Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

พัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย

พัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญในเรื่องของการเลี้ยงดูลูกน้อยนั้น คงไม่พ้นเรื่องพัฒนาต่าง ๆ ของลูกในแต่ละช่วงวัย เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความเอาใจใส่และเข้าใจพัฒนาการลูกน้อยอย่างดีเยี่ยม ทำให้ลูกน้อยได้รับการกระตุ้นและตอบสนองได้อย่างตรงจุด ทำให้ลูกมีความสุขและอบอุ่นใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

รู้ทันพัฒนาการที่ไม่ถูกต้องในแต่ละช่วงวัย-วัยแรกเกิด

วัยแรกเกิด (ช่วงอายุ 0-1 ปี) 
ช่วง 1-3 เดือนแรก
 
จะเป็นช่วงพัฒนากล้ามเนื้อศีรษะ ลูกจะค่อยๆ เริ่มขยับศีรษะได้เองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ สามารถยิ้ม ส่งเสียงคราง ให้คุณแม่ชื่นใจได้แล้วนะคะ

ช่วง 4-6 เดือน เขาก็จะเริ่มขยับมือและเท้า เริ่มหยิบสิ่งของเข้าปาก ฟันก็เริ่มขึ้น เริ่มลุกขึ้นนั่ง 

ช่วง 7-9 เดือน ก็จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้เป็นคำๆ ตามที่ได้ยิน สามารถที่จะถือสิ่งของเล็กๆ หรือเริ่มยืนหรือเดินโดยยึดเกาะราวหรือขอบโต๊ะไว้ด้วย 

ช่วง 10-12 เดือน เขาเริ่มเข้าใจคำถาม ตอบสนองคุณแม่ได้ดีขึ้น ซึ่งพัฒนาการในช่วงขวบปีแรกนี้ ลูกจะเติบโตขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ และแข็งแรงก็ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ของคุณแม่ และการให้ลูกได้ทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารที่ ครบถ้วน เพราะวัยแรกคลอดถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการเติบโต เพื่อให้ร่างกายของลูกมีพัฒนาการเติบโตแข็งแรง ได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือน้ำนมแม่ค่ะ และนอกจากอาหาร คุณแม่ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ลูกน้อยด้วยของเล่นต่างๆ ได้ด้วยนะคะ นอกจากดูแลพัฒนาการทางร่างกายแล้ว การดูแลวัยเด็กให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อป้องกัน ให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บในเด็กเล็ก และหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเกิดผดในเด็ก ผื่นคันจากอากาศร้อน หรือผื่นผ้าอ้อม เพราะต่อมเหงื่อและผิวของเด็กวัยแรกคลอดยังทำงานไม่สมบูรณ์และ แข็งแรงพอ จึงมีโอกาสเกิดผดผื่นได้ง่ายๆ บ่อยครั้งที่ลูกร้องไห้งอแงเพราะรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะอากาศ ร้อนๆ ในเมืองไทย ทำให้มีโอกาสเกิดการอุดตันของการระบายเหงื่อบริเวณข้อพับ ผิวหนังใต้ผ้าอ้อม ซึ่งเป็นอาการยอดฮิตของการเกิดผดผื่นในเด็กทารก โดยสามารถปกป้องด้วยการทาแป้งเด็กที่อ่อนโยนต่อผิวลูก บริเวณที่อาจเกิดผดได้ง่ายๆ และพยายามอย่าให้เขาเกาเพราะอาจกลายเป็นแผลได้ แต่หากสังเกตเห็นการ อักเสบ ผดแดง ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

รู้ทันพัฒนาการที่ไม่ถูกต้องในแต่ละช่วงวัย-วัยคลาน

วัยหัดคลาน (ช่วงอายุ 1-2 ปี) ผ่านช่วงขวบปีแรกมาได้แล้ว คุณแม่มือโปรก็สบายใจได้ระดับหนึ่งแล้วนะคะ เพราะว่านั่นเป็นช่วงที่จะเรียกว่า ยากที่สุดก็ได้ เนื่องจากลูกเล็กยังไม่เข้าใจภาษาของเรา แต่พอเข้าสู่วัยหัดคลาน ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดบางคำ แต่อาจจะยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำๆ แต่เขาจะเข้าใจความหมายเวลาที่คุณแม่พูดหรือแสดงท่าทาง เด็กวัยนี้ ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษนะคะ คุณแม่ควรให้ความใกล้ชิด เอาใจใส่ และใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากๆ โดยอาจเลือกกิจกรรมที่สามารถร่วมสนุกกันได้ทั้งครอบครัว หรือชวนลูกๆ

ของเพื่อนคุณแม่ที่มีวัยใกล้เคียงกัน แล้วปล่อยให้พวกเขาได้เล่นด้วยโดยสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ก็ได้นะคะ เด็กวัยนี้ จะเชื่อฟังคุณแม่เพราะเขายังไม่รู้ ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ยังไงก็พยายามอย่า “ห้าม” มากจนเกินไป ลองปล่อยให้ลูกได้ลองเล่นอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ดูบ้าง คุณแม่อาจจะปล่อยเขาเล่นกับสัตว์เลี้ยง ลงไปวิ่งเล่นบนสนามหญ้า หรือช่วยคุณแม่ปลูกต้นไม้บ้าง นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางความคิด ยังช่วยสร้างเสริมภูมิต้านทานของลูกด้วยค่ะ

เครดิตภาพ : Flickr

รู้ทันพัฒนาการที่ไม่ถูกต้องในแต่ละช่วงวัย อายุ 1-2 ปี

วัยหัดพูด (ช่วงอายุ 2-3 ปี) ช่วงเวลานี้แหละค่ะที่คุณแม่จะไม่เหงา พูดคนเดียวอีกต่อไปแล้ว เพราะเจ้าตัวเล็กจะเริ่มส่งเสียงพูดเป็นคำยาวๆ หรือบางทีเป็นประโยคเลยก็มี เพื่อช่วยให้ลูกได้ฝึกพูดได้คล่องก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล คุณแม่เองก็อย่าลืมฝึกคุย กับลูกอยู่บ่อยๆ นะคะ บางครั้งอาจพูดบางอย่าง เพื่อให้ลูกตั้งคำถามกลับมา หรือถามคำถามเขาให้เขาได้คิด และตอบ ไม่ว่าจะเป็นคำถามหรือคำตอบว่าอะไร รับรองว่าเรียกรอยยิ้มจากคุณแม่และทุกคนในบ้านได้แน่ๆ และการพูดคุยกันบ่อยๆ ก็ยังช่วยฝึกพัฒนาการพูด ทักษะการคิด ช่วยให้เขากล้าเสนอความคิดเห็นและกล้า แสดงออกได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ต้องการการใช้พลังงานและการเสริมสร้างพัฒนาการทาง ร่างกายที่เหมาะสม การเลือกกีฬาง่ายๆ ก็จะช่วยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อแขนขาได้เป็นอย่างดีด้วย โดยคุณแม่อาจจะชวนลูกน้อยไปจ๊อกกิ้งรอบหมู่บ้าน หรือให้เขาปั่นจักรยานสามขาตามขณะที่เราเดินออกกำลัง นอกจากจะช่วยฝึกพัฒนาการด้านร่างกายแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่ได้ใช้เวลาดีๆ กับลูก เพิ่มความอบอุ่นและให้เขา สัมผัสได้ถึงความห่วงใยของคุณแม่ด้วยค่ะ

