมาณ 4 - 5 เดือน แต่ก็เป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงได้เท่านั้นเนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างบุคคลมาก คุณแม่ที่ให้นมลูกมีแนวโน้มที่ประจำเดือนจะกลับมาช้า แต่ก็มีความแตกต่างระหว่างบุคคลสูงเช่นกัน มีทั้งกรณีที่ประจำเดือนกลับมาเร็วถึงแม้จะให้นมลูก จึงไม่สามารถกล่าวระบุลงไปได้อย่างแน่ชัด ถึงแม้ประจำเดือนจะไม่มาก็ตามแต่ก็มีการตกไข่บ้างในบางกรณี ดังนั้นแม้ประจำเดือนจะยังไม่มาก็ขอให้ระวังเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วย

การดำเนินชีวิตหลังคลอด

หลังการคลอดลูกที่เป็นภารกิจครั้งใหญ่ของผู้หญิง ร่างกายของคุณแม่จะไม่ได้กลับไปเป็นเหมือนเดิมในทันทีเพื่อการเลี้ยงลูกที่จะต้องทำต่อเนื่องไปจากนี้ หลังคลอดควรจะดำเนินชีวิตอย่างไม่ฝืนเกินกำลัง และให้ความใส่ใจกับร่างกายไปสักระยะ

พักฟื้นให้เพียงพอจนกระทั่งถึงการตรวจสุขภาพหลังคลอด 1 เดือน

ถึงแม้จะรู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงแล้วและฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คิดก็ตาม ประมาณหลังคลอด 1 เดือน ควรจะดูแลลูกเพียงอย่างเดียว ปล่อยให้ร่างกายได้พักผ่อน หากฝืนตรากตรำจะทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวได้ในภายหลัง ควรจะขอให้คุณพ่อหรือคุณตาคุณยายช่วยจะดีที่สุด ถ้าคนรอบข้างไม่สามารถจะช่วยได้ก็ควรจะจ้างคนมาช่วยหลังคลอด ขอให้คุณแม่ปูที่นอนทิ้งไว้อย่างนั้นสักระยะ มีเวลาว่างเมื่อไรก็นอนพักผ่อน

เซ็กส์หลังคลอดล่ะ?

ในการตรวจร่างกายหลังคลอด 1 เดือน คุณแม่ก็จะได้รับการตรวจสภาพการฟื้นตัวของบาดแผลที่เกิดขึ้นบนบริเวณฝีเย็บและมดลูก หากแพทย์บอกว่าไม่มีปัญหาอะไรก็สามารถกลับไปมีเพศสัมพันธ์ดังเดิมได้ แต่ผนังช่องคลอดยังเป็นแผลได้ง่าย ควรจะกระทำโดยรักษาความสะอาดด้วยความนุ่มนวล ไม่ฝืน ถ้าจะให้ดีควรใช้เจลหล่อลื่น

หากแต่กว่าร่างกายของคุณแม่จะฟื้นตัวกลับไปเหมือนเดิมได้อย่างสมบูรณ์ ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี เมื่อคิดถึงภาระที่จะเกิดขึ้นกับผู้เป็นแม่แล้ว ควรจะหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ หากเกิดความกังวลใจ เช่น ยังมีอาการเจ็บต่อเนื่องอยู่ เป็นต้น ควรรีบไปปรึกษาสูตินรีแพทย์

แผลฝีเย็บจะหายได้อย่างไร?

ฝีเย็บเป็นจุดที่บอบบางมาก

คงจะอยากรู้กันเป็นอย่างมากใช่ไหมว่ามีการจัดการ

รักษาบาดแผลกันอย่างไร และอาการเจ็บจะต่อเนื่องไปถึงเมื่อไร

บาดแผลเป็นอย่างไร?

บาดแผลที่แผลผ่าตัดหรือรอยฉีกขาดที่ฝีเย็บนั้น จะถูกเย็บทันทีหลังคลอด ทั้งนี้อาจจะมีการใช้ไหมละลายที่ไม่จำเป็นต้องตัดไหมด้วย สำหรับในกรณีที่ต้องตัดไหม ส่วนใหญ่จะทำล่วงหน้าหนึ่งวันก่อนที่จะออกจากโรงพยาบาล การเบ่งอุจจาระเวลาเข้าห้องน้ำไม่ทำให้แผลแยก ขอให้วางใจได้ แต่ถ้าแผลติดเชื้อจะทำให้เกิดปัญหาได้ สิ่งสำคัญคือการรักษาความสะอาด เช่น เช็ดด้วยสำลีทำความสะอาด เป็นต้น

อาการเจ็บจะต่อเนื่องไปถึงเมื่อไร?

