Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

พัฒนาการของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (1-3 เดือน)

พัฒนาการของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (1-3 เดือน)

พัฒนาการของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (1-3 เดือน)

กว่าคุณแม่มือใหม่จะรู้ตัวว่ากำลังจะเกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นในครอบครัว ก็ต้องเผชิญกับอาการแปลกๆ ในช่วงแรกๆ ของการตั้งท้อง โดยเฉพาะสามเดือนแรก คุณแม่มือใหม่มักมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อยากอาหารหรือเบื่ออาหารบางชนิด นอกจากนี้ยังเริ่มมีผลกระทบทางอารมณ์คือหงุดหงิดง่าย หรือในทางตรงกันข้ามคือซึมเศร้า อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่สูงขึ้นนั่นเองค่ะ พึงระลึกว่าอารมณ์เหล่านี้ล้วนมีผลต่อลูกในท้อง จึงควรทำใจให้ผ่อนคลายดีกว่าค่ะ อาจใช้วิธีพูดคุยปรึกษากับคุณแม่ตั้งครรภ์คนอื่นเพื่อไม่ให้รู้สึกว่าต้องเผชิญปัญหาอยู่คนเดียว

ขณะที่ลูกน้อยเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์นี้เป็นช่วงที่เส้นประสาทไขสันหลังและอวัยวะสำคัญในร่างกายเริ่มสร้างไปพร้อมๆ กับโครงสร้างของใบหน้า เช่นเดียวกับระบบการทำงานของร่างกาย การดูแลสุขภาพและการกินอยู่ของคุณแม่ในระยะนี้จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนโดยตรงค่ะ ควรเลือกทานเนื้อสัตว์ ไข่ นม เพื่อเติมโปรตีนที่จำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อและการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง อาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง ผักสีเขียวเข้ม ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และอย่าลืมดื่มนม เพราะแคลเซียมในนมจะถูกนำไปใช้ในการสร้างกระดูกของทารกน้อยๆ นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์มักท้องผูกง่าย ขอจึงแนะนำให้ทานผักผลไม้ที่มีกากใย และดื่มน้ำให้เพียงพอ

สำหรับคุณๆ ที่มีอาการแพ้อาหารควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อย ในปริมาณมื้อละน้อยๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับอาหารพอเพียง อย่าปล่อยให้ท้องว่างเพราะจะทำให้คลื่นไส้เข้าไปใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงของมันๆ ของกลิ่นแรงๆ บางกรณีคุณหมออาจให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน อย่างไรก็ตามอาการแพ้ท้องจะหายไปเองในช่วงไตรมาสสองค่ะ อดทนอีกนิดค่ะ

ทักทายลูกน้อยในครรภ์

คุณแม่ที่อยู่ในช่วงกำลังตั้งครรภ์ อยากเจอหน้าลูกน้อยจะแย่แล้วใช่ไหมคะ คุณแม่สามารถทักทายลูกน้อยและเสริมพัฒนาการลูกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แถมยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่ คุณพ่อ และลูกน้อยด้วยค่ะ ก่อนอื่นแนะนำให้คุณแม่อยู่ในท่าที่สบาย ปิดเสียงรบกวนจากสื่ออื่นๆ เพื่อให้ลูกน้อยสามารถได้ยินสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่พูดนะคะ

  1. นวด ผสมเบบี้ออยล์กับแป้งฝุ่นบนฝ่ามือ แล้วลูบไล้ไปที่หน้าท้องในทิศทางตามเข็มนาฬิกาอย่างเบามือ คุณแม่จะสัมผัสได้ว่าลูกน้อยดิ้นเบาๆเป็นการตอบรับแรงกระตุ้นที่คุณแม่ส่งไปค่ะ
  2. พูดคุยกับลูกผ่านผนังท้อง ด้วยการเรียกชื่อ หรือทักทายด้วยคำทักทายที่ใช้ประจำ เช่น สวัสดี พ่อรักลูกนะ แม่รักลูกนะ แรงสั่นสะเทือนของเส้นเสียงจะค่อยๆซึมผ่านผนังหน้าท้อง น้ำคร่ำมายังทารก ซึ่งมีรายงานว่าจะช่วยให้ทารกคุ้นเคยกับคำต่างๆ และมีพัฒนาการ
    ทางภาษาดีขึ้นเมื่อเติบใหญ่ค่ะ
  3. ให้ลูกฟังเพลงเบาๆ ช่วยพัฒนาทั้งความฉลาดและอารมณ์ของทารกได้มาก โดยเฉพาะเพลงคลาสสิก หรือเพลงน่ารักๆสำหรับแม่และเด็ก เพลงไทยเดิมก็ใช้ได้เช่นกันค่ะ
  4. ใช้แสงไฟกระตุ้นการมอง เป็นความเชื่อของคุณแม่หลายๆท่าน และปฏิบัติกันมา ว่าวิธีจะช่วยพัฒนาการทักษะการมองของลูกให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งก็ทำโดยใช้ไฟฉายหลอดเล็กที่มีแสงไม่จ้า ฉายส่องไปที่หน้าท้องประมาณ 5 วินาที แล้วสังเกตว่าทารกแสดงปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหวเบาๆตอบกลับมา
  5. ชวนญาติมาพูดคุยหรือสังสรรค์ที่บ้าน จากงานวิจัยพบว่า คุณแม่ที่ได้พบปะกับญาติหรือเพื่อนฝูง มีการสังสรรค์ พูดคุยกัน ลูกที่คลอดออกมา จะมีทักษะความฉลาดและอารมณ์ดีกว่าคุณแม่ที่อยู่แบบสันโดษ เพราะเด็กได้รับความรักความอบอุ่นตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั่นเองค่ะ

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับคุณแม่ที่เกี่ยวข้อง