ลำดับการขึ้นของฟัน

เมื่อพูดถึงพัฒนาการเด็ก การขึ้นของฟันเหมือนจะเป็นสิ่งที่ใช้เวลานานและดูเหมือนจะไม่มีวันจบสิ้น ทั้งปวดฟัน รู้สึกไม่สบาย และอีกสารพัดอาการที่ไม่ได้ส่งผลต่อแค่เด็ก แต่ยังลำบากถึงผู้ปกครองด้วย

ฟันน้ำนม – เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 0-6 เดือน โดยจะโผล่ออกมาจากเหงือกบวม ๆ และทำให้เจ้าตัวเล็กน้ำลายยืดตลอดเวลา ไม่สบายตัว และอาจทำให้เป็นไข้ได้
ฟันกระต่าย – เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-10 เดือน ในช่วงนี้ฟันคู่หน้าทั้งบนล่างจะเริ่มงอก อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ค่อยสบายนักเวลาให้นม
ฟันกราม – ช่วงอายุระหว่าง 10-14 เดือน ฟันกรามจะเริ่มงอกทำให้เด็กเจ็บจนอาจถึงขั้นไม่หลับไม่นอน
เขี้ยว – อายุ 1-2 ขวบ เขี้ยวจะเริ่มงอก และอาจทำให้เจ็บ ไม่สบาย หรือมีไข้ได้เช่นกัน
ฟันกรามส่วนที่ 2 – ฟันชุดสุดท้ายจะขึ้นในช่วงอายุ 2-3 ขวบ ซึ่งรวมถึงฟันกรามใหญ่ นั่นแปลว่าจะปวดและไม่สบายปากมากขึ้นเป็นสองเท่า

วิธีบรรเทาอาการคันเหงือกของทารกเมื่อฟันเริ่มขึ้น

ลูกฟันเริ่มขึ้นแล้ว มันไม่เจ็บเลย ขำ ๆ ง่าย ๆ สบาย ๆ … ซะเมื่อไหร่กันล่ะ! สำหรับทารกแล้ว เวลาฟันขึ้นเนี่ยมันทั้งไม่สบายปาก คันเหงือก เจ็บปวด น้ำลายไหลยืด เพื่อให้ทั้งคุณและลูกสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาฟันขึ้นไปให้ได้ จะเป็นการดีเอามาก ๆ ที่คุณต้องเลือกวิธีการบรรเทาความเจ็บปวดจากฟันขึ้นเอาไว้ล่วงหน้า มันช่วยได้นะ และนี่คือวิธีการเหล่านั้นที่เราอยากนำเสนอ

เคี้ยวของเย็น
ให้เคี้ยวอะไรเย็น ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บหรือคันเหงือกเมื่อฟันขึ้นได้เพราะของเย็น ๆ จะช่วยลดอาการบวมของเหงือกและทำให้รู้สึกชา ของเย็น ๆ ที่ว่าก็มีตั้งแต่เคี้ยวยางกัดแช่เย็น หรือนำผัก ผลไม้หั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ ล้างให้สะอาด แช่เย็นแล้วนำมาให้ลูกกัดผ่านถุงตะข่ายวิธีนี้จะช่วยป้องกันอาหารไปติดหลอดลมได้ ข้อควรระวังคือ ของแช่เย็นนั้นไม่ใช่ของแช่แข็ง ที่มีความแข็งและความเย็นมากเกินไปเพราะยิ่งจะทำร้ายเหงือกและเพิ่มเจ็บปวดกว่าเดิม


ยางกัด
ของเล่นยางกัดก็ช่วยบรรเทาอาการเจ็บจากฟันขึ้นได้ มีของเล่นยางกัดวางขายมากมายทั่วไปตามท้องตลาด แต่คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังเมื่อจะซื้อยางกัดให้กับลูก เลือกชิ้นที่มีทั้งพื้นผิวหนาและนุ่ม มีสัมผัสที่ต่างกันออกไป อันที่จริงอาจจะไม่เป็นยางก็ได้ อาจจะเป็นพลาสติก ไม้ หรือแม้แต่ผ้าก็ได้ ที่สำคัญคือ ต้องเป็นสิ่งที่ลูกสามารถนำเข้าปากได้ ไม่มีส่วนประกอบใดที่เล็กหรือหลุดออกมาได้ หมายเหตุสำหรับคุณพ่อคุณแม่ คือ เด็กมักจะเอาอะไรก็ตามเข้าปากเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากฟันขึ้น อันที่จริงนี่ไม่ใช่สิ่งที่แย่ตราบเท่าที่ของที่ลูกเคี้ยวและดูดนั้นสะอาดและไม่มีอันตรายว่าจะทำให้ลูกติดคอ

พัฒนาการเด็กทางร่างกายและการส่งเสริม

ลูกน้อยเมื่ออยู่ในช่วงวัย 1-2 ขวบ สามารถเดินและยืนได้เองอย่างมั่นคง อย่างเช่น สามารถเก็บของเล่นที่อยู่ที่พื้นและเดินเตาะแตะนำไปเก็บเข้าที่ได้ หากเจอสถานที่ที่ไม่เรียบ เขาจะคลานเหมือนหมี ปีนข้ามที่กีดขวางโดยลงน้ำหนักที่มือหรือเท้าพร้อมกับยกเข่าสูง ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้นมากโดยมีการเพิ่มความเร็วและหยุดได้เมื่อเจอบางสิ่งที่น่าสนใจ มีการกะระยะและควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นมาก

ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กลูกสามารถหยิบจับสิ่งของหลายๆ ชิ้นได้ในมือเดียว มีการกำแน่นไม่ปล่อยหากมีคนมาแย่ง แต่ก็จะเดินนำของเล่นไปให้คนที่ตนเองถูกใจด้วย และนอกเหนือจากการหยิบจับแล้ว วัยนี้จะเริ่มดึง ฉุด ลาก สิ่งที่เขาชอบและเข้าใจการทำงานของของเล่นแบบดึงลาก ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้นด้วย

  • การเดินบ่อยๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อขาและการทรงตัวแข็งแรง ไม่ล้มง่าย วิ่งกระโดดได้ดีคล่องแคล่ว
  • การเดินช่วยพาเจ้าหนูไปยังพื้นสัมผัส (Sensory) ที่แตกต่างกันออกไป ได้เรียนรู้เรื่องทิศทางในการออกสู่โลกใหม่
  • การเล่นในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างออกไป ทำให้เด็กได้ฝึกคิดต่อ มีความคิดสร้างสรรค์ว่าจะเล่นอะไรกับสิ่งแวดล้อมใหม่นี้ดี
  •  การสำรวจพบสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเอง อย่างแรกที่ได้คือความภูมิใจ มีทั้งความสนุก ความตื่นเต้น จนบางครั้งออกอาการขี้อวดหยิบสิ่งที่ไปเจอเอามาให้คุณแม่ด้วย
  •  เมื่อลูกเริ่มก้าวเดินได้ ความใส่ใจอย่างแรกเห็นทีจะเป็นเรื่องความปลอดภัยนะคะ คุณควรทำบ้านให้รัดกุม มีที่กั้นระหว่างบันไดหรือประตู ยิ่งบ้านไหนมีสระน้ำแล้วยิ่งต้องระมัดระวังให้มาก
  • ควรจะเลือกของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการ เพิ่มทักษะ และความคิดสร้างสรรให้ลูกได้ เช่น ตัวต่อ สีเทียนสีไม้ พลั่วขุดดินและกระป๋องอันจิ๋ว อุปกรณ์บทบาทสมมุติ รถลาก ฯลฯ และไม่ต้องมีเยอะแยะจนเกินความจำเป็น