แผลจะหายเร็วหรือไม่นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่จะดีขึ้นมากหลังออกจากโรงพยาบาลประมาณ 1 สัปดาห์ และอาการเจ็บจะหายไปเกือบหมดประมาณ 1 เดือนหลังคลอด

ดูเหมือนว่าแผลผ่าตัดจะหายเร็วกว่ารอยฉีกขาดที่ฝีเย็บ ทั้งนี้หากแผลบวม เกิดอาการเจ็บอย่างรุนแรง หรือรู้สึกตึงแผล ขอให้ไปปรึกษาสูตินรีแพทย์

การหายของแผลผ่าตัดคลอดล่ะ?

คงจะมีคุณแม่เป็นจำนวนมากที่รับการผ่าตัดเป็นครั้งแรกในตอนผ่าตัดคลอดใช่ไหม?

หลังผ่าท้องแผลจะหายได้อย่างไร มาดูเรื่องเกี่ยวกับบาดแผลและอาการเจ็บที่จะเกิดขึ้นกันเถอะ

บาดแผลเป็นอย่างไร?

วิธีการจัดการรักษาบาดแผลนั้นดูเหมือนว่าแต่ละโรงพยาบาลจะมีวิธีการรักษาที่ต่างกัน

อาการเจ็บจะต่อเนื่องไปถึงเมื่อไร?

หลังผ่าตัดคลอด วันที่ 1 - 2 จะมีอาการเจ็บแผลและปวดมดลูกที่มีการหดรัดตัว และอาจจะรู้สึกปวดมากหน่อย เวลาที่ปวดมากถ้าบอกเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็อาจจะได้รับการจ่ายยาระงับปวด พอวันที่ 3 ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มเคลื่อนไหวตัวได้เหมือนกับคุณแม่ที่คลอดทางช่องคลอดปกติ ส่วนอาการปวดจะต่อเนื่องไปถึงเมื่อไรนั้นมีความแตกต่างทางบุคคลค่อนข้างมาก หลังจากคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ อาการปวดอย่างรุนแรงก็จะหายไปและดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายหลังจากนั้นบางคนอาจจะรู้สึกคันที่แผลหรือวันที่สภาพอากาศไม่ดีอาจจะรู้สึกเจ็บแปลบๆ ก็ได้

ร่องรอยของบาดแผลจะหายไปหรือไม่?

แผลจะเห็นเด่นชัดหรือไม่นั้นก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวิธีการลงมีดผ่าตัด การผ่าในแนวตั้งจะทำให้ใช้เวลานำลูกออกมาน้อย และขอบเขตในการผ่าตัดของแพทย์กว้าง แต่จะเห็นรอยบาดแผลได้ง่าย ในขณะที่การผ่าในแนวนอนจะทำให้บาดแผลมองเห็นไม่ชัด

นอกจากนี้ บางคนอาจจะเกิดอาการนูนแดงขึ้นที่ผิวหนังตรงแผลผ่าตัด (เคลอยด์) ได้ ทั้งนี้มีเทปและครีมสำหรับติดและทาป้องกันด้วย บาดแผลจะเกิดร่องรอยมากเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของร่างกายเป็นอย่างมาก คุณแม่ที่เป็นกังวลกับเรื่องบาดแผลควรจะลองไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมตกแต่งหรือผิวหนังดูสักครั้ง

มาทำความรู้จักการบริหารร่างกายหลังคลอดกันเถอะ

พอได้ยินคำว่าบริหารร่างกายอาจจะคิดว่าเป็นการออกกำลังกายหนักๆ ก็ได้

แต่การบริหารร่างกายหลังคลอดนั้นเป็นการออกกำลังกายเบาๆ

ที่เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขยับปลายเท้าในขณะที่นอน

แล้วจึงค่อยเพิ่มระดับขึ้นไปเรื่อยๆ

การบริหารร่างกายหลังคลอดคืออะไร?

หลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่ปล่อยให้ร่างกายได้พักผ่อน ควรจะพักผ่อนอยู่นิ่งๆ เท่าที่จะทำได้จึงจะดีจริง แต่หากไม่เคลื่อนไหวตัวเลยก็อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้าก็ได้ การบริหารร่างกายหลังคลอดนั้นเป็นการบริหารร่างกายที่สามารถเริ่มทำได้ทันทีหลังคลอด ถึงจะเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ที่ทำได้แม้ในขณะนอนห่มผ้าอยู่บนเตียง แต่ก็สามารถคาดหวังประสิทธิผลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

การบริหารร่างกายดังกล่าวมีจุดประสงค์และวิธีการที่ต่างไปจากการบริหารร่างกายเพื่อทำให้กลับไปมีทรวดทรงดีดังเดิม การออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายกลับไปมีทรวดทรงดังเดิมนั้นควรทำหลังจากร่างกายฟื้นตัวแล้ว

ทำให้เกิดผลดีอย่างไร?

การบริหารร่างกายหลังคลอดทำให้เกิดประสิทธิผลต่างๆ ต่อการฟื้นตัวของร่างกายหลังคลอด

มาดูกันอย่างเป็นรูปธรรมเลยดีกว่าว่าประสิทธิผลดังกล่าวมีอะไรบ้าง

  1. ช่วยขับน้ำคาวปลา
  2. ช่วยกระชับกล้ามเนื้อที่หย่อนยานเนื่องจากการตั้งครรภ์และคลอดลูก
  3. ช่วยทำให้หายจากความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการคลอดได้เร็วขึ้น
  4. มีประสิทธิผลช่วยทำให้น้ำนมหลั่งได้ดีขึ้น
  5. ป้องกันอาการท้องผูก
  6. กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกและกระชับกระดูกเชิงกราน
  7. การออกกำลังจะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศช่วยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า

ควรเริ่มทำเมื่อไรดี?

หลังคลอดหากไม่มีปัญหาอะไรเป็นพิเศษก็สามารถเริ่มทำได้เลยตั้งแต่วันที่คลอด แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการคลอดและลักษณะร่างกายของคุณแม่ด้วย ทั้งนี้ควรทำโดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือสถานอนามัยที่ทำคลอด

ข้อควรระวังเวลาที่บริหารร่างกายหลังคลอด

การบริหารร่างกายหลังคลอดก่อให้เกิดประสิทธิผลหลายอย่าง หากเป็นไปได้อยากขอให้นำไปปฏิบัติกัน หากแต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำแน่นอน ดังนั้นหากสุขภาพร่างกายไม่ดีหรือเหนื่อยล้าก็ควรจะหยุดและไม่ควรฝืนทำ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆ หรือเวลาที่ง่วงนอน และไม่จำเป็นต้องฝืนเพิ่มจำนวนครั้งที่ทำด้วย

การบริหารร่างกายที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ทุกวันก็คือการเดินด้วยท่าทางที่ถูกต้อง หลังคลอดต้องคอยดูแลลูก คุณแม่มักจะเดินหลังงอกัน ซึ่งจะทำให้หน้าท้องที่หย่อนยานเคยชินกับท่าทางที่สบาย ควรจะเริ่มจากการเดินโดยยืดหลังให้ตรง

หากเป็นกังวลใจแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานอนามัยที่ทำคลอดให้

การดูแลตัวเองหลังคลอดในกรณีคลอดเอง

การดูแลตัวเองหลังคลอดในกรณีคลอดเอง

การเคลื่อนไหวร่างกายหลังคลอด หลังการคลอดไม่มีการห้ามไม่ให้คุณแม่เคลื่อนไหว แต่ในทางกลับกันแพทย์และพยาบาลจะส่งเสริมให้คุณแม่เคลื่อนไหวด้วยซ้ำ ด้วยการเดินไปห้องน้ำเองบ้าง ไปล้างและแปรงฟันบ้าง ฝึกดูแลลูกบ้าง ทั้งนี้หมายถึงกรณีทั่วไปที่คุณแม่คลอดได้ตามปกติและไม่มีปัญหาใด ๆ เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยให้ร่างกายมีการขยับตัวของกล้ามเนื้อและทำให้แผลฝีเย็บสมานเร็วขึ้น แต่มีสิ่งที่ควรระวังอยู่ 2 อย่าง คือ

  1. เนื่องจากคุณแม่เสียเลือดไปในขณะคลอดมากกว่าปกติ ฉะนั้นควรระวังอาการหน้ามืดเป็นลมในระยะหลังคลอดใหม่ ๆ
  2. อย่าลืมว่ามดลูกที่เพิ่งผ่านการทำงานมาอย่างหนัก ดังนั้น การเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ขอให้ไม่ให้กระทบกระเทือนกับมดลูก เช่น การยกของหนัก หิ้วน้ำเป็นถัง ๆ ฯลฯ

