Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ให้ความรู้สึกแบบไหน? เคลื่อนไหวอยู่เป็นประจำหรือไม่?

“เอ๊ะ ลูกดิ้น!” การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ที่ทำให้
รู้สึกได้อย่างชัดเจนว่ามีเด็กทารกอยู่ในท้อง การเคลื่อนไหว
ของทารกในครรภ์เต็มไปด้วยความหมายมากมาย คุณแม่ควรทำความเข้าใจและตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวดังกล่าว!

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์คืออะไร?

การตรวจสอบรูปร่างของทารกด้วยการตรวจอัลตราซาวด์

ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกดีใจที่ได้ตั้งครรภ์

หากแต่การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ทำให้รู้สึกได้ด้วยตนเองว่า “ลูกอยู่ข้างในท้อง”

อยากสัมผัสถึงความรู้สึกดังกล่าวเร็วๆ ใช่ไหม

ลองมาดูกันเถอะว่าการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์นั้นรู้สึกรับรู้กันได้ตั้งแต่เมื่อไรและอย่างไร!

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน กระดูกและกล้ามเนื้อของทารกก็จะเจริญเติบโต และเริ่มเหยียดแขนยืดขาเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในน้ำคร่ำ เวลาที่แขนขาของลูกไปกระทบกับผนังมดลูกของคุณแม่ ก็จะทำให้รู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกว่ามีเด็กอยู่ในท้องเท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อสารที่สำคัญที่ทารกบอกให้คุณแม่รู้ถึงสภาพร่างกายของตัวเองอีกด้วย

ช่วงเวลาที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้เป็นครั้งแรก

กล่าวกันว่า โดยทั่วไปแล้วจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้เป็นครั้งแรกในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 18 ถึง 20 ของการตั้งครรภ์ แต่ช่วงเวลาที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์นั้นมีความแตกต่างระหว่างบุคคลค่อนข้างมาก แตกต่างกันไปตามความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง ปริมาณน้ำคร่ำและตำแหน่งของรก ดังนั้นถึงแม้จะไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้ในช่วงนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจ หากสามารถตรวจสอบได้ว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงได้โดยการตรวจอัลตราซาวด์ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างไร ขอให้วางใจได้

การเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนไหวของทารก

จริง ๆ แล้ว ลูกดิ้นอยู่ตั้งแต่ก่อนที่คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เสียอีก

พอตั้งครรภ์ได้ 7 สัปดาห์ ระบบประสาทก็จะเจริญเติบโต พอผ่านไปประมาณ 12 สัปดาห์เด็กก็จะเริ่มอมนิ้วมือ เมื่อผ่านไป 20 สัปดาห์ ก็จะเคลื่อนไหวไปมาอย่างเป็นอิสระภายในน้ำคร่ำ! ช่วงนี้เองที่คุณแม่เริ่มจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

มาสื่อสารกับทารกผ่านทางการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์กันเถอะ

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นหนทางหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่ กรณีที่รู้สึกว่าเด็กไม่ดิ้นเลยทั้งวัน ทั้งๆ ที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์มาโดยตลอดควรจะไปโรงพยาบาลให้แพทย์ช่วยตรวจดูเพื่อความแน่ใจ

อีกทั้ง เมื่อตั้งครรภ์ได้ 32 - 35 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มนอนและตื่นเป็นเวลา หากลองนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์โดยบันทึกเวลาที่ทารกใช้ในการเคลื่อนไหวจนครบ 10 ครั้งทุกวัน ก็จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้นว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่

มาตรวจสอบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์กันเถอะ

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นหนทางหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่ กรณีที่รู้สึกว่าเด็กไม่ดิ้นเลยทั้งวัน ทั้งๆ ที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์มาโดยตลอดควรจะไปโรงพยาบาลให้แพทย์ช่วยตรวจดูเพื่อความแน่ใจ

อีกทั้ง เมื่อตั้งครรภ์ได้ 32 - 35 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มนอนและตื่นเป็นเวลา หากลองนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์โดยบันทึกเวลาที่ทารกใช้ในการเคลื่อนไหวจนครบ 10 ครั้งทุกวัน ก็จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้นว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่

วิธีการนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

1) ทำทุกวัน หลังกินอาหารหรือก่อนเข้านอน ตอนที่คุณแม่ผ่อนคลายอิริยาบท

2) นอนตะแคงหันลำตัวด้านซ้ายลงข้างล่าง

3) จับเวลาว่าใช้เวลากี่นาทีกว่าทารกจะเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนจนครบ 10 ครั้ง

★กรณีที่รู้สึกต่างไปจากปกติหรือไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เลยทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้รู้สึกได้โดยตลอด ขอให้ลองไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลดูโดยเร็วเพื่อความแน่ใจ

ถึงจะมีบางเวลาที่ทารกในครรภ์ไม่เคลื่อนไหวก็ไม่เป็นไร

พอเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ก็คงจะรู้สึกเป็นกังวลใจขึ้นมาเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ใช่ไหม แต่ทารกมีเวลาที่หลับและตื่นในระหว่างที่อยู่ในท้อง โดยทารกจะมีวงจรของช่วงหลับและตื่นอยู่ที่ประมาณ 60 นาที หากผ่านไป 1 ชั่วโมงแล้วยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เลย ขอให้ลองไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจดู

การสื่อสารกับลูกในท้องการรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์นั้นเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าทารกเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง

ช่วงที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เป็นช่วงที่ระบบประสาทพัฒนาขึ้นมาพอสมควร ประสาทในการรับฟังเสียงก็เติบโตสมบูรณ์แล้ว เราลองมาสื่อสารกับทารกในหลายๆ รูปแบบ เช่น จับท้อง พูดคุยด้วย หรือฟังดนตรีกันดู! คงไม่มีความสุขใดจะดียิ่งไปกว่าการได้ถ่ายทอดการกระทำของคุณแม่ไปถึงทารกและรู้สึกได้ถึงปฏิกิริยาตอบสนองดังกล่าว ซึ่งในการสื่อสารดังกล่าวก็อยากจะขอแนะนำ เกมเตะเลยลูก ซึ่งเป็นเกมเพื่อการสื่อสารกับลูกผ่านทางการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ มาลองเล่นดูสักครั้งไหม?

★เกมเตะเลยลูก

เกมเตะเลยลูกนั้น ในตอนแรกจะเริ่มง่ายๆ ก่อน เมื่อทำได้แล้วจึงจะก้าวไปสูงขั้นต่อไป ทั้งนี้มีเด็กบางคนที่มีปฏิกิริยาตอบสนองเร็ว และมีเด็กบางคนที่ไม่ค่อยมีปฏิกิริยาตอบสนอง แต่ถึงแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองก็ไม่ต้องร้อนใจ! การกระทำดังกล่าวจะถ่ายทอดไปถึงทารกอย่างแน่นอน เลือกสถานที่และเวลาที่สามารถผ่อนคลายและสนุกสนานได้ โดยใน 1 วันขอให้ทำ 2 - 3 ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน

1) หากทารกเตะ ก็ตบเคาะบริเวณนั้นพร้อมกับพูดว่า “เตะ” หลังจากนั้น 1-2 นาที เด็กก็จะเตะกลับมา และก็ขอให้ตบเคาะตรงที่เดียวกันอีกพร้อมกับพูดว่า “เตะ” เด็กก็จะเตะตรงบริเวณเดิมอีก

2) พอทำตามข้อ 1 ไปหลายๆ วัน ต่อไปก็ไปตบเคาะตรงบริเวณที่ต่างจากจุดที่ทารกเตะพร้อมกับพูดว่า “เตะ” พอทำเช่นนั้น ทารกก็จะไปเตะตรงที่แม่ตบเคาะ พอทำเช่นนี้ ซ้ำไปซ้ำมาสัก 1 - 2 สัปดาห์ ทารกก็จะเตะตรงบริเวณใกล้ๆ กับที่แม่ตบเคาะ

3) พอเริ่มเคยชินแล้ว เมื่อตบเคาะไป 2 ครั้ง พร้อมกับพูดว่า “เตะ เตะ” ทารกก็จะเตะตอบกลับมา 2 ครั้ง ทารกจะเตะตอบกลับมาเท่ากับจำนวนครั้งที่แม่ตบเคาะท้อง

การสังเกตการดิ้นของลูกในครรภ์

วิธีอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง

ภาพแสดงการทำอัลตร้าซาวด์ผ่านหน้าท้อง

คุณแม่หลายท่านที่เริ่มตั้งครรภ์นั้นอาจจะมีข้อสงสัยว่าตัวเองนั้นมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ เรามาดูสัญญาณเตือนภัยกันค่ะ

ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ หรือ 7 เดือนนั้นมักจะมีอาการแปลกๆ หนึ่งในอาการที่บ่งบอกว่าคุณแม่เสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด คือการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์

1. ใน 1 ชั่วโมงหรือหลังทานอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้สึกว่าลูกดิ้นเกิน 10 ครั้งต่อวัน

2. อาการดิ้นของลูกบ่งบอกถึงความแข็งแรงของลูก บ่งบอกว่าลูกยังมีชีวิตอยู่

3. เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ที่มากขึ้น ลูกจะดิ้นน้อยลง เนื่องจากตัวลูกใหญ่คับครรภ์ เลยทำให้พื้นที่ที่จะดิ้น ลดน้อยลงไปด้วย

4. ลูกจะดิ้นน้อยลงตั้งแต่อายุครรภ์คุณแม่ได้ประมาณ 32 สัปดาห์

5. วิธีนับการดิ้นของลูก คุณแม่สามารถนับได้จากหลังทานอาหารประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมงลูกต้องดิ้นประมาณ 3 ครั้ง ถ้าลูกมีอาการดิ้นน้อยกว่านี้ หรือไม่มีอาการดิ้นหลายชั่วโมง ควรรีบไปหาหมอให้ตรวจเช็คทันที เพราะอาจคลอดก่อนกำหนดได้

คุณแม่คนไหนที่ลูกน้อยดิ้นบ่อยๆก็สบายใจได้เลยค่ะ เพราะลูกน้อยยิ่งดิ้นบ่อยแสดงว่าเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยของคุณนั้นยิ่งแข็งแรงมากค่ะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ maerakluke.com

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์