 

บันทึกพัฒนาการเด็ก

การบันทึกพัฒนาการของลูกในแต่ละเดือนถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ เพื่อประเมินว่าลูกน้อยของเรา มีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่อย่างไร ควรช่วยเติมเต็มหรือฝึกเพิ่มด้านไหนบ้าง การบันทึกพัฒนาการเด็กเป็นการบันทึกความสามารถบางส่วนที่สำคัญตามวัยเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการช้าเร็วแตกต่างกัน ถ้าถึงอายุที่ควรทำได้ แล้วเด็กทำไม่ได้ ควรให้โอกาสฝึกก่อน 1เดือน และถ้าลูกมีลักษณะดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนะคะ

1. อายุ 3เดือน ลูกไม่สบตาหรือยิ้มตอบ ไม่ชูคอในท่านอนคว่ำ

2.อายุ 6 เดือน ไม่มองตาม ไม่หันตามเสียง ไม่สนใจคนที่เล่นด้วย ไม่พลิกคว่ำพลิกหงาย

3.อายุ 1 ปี ยังไม่เกาะเดิน ใช้นิ้วมือหยิบของกินใส่ปากไม่ได้ ไม่เลียนแบบท่าทางและเสียงพูด

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Prince Ja

ทารกในช่วงหัดเดิน-เริ่มวิ่งและกระโดด

เด็กที่ร่างกายเจริญเติบโตเร็ว จะมีหลายเรื่องที่สามารถทำได้เร็วกว่าด้วยเช่นกัน อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกประหลาดใจ เช่น ปีนขึ้นบันได กระโดด มารอการเจริญเติบโตทางด้านจิตใจและคำพูดจนกว่าลูกจะเลิกใช้ผ้าอ้อมกันเถอะ เมื่อร่างกายโตขึ้น คุณแม่ก็จะปฏิบัติกับลูกราวกับเป็นเด็กโต แต่ยังไงจิตใจลูกก็ยังต้องการอ้อนคุณแม่อยู่ ในช่วงนี้สิ่งที่คุณแม่ต้องดูแลมีเพียงเล็กน้อย ขอให้สนุกกับช่วงเวลาเล็กน้อยนี้จนกระทั่งเด็กแยกกับคุณแม่เข้าห้องน้ำคนเดียวได้

เมื่อร่างกายใหญ่ขึ้น ปัสสาวะก็มากขึ้นด้วย

เมื่อร่างกายใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดรอยยางที่ขา

ทารกในช่วงหัดเดิน-เริ่มวิ่งและกระโดด

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

เด็กที่ร่างกายเจริญเติบโตเร็ว จะมีหลายเรื่องที่สามารถทำได้เร็วกว่าด้วยเช่นกัน อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกประหลาดใจ เช่น ปีนขึ้นบันได กระโดด มารอการเจริญเติบโตทางด้านจิตใจและคำพูดจนกว่าลูกจะเลิกใช้ผ้าอ้อมกันเถอะ เมื่อร่างกายโตขึ้น คุณแม่ก็จะปฏิบัติกับลูกราวกับเป็นเด็กโต แต่ยังไงจิตใจลูกก็ยังต้องการอ้อนคุณแม่อยู่ ในช่วงนี้สิ่งที่คุณแม่ต้องดูแลมีเพียงเล็กน้อย ขอให้สนุกกับช่วงเวลาเล็กน้อยนี้จนกระทั่งเด็กแยกกับคุณแม่เข้าห้องน้ำคนเดียวได้

เมื่อร่างกายใหญ่ขึ้น ปัสสาวะก็มากขึ้นด้วย

เมื่อร่างกายใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดรอยยางที่ขา

การเล่นเสริมสร้างสมาธิ

การเล่นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยอย่างมาก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ได้เข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว พัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกน้อยจะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถนำประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ

การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกน้อยเกิดการรับรู้ที่ดี นอกจากนี้ยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทอีกด้วย

การเล่นที่ดีจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการหลายๆ ด้าน อาทิ

  • เสริมสร้างความสนใจและคงสมาธิ
  • เสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ที่บกพร่อง
  • เสริมสร้างปฏิกิริยาการรับรู้และการตอบสนอง
  • ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
  • ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์
  • ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
  • ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน การผลัดเปลี่ยน การช่วยเหลือ การอดทนต่อการรอคอย ความยืดหยุ่น
  • ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ
  • ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี
  • ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศและบทบาทสมมติ

การเลือกของเล่นให้เหมาะกับเด็กในแต่ละวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กเป็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่จึงมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกสรรของเล่นและจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะต่อการเรียนรู้สำหรับลูกน้อย โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ความเหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก ความสนใจของเด็ก ความสะอาด ความเหมาะสมของราคา และวิธีการเล่นค่ะ

ดังนั้นการเลือกผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเล่นของลูกน้อยถือเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการอีกทางหนึ่ง MamyPoko Happy Pants ผ้าอ้อมแบบกางเกงที่การซึมซับเหมาะสำหรับการใช้ในตอนกลางวัน เพื่อให้ลูกน้อยได้เล่นกิจกรรมได้อย่างมีความสุข รู้สึกสบายตัว อารมณ์ดีตลอดทั้งวันค่ะ

สภาพการเจริญเติบโต เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : 13 - 35 กิโลกรัม

รูปร่าง : 
จะมีรูปร่างผอมบางแบบเด็กเล็กทันทีเริ่มมีกล้ามเนื้อ

เท้า : 
ค่อย ๆ เดินได้เร็วขึ้นเริ่มวิ่งและกระโดดได้

มือ : 
จะสามารถขยับได้เล็กน้อย เช่น พลิกสมุดภาพ ต่อตัวต่อไม้

จิตใจ : 
มี “ความต้องการ” ที่จะพยายามทำเองทุกอย่างและมี “ความต้องการพึ่งพาตัวเอง” ที่จะทำด้วยตัวเองจะเริ่มพูดโต้กลับว่า “ไม่เอา” เมื่อคุณแม่ยื่นมือเข้าไปช่วย

ผิว : 
ในตอนที่เล่นที่สวนสาธารณะ ฯลฯ หรือแม้แต่ในบ้าน จะเริ่มใช้มือจับทุกสิ่งที่สนใจ ดังนั้นหากกลับถึงบ้านแล้ว ขอให้ล้างมือให้สะอาด ในตอนที่ออกไปข้างนอก หากพกแผ่นป้องกันเชื้อโรคไปด้วยทุกครั้งจะช่วยให้สบายใจได้มากขึ้น

ดังนั้น ขอให้ล้างมือเองให้เป็นนิสัยโดยพูดกระตุ้นว่า “ล้างมือด้วยนะ”

อาหาร : 
กินอาหารเด็กเล็กระยะหนึ่ง และจะเริ่มสามารถกินอาหารแบบเดียวกับผู้ใหญ่ได้เกือบทั้งหมดยกเว้นอาหารที่เผ็ดหรืออาหารที่มีรสจัด ยังไม่สามารถนั่งกินที่โต๊ะอาหารนิ่ง ๆ ได้ อาจจะมีสิ่งที่ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย หรือเริ่มเล่น เริ่มจะมีความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารชัดเจนขึ้น ดังนั้นควรให้กินวัตถุดิบอาหารที่หลากหลายและมีรสชาติอ่อนก่อน