นอกเหนือจากนี้แล้วไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายตามที่หมอแนะนำ การเดินไปไหนมาไหน หรือขึ้นลงบันไดก็ย่อมทำได้ และถ้าครบเดือนไปแล้วก็ขับรถไปทำงานได้ตามปกติ

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ igcn.hateblo.jp

การนั่งและยืนให้ถูกท่าสำหรับคุณแม่หลังคลอด

การนั่งและยืนให้ถูกท่าสำหรับคุณแม่หลังคลอด

ผู้หญิงเวลานั่งบริเวณฝีเย็บจะโดนน้ำหนักตัวทับลงกับพื้น จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดใหม่ ๆ นั่งตรงไม่ค่อยได้ หรือคนที่ชอบนั่งขัดสมาธิ ซึ่งการนั่งท่านี้ขาจะฉีกแยกจากกัน จึงทำให้แผลที่ตึงอยู่แล้วก็แทบจะปริแยกออกจากกัน แต่ท่านั่งที่ดีที่สุดก็คือ “ท่านั่งพับเพียบ” เพราะการนั่งท่านี้จะไม่ทำให้เจ็บแผลมาก แต่ถ้ายังนั่งไม่ถนัดก็ให้คุณแม่หาเบาะนุ่ม ๆ หรือหมอนรองนั่งมารองก็ได้ เพราะจะช่วยให้คุณแม่นั่งได้ง่ายขึ้นและมีอาการเจ็บปวดไม่มาก แต่เวลาเวลาจะลุกจะนั่งก็ต้องระวังด้วย อย่าก้าวขามากเกินไปหรือลุกนั่งเร็วเกินไป เพราะจะทำให้แผลฝีเย็บที่ยังไม่หายดีปริออกจนต้องเย็บใหม่ได้ ส่วนท่ายืนนั้นจะตรงข้ามกับท่าเดิน คุณแม่ไม่ควรเดินหนีบ ๆ เพราะจะทำให้แผลเกิดเสียดสีกัน แต่ให้เดินแบบแยกขาออกจากกันเล็กน้อย เดินแยกนิดหน่อยแต่พองาม โดยให้เดินอย่างนี้ประมาณ 7 วันแล้วแผลก็จะค่อย ๆ หายเอง หลังจากนั้นก็สามารถกลับมาเดินในท่าปกติได้

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ rakluke.com

อาการหลังคลอดที่ควรพบคุณหมอ

อาการหลังคลอดที่ควรพบคุณหมอ

ภาวะหลังคลอด ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ของทั้งคุณแม่และคุณลูก คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ รวมไปถึงสังเกตอาการหลังคลอด ว่ามีสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ถ้าหากมี ให้รีบหาคุณหมอเป็นการด่วนค่ะ

  1. มีเลือดออกมาทางช่องคลอดจนชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนภายใน 1 ชั่วโมง ควรรีบไปโรงพยาบาล และใช้น้ำแข็งวางบนหน้าท้องหรือมดลูกเพื่อให้เลือดออกมาน้อยลง
  2. น้ำคาวปลามีสีแดงสดนานเกิน 4 วัน
  3. น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ซึ่งปกติแล้วกลิ่นจะเหมือนเลือดประจำเดือน
  4. มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกทางช่องคลอด ซึ่งปกติแล้วอาจจะมีเพียงลิ่มเลือดเล็กๆ ออกมาปนกับน้ำคาวปลา
  5. น้ำคาวปลาไม่ไหล โดยเฉพาะใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
  6. ปวดท้องน้อย หรือปวดรำคาญในระยะ 1 สัปดาห์หลังคลอด
  7. มีไข้สูงเกิน 38 องศาเกิน 24 ชั่วโมงโดยเฉพาะหลังคลอดวันแรก
  8. เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจเกิดการอุดตันของลิ่มเลือดเล็กๆ ในปอด
  9. การปวดบวมของขาและน่อง อาจเกิดจากมีหลอดเลือดอุดตันบริเวณนั้น
  10. อาการปวด บวม ของเต้านมบางส่วน แม้ว่าอาการตึงคัดจะหายไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนมบางส่วนทำให้เกิดการอักเสบของเต้านม
  11. มีอาการบวมแดงของแผลผ่าตัด เป็นหนอง มีน้ำเหลืองไหลซึม
  12. ปัสสาวะแล้วแสบหรือรู้สึกขัด ปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณน้อยลง และสีเข้มจัด
  13. มีอาการซึมเศร้าเกิน 2-3 วัน และมีอารมณ์โกรธร่วมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ babytrick