ดังนั้น ขอให้คุณแม่สบายใจ อย่ากังวลกับท่าทางการกินอาหารของลูกมากเกินไป

การอาบน้ำ : 
มีเด็กบางคนจะไม่ชอบการล้างหน้าและสระผม ขอให้ลองใช้ฟองน้ำรูปสัตว์ ถุงมือสำหรับอาบน้ำ หรือของเล่น ฯลฯ เพื่อให้อาบน้ำได้อย่างสนุกสนาน ความกลัวและการต่อต้านเช่นนี้จะเป็นอยู่ชั่วคราวและจะสามารถผ่านไปได้อย่างแน่นอน ดังนั้นขอให้คุณแม่อดทนสักพัก

ดังนั้น ขอให้ลองเปลี่ยนอารมณ์หรือวิธีอาบน้ำโดยขอความร่วมมือกับคุณพ่อด้วยก็ได้

การแต่งตัว : 
จะรู้สึกสนุกสนานมากขึ้นเนื่องจากแฟชั่นมีการหลากหลายแบบ เมื่อเด็กอายุประมาณ 2 ขวบ จะมีเด็กบางคนโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงแสดงความชอบเรื่องเสื้อผ้าออกมา และจะมีเด็กบางคนที่ดึงดันจะใส่แต่เสื้อผ้าที่ตัวเองชอบเท่านั้น

ดังนั้น คุณแม่ควรเคารพกับความต้องการของลูกเท่าที่จะทำได้พร้อมทั้งลองโน้มน้าวว่า “ตัวนี้ก็น่ารักนะ ลองใส่ให้ดูหน่อย”

1 วันของทารก
ระยะเวลาในการนอนตอนกลางคืนหรือช่วงเวลาในการนอนตอนกลางวัน ฯลฯ จะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน บางคนจะอยู่จนดึกทุกวัน ขอให้ฝึกให้นอนเร็วตื่นเร็วให้เป็นนิสัยโดยลดเวลานอนกลางวันและเพิ่มเวลาเล่นข้างนอก เป็นต้น นอกจากนี้ ความสามารถในการออกกำลังกายและความอยากรู้อยากเห็นก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้มีอันตรายเพิ่มขึ้นกว่าที่ผ่านมา เช่น พลัดตก หรือกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ลองตรวจเช็คความปลอดภัยในห้องหรือที่สวนสาธารณะที่ไปเล่นประจำอีกครั้ง

ดังนั้น ขอให้ระมัดระวังโดยตรวจเช็คและหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสิ่งของที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เริ่มขยับได้อย่างอิสระ และเมื่อเริ่มพูด ก็ใกล้ถึงวันที่เลิกใส่ผ้าอ้อม! ลูกเติบโตขึ้นแล้วจริง ๆ

1 วันของทารก
ระยะเวลาในการนอนตอนกลางคืนหรือช่วงเวลาในการนอนตอนกลางวัน ฯลฯ จะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน บางคนจะอยู่จนดึกทุกวัน ขอให้ฝึกให้นอนเร็วตื่นเร็วให้เป็นนิสัยโดยลดเวลานอนกลางวันและเพิ่มเวลาเล่นข้างนอก เป็นต้น นอกจากนี้ ความสามารถในการออกกำลังกายและความอยากรู้อยากเห็นก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้มีอันตรายเพิ่มขึ้นกว่าที่ผ่านมา เช่น พลัดตก หรือกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ลองตรวจเช็คความปลอดภัยในห้องหรือที่สวนสาธารณะที่ไปเล่นประจำอีกครั้ง

ดังนั้น ขอให้ระมัดระวังโดยตรวจเช็คและหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสิ่งของที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เริ่มขยับได้อย่างอิสระ และเมื่อเริ่มพูด ก็ใกล้ถึงวันที่เลิกใส่ผ้าอ้อม! ลูกเติบโตขึ้นแล้วจริง ๆ

ความปลอดภัยวัยหัดเดิน

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

ลูกวัยหัดเดิน 
ถือว่าเป็นวัยที่ต้องอยู่ในสายตาค่ะ เพราะนอกจากจะไวแล้วก็สุดแสนจะซนแล้ว เรื่องที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ เรื่องความปลอดภัยของคุณหนูค่ะ มาดูกันค่ะว่าข้อควรระวัง และสิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษมีอะไรบ้าง

หน้าต่าง – ควรปิดใส่กลอนล็อคให้เรียบร้อย หากเป็นหน้าต่างระบายอากาศ ก็ควรใส่ลูกกรง เพราะเด็กวัยนี้เริ่มมีความสามารถในการปีน

ประตูลูกบิด – ควรมีที่ล็อคที่สูงพ้นมือลูก บางครั้งลูกต้องการจับเพื่อยึด แต่อาจจะเผลอไปเปิดประตู ทำให้เกิดอันตรายได้

ตู้เสื้อผ้า – ควรล็อคให้เรียบร้อย เพราะลูกน้อยอาจจะเข้าไปอยู่ในตู้เสื้อผ้าโดยที่ไม่มีใครสังเกตเห็น และอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้

สอนลงบันได – คุณแม่สามารถสอนลูกให้ลงบันไดอย่างปลอดภัยได้โดยให้ลูกนั่งถัดก้นลงมาเรื่อยๆจนกว่าจะถึงชั้นล่าง รวมถึงเน้นย้ำว่าไม่ให้ขึ้นลงบันไดคนเดียวโดยที่ไม่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย

ใส่รองเท้าพร้อมถุงเท้า – เพราะหากใส่ถุงเท้าเพียงอย่างเดียว อาจทำให้ลื่นล้มได้ 

บ้านที่ใช้กระจกใสควรติดตัวการ์ตูนไว้ เพื่อให้ลูกน้อยสังเกตเห็นได้ง่าย

การเลือกเสื้อผ้า และผ้าอ้อม - เป็นสิ่งสำคัญนะคะ ควรใส่สบาย ไม่ระคายเคือง เพื่อที่จะปล่อยให้ลูกมีพัฒนาการได้อย่างเต็มที่

 

 

ทารกในช่วงยืน - เดินเตาะแตะ

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

ในที่สุดก็ถึงช่วงเวลาของการยืนที่รอคอย และเมื่อลูกสามารถยืนได้เองคนเดียว ก็จะเริ่มเดินเตาะแตะทันที ก้าวแรกของลูกทำให้รู้สึกราวกับได้เห็นถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ ขอให้พาออกไปข้างนอกเพื่อให้ได้สนุกกับการเดินมาก ๆ และในช่วงเวลาดังกล่าว หากได้ใส่ผ้าอ้อมที่ยืดหยุ่นดีและอ่อนนุ่มราวกับผ้าจนสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่รู้สึกถึงผ้าอ้อม ลูกก็คงจะมีความสุขมาก

รู้สึกว่าก้นจะใหญ่จนเดินไปรอบ ๆ ไม่สะดวก

เมื่อเริ่มเดินได้แล้ว เหงื่อจะยิ่งออกมาก

สภาพการเจริญเติบโต เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : 9 - 17 กิโลกรัม


รูปร่าง :
เมื่อพ้นช่วงทารกที่มีรูปร่างอ้วนกลมก็จะเข้าสู่ช่วง “เด็กเล็ก” ที่มีรูปร่างผอมบาง