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ www.mamaexpert.com

ปฏิบัติตัวหลังคลอด

ปฏิบัติตัวหลังคลอด

หลังจากผ่าตัดคลอดภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง แรก คุณแม่จะอ่อนเพลียจากการผ่าตัดคลอดเนื่องจากเสียเลือดไปในระหว่างที่ผ่าตัด สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังออกจากห้องพักฟื้นมีดังนี้

1.เมื่อคุณแม่เริ่มมีอาการดีขึ้นแล้วควรเริ่มบริหาร เริ่มต้นคือ ท่าการฝึกหายใจ บริหารแขน คอ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกายโดยที่ไม่ให้กระทบกระเทือนแผล หมั่นพลิกตะแคงตัวบ่อย ๆ เพื่อเตรียมตัวในการลุกเดินและป้องกันแผลจากการนอนกดทับเป็นเวลานาน

2.เมื่อพยาบาลนำทารกน้อยมาให้คุณแม่แล้ว ควรให้เจ้าหนูดูดนมจากเต้าให้เร็วที่สุด ซึ่งน้ำนมที่ออกมาตอนนี้เรียกว่า น้ำนมเหลืองอุดมไปด้วยภูมิต้านทานแก่ลูกน้อย และเพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนมไหลเร็วขึ้นและสร้างสายสัมพันธ์รักระหว่างแม่ลูก

3.ภายหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแล้ว หากไม่มีอาการแทรกซ้อน คุณหมอจะให้เริ่มจิบน้ำ กินอาหารเหลว อาหารอ่อนตามลำดับ และถ้าคุณแม่เริ่มกินอาหารที่ไม่ใช่อาหารอ่อนเร็วเกินไปจะส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดเฟ้อและปวดบีบเพราะลำไส้เพิ่งเริ่มทำงาน

4.หลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว คุณหมอจะหยุดให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ และนำสายสวนปัสสาวะออก ในระยะนี้คุณแม่ก็เป็นอิสระแล้วค่ะ แต่ไม่ควรนอนนิ่งอยู่บนเตียง พยายามลุกนั่ง ยืนและเดินให้เร็วที่สุดเพราะไม่เช่นนั้นแผลผ่าตัดจะเกิดเป็นพังผืด

5.หลังผ่าตัดภายใน 3 – 5 วัน คุณแม่และทารกน้อยไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ คุณหมออก็จะให้กลับบ้านได้แล้วค่ะ

  1. เมื่อคุณแม่เริ่มมีอาการดีขึ้นแล้วควรเริ่มบริหาร เริ่มต้นคือ ท่าการฝึกหายใจ บริหารแขน คอ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกายโดยที่ไม่ให้กระทบกระเทือนแผล หมั่นพลิกตะแคงตัวบ่อย ๆ เพื่อเตรียมตัวในการลุกเดินและป้องกันแผลจากการนอนกดทับเป็นเวลานาน
  2. เมื่อพยาบาลนำทารกน้อยมาให้คุณแม่แล้ว ควรให้เจ้าหนูดูดนมจากเต้าให้เร็วที่สุด ซึ่งน้ำนมที่ออกมาตอนนี้เรียกว่า น้ำนมเหลืองอุดมไปด้วยภูมิต้านทานแก่ลูกน้อย และเพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนมไหลเร็วขึ้นและสร้างสายสัมพันธ์รักระหว่างแม่ลูก
  3. ภายหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแล้ว หากไม่มีอาการแทรกซ้อน คุณหมอจะให้เริ่มจิบน้ำ กินอาหารเหลว อาหารอ่อนตามลำดับ และถ้าคุณแม่เริ่มกินอาหารที่ไม่ใช่อาหารอ่อนเร็วเกินไปจะส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดเฟ้อและปวดบีบเพราะลำไส้เพิ่งเริ่มทำงาน
  4. หลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว คุณหมอจะหยุดให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ และนำสายสวนปัสสาวะออก ในระยะนี้คุณแม่ก็เป็นอิสระแล้วค่ะ แต่ไม่ควรนอนนิ่งอยู่บนเตียง พยายามลุกนั่ง ยืนและเดินให้เร็วที่สุดเพราะไม่เช่นนั้นแผลผ่าตัดจะเกิดเป็นพังผืด
  5. หลังผ่าตัดภายใน 3 – 5 วัน คุณแม่และทารกน้อยไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ คุณหมออก็จะให้กลับบ้านได้แล้วค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ คนท้อง

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ ผู้หญิง - Thaiza

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์

เคล็ดลับคุณแม่ที่เกี่ยวข้อง