เท้า :
เท้าจะยืดตรงไปด้านล่าง และเริ่มเคลื่อนไหวเท้าได้คล่องแคล่วขึ้นที่บันไดก็จะปีนขึ้นไปทีละก้าวได้แล้วโดยลูกจะใช้มือจับราวบันได หรือมีคนช่วยจูงมือ

มือ :
สามารถขว้างและรับลูกบอลไว้ได้ใช้ช้อนกินข้าวได้เก่งขึ้น

ตา :
เมื่อเลย 1 ขวบขึ้นไป จะมองเห็นได้ดีขึ้นทันที

ศีรษะ :
จะเริ่มชอบเล่นเลียนแบบและสมมุติสิ่งของ เช่น ใช้ตุ๊กตาสมมุติเล่นกินอาหารใช้ตัวต่อไม้สมมุติเป็นรถ

ผิว :
เมื่อเดินเองได้แล้ว ลูกจะอยากให้พาออกข้างนอก เช่น ไปสวนสาธารณะ ไปเดินเล่น และจะใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น ดังนั้นอย่าลืมป้องกันรังสี UV โดยใช้ม่านบังแดดที่รถเข็นเด็กหรือสวมหมวก ควรทำให้เป็นนิสัยว่าก่อนจะออกไปข้างนอกต้องทาโลชั่นหรือครีมป้องกันรังสี UV สำหรับทารก นอกจากนี้ ในช่วงหน้าร้อนหากลูกเล่นเพลิน ก็อาจจะทำให้ป่วยเป็นโรคลมแดดได้ ดังนั้นอย่าลืมให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ

ดังนั้น จึงควรรวบรวมชุดสิ่งของจำเป็นสำหรับออกไปข้างนอกเอาไว้

นมแม่, นมชงและอาหารเด็กอ่อน :
หากพ้นช่วงอาหารเด็กอ่อนและเปลี่ยนไปเป็นอาหารเด็กเล็กแล้ว ขอให้ลองให้เด็กกินของว่างในเวลาที่กำหนดวันละ 1 ครั้ง หากเป็นเด็กที่ไม่ค่อยกินอาหาร ขอให้ลองให้ 2 ครั้งในช่วงเช้าและช่วงบ่ายก็ได้ อย่าให้ในปริมาณที่มากเกินไป โดยให้ลองพิจารณาถึงความสมดุลทางโภชนาการ เช่น ผลไม้ มันเทศ ฯลฯ เด็กจะยังไม่คุ้นเคยกับรสชาติที่จัด ดังนั้นควรให้ของที่ทำเองหรือของว่างสำหรับทารก ไม่ใช่ขนมทั่วไป

ดังนั้น ขอให้ระวังว่าในอาหารและของว่างจะมีปริมาณเกลือและน้ำตาลมากเกินไป

การอาบน้ำ :
จะทำกิจกรรมมากขึ้น จะจับและล้มลุกทุกที่ทั้งในบ้านและนอกบ้าน หากเป็นช่วงหน้าร้อน เมื่อกลับมาจากข้างนอกแล้ว ให้อาบน้ำทำความสะอาดเหงื่อและสิ่งสกปรก เด็กจะชอบเล่นน้ำมาก ดังนั้นการอาบน้ำก็เป็นสถานที่สำหรับเล่นเช่นกัน ในระหว่างที่เล่นของเล่นที่ชื่นชอบ ขอให้ทำความสะอาดโดยเร็ว เมื่อเริ่มเดินได้แล้ว เด็กอาจจะเดินเข้าไปในห้องอาบน้ำคนเดียว และตกลงไปในอ่างอาบน้ำเป็นอันตรายได้ ดังนั้นในช่วงกลางวัน ขอให้ระมัดระวังโดยปล่อยน้ำร้อนออก และปิดฝาอ่างอาบน้ำและประตูห้องน้ำไว้

ดังนั้น ขอให้ติดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เช่น แผ่นสติ๊กเกอร์หรือพรมป้องกันการลื่น

การแต่งตัว :
ตอนที่ออกไปข้างนอกก็ขอให้ใส่เสื้อผ้าบาง ๆ หากให้ใส่แบบเดียวกับผู้ใหญ่ อาจจะทำให้รู้สึกร้อนและเหงื่อออกมาก ฤดูที่ที่ต้องใช้เครื่องทำความอุ่นและทำความเย็น จะสะดวกกว่าหากมีเสื้อคลุมไหมพรมหรือเสื้อคลุมขนสัตว์ที่มีหมวกคลุมศีรษะบาง ๆ ให้สามารถปรับอุณหภูมิร่างกายได้ ในตอนที่เดินข้างนอกในหน้าร้อน อย่าลืมให้สวมหมวกเพื่อป้องกันโรคลมแดด

ดังนั้น ตอนที่ออกไปข้างนอกก็ควรนำชุดด้านในหรือเสื้อไปเผื่อด้วย

1 วันของทารก :
จำนวนครั้งและเวลาในการนอนกลางวันจะน้อยลง และเวลานอนในตอนกลางคืนจะนานขึ้น ช่วงเวลาที่ตื่น ทารกจะชอบดูทีวีมาก แต่หากปล่อยให้ดูทีวีเพื่อให้ “อยู่เงียบ ๆ” จะทำให้ลูกไม่ได้ขยับร่างกาย และทำให้สายตาเหนื่อยล้า ขอให้ดูอย่างพอเหมาะเพื่อให้มีเวลาทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเช่นไปเล่นข้างนอกหรือดูสมุดภาพกับคุณแม่

ดังนั้น อยากให้พาออกไปข้างนอกเพื่อขยับร่างกายวันละ 1 ครั้ง

หลังจากนี้! หากเริ่มยืน - เดินเตาะแตะได้แล้ว อีกไม่นานก็จะพ้นช่วง “ทารก” ทั้งรูปร่างและการเคลื่อนไหวก็จะเริ่มเป็น “เด็ก”!

ทารกในช่วงคลาน

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

เมื่อเริ่มคลานได้ ทารกจะมีความอยากรู้อยากเห็นมาก จะเพลิดเพลินกับการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง แม้แต่ตอนเปลี่ยนผ้าอ้อมก็จะไม่ยอมอยู่เฉย หากสามารถให้ความสำคัญกับความต้องการเล่นของลูกไปพร้อมทั้งคุณแม่สามารถเปลี่ยนผ้าอ้อมได้อย่างรวดเร็วได้ก็คงดี!

จะคลานหนีทั้ง ๆ ที่ปัสสาวะอยู่!

พอขยับจนเหนื่อยก็หลับได้สนิทมากขึ้น

การออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก

การออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก จะช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น ให้พร้อมสำหรับพัฒนาในแต่ละช่วงวัย การฝึกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอช่วยให้เด็กได้พัฒนาการทักษะด้านเคลื่อนไหว ส่งผลให้เป็นคนกระฉับกระเฉง มีความจำดี มีสมรรถภาพของร่างกายที่ดีด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานให้เด็กมีความมั่นใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆทั้งการเรียนและนอกห้องเรียน นอกจากนี้การออกกำลังยังช่วยให้เด็กเล็กมีการตัดสินใจดีขึ้นประสาทและ กล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์ กันและเป็นการปูพื้นฐานทักษะ การเคลื่อนไหวในขั้นยาก ๆ เมื่อเติบโตขึ้นต่อไป

วัยทารก-หัดคลาน
เด็กสามารถออกกำลังกายได้ตั้งแต่วัยทารกโดยการทำกิจกรรมร่วมกับคุณพ่อ คุณแม่ เช่น หรือ กิจกรรมออกกำลังกายเด็กเล็กที่เน้นการขยับแขนขา เพื่อพัฒนาข้อต่อ เส้นเอ็น การให้เด็กคว่ำตัวทำให้เด็กพยายามเกร็งลำตัวเพื่อผงกหัวเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อลำตัวและช่วงหลัง เด็กวัยทารกเมื่อถึงวัยคลานใครหลายคนอาจจะบอกว่าไม่เป็นไรถ้าเด็กไม่คลาน แท้จริงนั้น การคลานมีความสำคัญหลายอย่างมาก การคลานเป็นการใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนมากกว่าการเดิน เด็กได้เรียนรู้การใช้มือและแขน และเมื่อเข้าสู่วัยเริ่มเด็ก พอเด็กจะล้ม เด็กจะสามารถเอามือออกมากัน เพื่อไม่ให้ศีรษะฟาดพื้น ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้เช่นนี้ เมื่อเด็กเจ็บเด็กก็จะกลัว ไม่กล้าที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง ซึ่งมีผลต่ออนาคตของเด็กวัยกำลังคลาน และเด็กวัยก่อนและวัยเข้าอนุบาลควรได้รับการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ ทุกวัน เหมือนเป็นการสะสมพัฒนาการให้ค่อยเป็นค่อยไป

สภาพการเจริญเติบโต เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : 7 - 12 กิโลกรัม

แขน :
มีแรงเพิ่มมากขึ้น เด็กบางคนจะนอนคว่ำ ยกศีรษะขึ้นและใช้มือกับเท้าช่วยเลื่อนตัวไปข้างหน้า และเด็กบางคนจะเริ่มคลานได้ ซึ่งลักษณะการคลานจะมีหลากหลาย เด็กบางคนจะเลื่อนตัวไปโดยขยับขากรรเชียงในท่านั่ง ความเร็วจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นและเด็กบางคนจะพยายามคลานขึ้นที่ต่างระดับหรือบันไดจึงควรระวังให้มาก

มือ :
ปลายนิ้วจะสามารถขยับได้เล็กน้อย และจะเริ่มเล่นซุกซน เช่น ดึงทิชชู่ จับรีโมทคอนโทรลหรือโทรศัพท์มือถือเล่น

ศีรษะ :
เริ่มเข้าใจเรื่องที่คุณแม่พูดมากขึ้นจะเริ่มเลียนแบบ และพูดคำที่ผู้ใหญ่พูดซ้ำ ๆ เช่น “หม่ำ ๆ” “บรืน ๆ”

ผิว :
เมื่อคลานได้ในพื้นที่กว้างขึ้น ลูกจะเริ่มขยับตัวไปรอบ ๆ เช่น มุมห้อง ใต้โต๊ะ ซึ่งในสถานที่ที่ผู้ใหญ่มองไม่ค่อยเห็นนั้นมักจะเต็มไปด้วยฝุ่น ฯลฯ หากเห็บหรือฝุ่นสัมผัสถูกผิวหรือเข้าไปในร่างกาย อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกเกิดภูมิแพ้ได้ นอกจากนี้ สิ่งของที่ไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้ใหญ่ อาจจะรุนแรงต่อผิวของทารกที่ละเอียดอ่อน และทำให้เกิดผื่นคันได้

ดังนั้น ขอให้ตรวจเช็คภายในห้องอีกครั้งโดยดูจากระดับการคลานของทารก

นมแม่และอาหารเด็กอ่อน :
เริ่มกินอาหารที่มีความแข็งในระดับที่ใช้เหงือกบดได้แล้ว และเริ่มที่อยากจะกินเอง ในช่วงแรกจะพยายามใช้มือหยิบใส่ปาก ในช่วงนี้จนเลย 1 ขวบ ยังคงใช้มือหยิบกินซึ่งอนุญาตให้ทำได้ และคอยดูแลเรื่องความต้องการกิน ปริมาณการกินต่อครั้งจะ ๆ ค่อยเพิ่มขึ้น และเป็นช่วงที่เด็กบางคนเริ่มกิน 3 มื้อแบบเดียวกับผู้ใหญ่ ในช่วงนี้หากลูกอยากกินนมแม่ ควรปล่อยให้ลูกกินอิ่มเท่าที่ต้องการ

การอาบน้ำ :
เมื่อลูกคลาน มือ เท้า และเข่าก็จะสกปรก ปริมาณการออกกำลังกายก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เหงื่อก็ออกมากขึ้น ขอให้ทุกวันอาบน้ำทำความสะอาดให้ดี หากรู้สึกว่าผิวแห้ง ฯลฯ ขอให้ใช้แชมพูหรือสบู่สำหรับผิวบอบบาง แม้แต่ในห้องน้ำลูกก็อยากจะเคลื่อนไหว ดังนั้นขอให้วางสิ่งที่เป็นอันตรายไว้บนที่สูงที่มือเอื้อมไม่ถึงด้วย เพราะลูกอาจจะนำเข้าปาก

ดังนั้น หากใช้สบู่ประเภทฟองที่สามารถล้างออกได้อย่างรวดเร็วจะทำให้สะดวกมากขึ้น

การแต่งตัว :
ขอให้เลือกวัสดุที่มีความยืดหยุ่นที่ขยับตัวและใส่ได้ง่าย เมื่อพาออกไปข้างนอก หากใส่เสื้อผ้ามากเกินไป จะทำให้ขยับตัวยาก ดังนั้นจึงมีเกณฑ์บรรทัดฐานว่า “ให้ลบจำนวนชิ้นของเสื้อผ้าผู้ใหญ่ออก 1 ชิ้น” เพื่อไม่ให้หนาเกินไปในฤดูหนาว การสวมเสื้อผ้าที่บางหลาย ๆ ชั้นจะช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายได้ง่ายกว่าเสื้อผ้าที่หนาด้วยการใส่เพิ่มหรือถอดออก หากอยู่ภายในห้อง ขอให้ปล่อยให้เท้าเปล่าเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันการลื่น ในตอนที่ไม่แน่ใจว่าอุณหภูมินี้ควรจะสวมแจ็คเก็ต ฯลฯ หรือไม่ ให้เลือกคำตอบว่าไม่สวม ทารกจะชอบสวมเสื้อผ้าบางมากกว่าเสื้อผ้าหนา

ดังนั้น ตอนที่ออกไปข้างนอกก็ควรนำชุดด้านในหรือเสื้อไปเผื่อด้วย

1 วันของทารก :
เวลาที่ตื่นในตอนกลางวันเริ่มนานขึ้น จะนอนกลางวันประมาณ 1 - 2 ครั้ง นอกนั้นจะนอนตอนกลางคืนทีเดียว และหากกำหนดเวลาสำหรับกินอาหารเด็กอ่อนได้เป็นส่วนใหญ่แล้ว จะทำให้อุจจาระและนอนกลางวันเป็นเวลามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ใช้ชีวิตได้เป็นจังหวะมากขึ้น หากลูกอยู่ดึกเพื่อรอคุณพ่อกลับมา อาจจะทำให้จังหวะที่สร้างไว้สับสน และทำให้นอนหลับได้ไม่ดี ซึ่งในช่วงที่นอนตอนกลางคืน จะมีการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตออกมา ดังนั้นจึงควรให้นอนตอนกลางคืนให้เต็มอิ่ม

ดังนั้น ควรสร้างสิ่งแวดล้อมให้สามารถนอนเร็วและตื่นเร็วได้ หากคลานไปพร้อมกับเริ่มเกาะบางสิ่ง อาจจะเริ่มเกาะแล้วยืนก็ได้! วันที่ยืนได้ก็คงใกล้เข้ามาแล้ว!?

เล่นเสริมพัฒนาการ

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

รู้หรือไม่คะ? ว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกคลอด คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นสิ่งต่างๆกับลูกได้โดยให้เหมาะสมกับวัยของลูก พัฒนาการของลูกน้อยจะไปได้เร็วมากเพียงแค่ได้เล่นวันละ 1-2 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกน้อยได้ง่ายๆ ด้วยของเล่นที่มีอยู่แล้วในบ้าน เช่น

1.กระจก การเล่นกับกระจกจะทำให้เด็กรู้จักกระตุ้นการสื่อสารกับคนรอบข้าง เด็กๆจะชอบเห็นหน้าตัวเองในกระจก และจะดีมากถ้าได้เห็นหน้าพ่อแม่ในกระจกด้วย

2.กรุ๊งกริ๊ง ช่วยกระตุ้นเรื่องการฟัง และมุ่งจุดสนใจให้ลูก ช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกเรื่องเหตุและผล

3.โมบาย ช่วยกระตุ้นเรื่องพัฒนาการเรื่องการมองเห็น ควรติดไว้ให้ลูกดูห่างจากตัวลูกประมาณ 1 ฟุต

4.ของเล่นนุ่มนิ่มไว้จับ ช่วยในเรื่องพัฒนาการของลูกด้าน การสัมผัส การจับยึด การเรียงสิ่งของ

5.เปิดเพลงให้ลูกฟัง จะช่วยในเรื่องพัฒนาการเรื่องการพูดและการฟัง ยิ่งได้ร้องหรือฟังพร้อมพ่อแม่ยิ่งเป็นการกระตุ้นพัฒนาการที่ดี

6.อ่านหนังสือให้ลูกฟัง พัฒนาการเรื่องการฟัง และการจำ เด็กๆจะจำคำศัพท์ต่างๆได้เร็วและมากขึ้น

ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Jiraporn Conoley

ทารกช่วงลุกนั่ง (พลิกตัว - นั่ง)

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

หากสามารถพลิกตัวได้แล้ว แสดงว่ากล้ามเนื้อเริ่มมีแรง และใกล้ถึงวันที่จะนั่งได้ ในช่วงแรกอาจจะยังไม่สามารถทำได้หากคุณแม่ไม่ช่วยพยุง แต่ในไม่ช้าทารกจะสามารถนั่งนิ่ง ๆ ได้เอง ทำให้ลูกมีทัศนียภาพที่กว้างขึ้น โลกของลูกก็จะกว้างขึ้น! เมื่อทารกพลิกตัวหรือนั่งได้ ก็จะขยับร่างกายโดยเฉพาะบริเวณท้องได้แรงขึ้น

เพราะลูกขยับตัวมากผ้าอ้อมจะแน่นเกินไปรึเปล่า

ปัสสาวะก็มีปริมาณมากขึ้นด้วย

สภาพการเจริญเติบโต เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : 6 - 14 กิโลกรัม

ร่างกายโดยรวม :
คอจะเริ่มแข็ง สะโพกก็เริ่มจะแข็งแรง ร่างกายมั่นคงอุ้มได้ง่ายขึ้น

เท้า :
มีแรงมากขึ้น และเริ่มเตะผ้าห่ม บางครั้งเมื่อคุณแม่หรือคุณพ่อพยุงรักแร้ก็จะกระโดดขึ้นด้านบนหัวเข่า

แขน :
ถ้านอนคว่ำอยู่ ก็จะชันแขน ยกศีรษะขึ้นได้อย่างมั่นคงและในสภาพที่นอนคว่ำหรือตอนที่เล่นเท้าตัวเองจะทำให้สามารถพลิกตัวได้

มือ :
สามารถจับหรือเคาะของเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว

สะโพก, หลัง :
กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังมีการพัฒนามากขึ้นในช่วงแรก จะสามารถนั่งได้โดยการพิงและจะค่อย ๆ นั่งเองคนเดียวได้ และท่านั่งก็มั่นคงขึ้น

ฟัน :
เด็กบางคนจะเริ่มมีฟันขึ้นโดยฟันหน้าด้านล่างหรือด้านบน 2 ซี่จะเริ่มโผล่ขึ้นมาเล็กน้อย

ผิว :
มีการเผาผลาญพลังงานมาก ทำให้เล็บและผมยาวเร็ว ควรหมั่นตัดเล็บเนื่องจากเล็บอาจจะทำให้ผิวของลูกเป็นแผลได้ นอกจากนี้ผมอาจจะทำให้รอยพับบริเวณหูฉีกขาด ขอให้ระมัดระวังให้มาก และขอให้ดูแลตรวจเช็คจมูกและหูให้ดีด้วย ปัสสาวะเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้น หากไม่หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ จะทำให้ก้นเกิดผื่นคันขึ้นได้ และช่วงนี้เป็นช่วงที่ทารกเจริญเติบโตเร็ว ซึ่งผ้าอ้อมที่เหมาะกับเมื่อวานก็อาจจะทำให้บริเวณเอวหรือขาหนีบแน่นและรัดจนเกิดผื่นผ้าอ้อมในวันนี้ได้

ดังนั้น หลังทำความสะอาดจะต้องรักษาความชุ่มชื้นด้วย

นมแม่, นมชงและอาหารเด็กอ่อน :
ลูกจะเริ่มแสดงความสนใจกับของกินของคุณแม่และคุณพ่อ เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเริ่มถึงเวลาให้อาหารเด็กอ่อน รสชาติและรูปร่างของช้อนหรือของกินเป็นประสบการณ์แรกของลูกทั้งสิ้น ดังนั้นต้องใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และค่อยเป็นค่อยไปให้เหมาะกับการเติบโตของลูก หากเริ่มคุ้นเคยกับของเหลวข้นแล้ว ก็จะเปลี่ยนไปเป็นอาหารเหนียวข้นอ่อนนุ่มที่ใช้ลิ้นดุนได้ 

ในตอนที่เป็นเด็กเล็ก หากมีประสบการณ์เกี่ยวกับรสชาติที่หลากหลาย ก็จะทำให้ความชอบและไม่ชอบน้อยลง แม้ว่าจะเริ่มให้อาหารเด็กอ่อน แต่ก็ควรให้นมในจำนวนครั้งและปริมาณเช่นเดียวกับที่ผ่านมาเท่าที่ลูกต้องการ
ดังนั้น จะเพิ่มปริมาณและสารอาหารที่ไม่เพียงพอในนมแม่ได้ด้วยอาหารเด็ก

การอาบน้ำ :
หากลูกนั่งได้และร่างกายแข็งแรงแล้ว จะสามารถนั่งเก้าอี้เด็กสำหรับอาบน้ำได้ ซึ่งจะทำให้มีช่วงเวลาอาบน้ำกับคุณแม่และคุณพ่อที่สนุกมากขึ้น ผมลูกจะเริ่มยาวมาก ดังนั้นขอให้สระผมเพื่อป้องกันไม่ให้มีผดขึ้นที่หนังศศีรษะ ซึ่งหากใช้แชมพูสำหรับทารกที่ล้างฟองออกได้ง่ายและไม่แสบตา จะช่วยให้คุณแม่วางใจได้มากขึ้น ถ้าลูกเริ่มมีแรงที่เท้า ลูกมักจะใช้เท้ายันไว้ ขอให้ระมัดระวังให้มากเนื่องจากอาจจะทำให้คุณแม่เสียการทรงตัวและล้มลงได้

ดังนั้น ก่อนที่จะอาบน้ำขอให้ตรวจเช็คและปรับอุณหภูมิของห้องน้ำและน้ำอุ่นก่อน

การแต่งตัว :
หากสามารถพลิกตัวได้แล้ว สิ่งที่ขัดขวางการเคลื่อนไหวจะทำให้ทารกเกิดความเครียดได้ ดังนั้นจึงควรเลือกเสื้อผ้าเรียบ ๆ และบางเท่าที่จะทำได้ ซึ่งทำให้ลูกเคลื่อนไหวได้ง่าย และคุณแม่ก็ดูแลได้ง่ายด้วย ทารกต้องการขยับแขนและใช้มือได้อย่างอิสระในการนั่ง ตบมือ หรือเล่นของเล่น ดังนั้นจึงควรเลือกเสื้อแขนสั้น หากแขนเสื้อยาวเกินไป ขอให้พับขึ้นมา

ดังนั้น หากเลือกเสื้อผ้าให้เคลื่อนไหวได้ง่าย เช่น เสื้อคลุมที่บางหรือเสื้อยืด+กางเกงได้ก็คงจะดี

1 วันของทารก :
หากให้นมลูกเต็มอิ่มก่อนนอน จะทำให้ลูกหลับสนิทจนถึงเช้าโดยไม่ตื่นกลางดึก เวลาตื่นตอนกลางววันก็จะนานขึ้น สามารถเล่นของเล่นกับคุณแม่ และค่อย ๆ นั่งเองคนเดียวได้นานขึ้น มีเด็กบางคนที่ร้องตอนกลางคืนหรือเข้านอนยาก ดังนั้น ในวันที่อากาศดี ก็ขอให้คุณแม่พาออกไปข้างนอก หรือปูเบาะรองไว้บนพื้นในบ้าน และปล่อยให้เล่นอย่างอิสระ

ดังนั้น จะต้องสร้างจังหวะเพื่อให้ตอนกลางวันมีการทำกิจกรรมและกลางคืนนอนเร็ว หากสามารถนั่งเองได้เป็นเวลานาน ก็ถึงวันที่เริ่มเหมือนจะคลานแล้ว!

การนั่งของลูกน้อย

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

กล้ามเนื้อบริเวณคอ ลำตัว และหลัง ต้องมีความพร้อม และแข็งแรง เมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 3 ส่วนพร้อมแล้วขั้นต่อไปลูกก็จะค่อยๆ ลุกขึ้นนั่งได้แล้วละค่ะ ช่วงอายุประมาณ 8-9 เดือนส่วนใหญ่ลูกก็จะนั่งได้แล้ว แต่เรื่องการนั่งสำหรับเด็กๆไม่ง่ายเลย เพราะต้องใช้ความสมดุลของร่างกาย

แรกเกิด : ลูกน้อยยังไม่สามารถนั่งได้ ส่วนลำตัวยังอ่อน ไม่สามารถเกร็งหรือทรงตัวได้

อายุ 1 เดือน : คุณแม่สามารถช่วยประคอง ลูกจะพยายามตั้งคอ 2-3 วินาที แล้วประคองให้เขานั่งหลังแบบโค้งๆค่ะ

อายุ 4 เดือน : คอของลูกเริ่มแข็งแรงขึ้น ทำให้เงยหน้าได้แล้ว ส่วนที่เป็นลำตัวด้านบนจะเริ่มตั้งตรงได้แล้ว แต่ละตัวส่วนล่างยังโค้งๆอยู่ เมื่อหลังส่วนบนตั้งได้แล้ว ลูกจะสามารถนั่งโดยไม่ต้องใช้มือช่วยยันพื้นได้แล้วค่ะ

อายุ 6 เดือน : คุณแม่สามารถเริ่มฝึกให้ลูกลองนั่งเก้าอี้ ถ้ายิ่งมีหมอนนุ่มๆ ช่วยอิงไว้พิงหลัง ลูกจะนั่งได้แบบสบายๆไม่ต้องกลัวล้มอยู่ได้ด้วยตัวเองประมาณ 2-3 วินาทีค่ะ

อายุ 9-10 เดือน : ลูกสามารถนั่งทรงตัวได้ดี และสามารถหันตัวไปมองรอบๆ เอนตัวไปข้างหน้า หรือข้างหลังก็ได้

ทารกในช่วงวัยกำลังนอน

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

ยังคงใช้เวลานอนตลอด แต่มือและเท้าจะเริ่มดิ้นไปมา มีการจ้องมองที่มือตัวเอง และเริ่มมีปฏิกิริยาต่อสิ่งของต่าง ๆ ตอนนี้ยังขับถ่ายเหลวและหลายครั้งอยู่ จึงควรเลือกผ้าอ้อมที่ช่วยปกป้องผิวจากผื่นคัน

ขับถ่ายเหลวทั้ง ๆ ที่นอนอยู่จนเลอะออกมาจากด้านหลัง!

หนูยังถ่ายเหลวอยู่เลย

การนอนกับพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยวัย 12 เดือน
เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วง 12 เดือน ลูกน้อยจะหมดพลังงานไปกับการสำรวจโลก เพราะลูกน้อยมองโลกใบใหญ่ใบนี้ เป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้และน่าสนใจมาก และด้วยความที่ลูกน้อยนั้นมีพลังงานที่เต็มเปี่ยมล้นเสียเหลือเกิน ทำให้ตอนนี้ลูกน้อยก็จะมัวแต่ลองเล่นนู่น นี่ นั่นเพื่อเป็นการสำรวจของแบบไม่เหน็ดเหนื่อย จึงป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยวัย 12  เดือนนี้มักจะไม่ค่อยอยากจะนอน หรือนอนยาก เพราะพวกลูกน้อยคิดว่าการนอนนั้นถือว่าเป็นการรบกวนการสำรวจโลกใบใหญ่ของเขาตอนนี้ และอาจจะมีอารมณ์เสียด้วย หากว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องเรียกเจ้าตัวน้อยมานอน และบ่อยครั้งที่ลูกน้อยมักจะแสดงท่าทางหรือคำพูดสั้นๆที่ปฏิเสธการนอน แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรทำตารางการนอนของลูกน้อยให้เหมาะสม ซึ่งไม่ใช่การนอนเยอะๆ แต่หมายถึงนอนให้พอดีและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการนอนหลับนั้นมีส่วนสำคัญมากสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่เรื่องนี้กับลูกน้อยให้มากขึ้นเพราะว่าการนอนนั้นถือว่าเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ เป็นช่วงเวลาของการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และเป็นช่วงเวลาของการผลิต Growth Hormones คือฮอร์โมนที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองที่แข็งแรงสมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นแล้วหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกแจ่มใสคุณพ่อคุณแม่จะต้องจัดตารางเวลาการนอนของลูกให้ดี รวมทั้งสร้างบรรยากาศการนอนที่เป็นสุขให้แก่ลูกน้อยด้วยห้องนอนที่ดีต้องไม่มีสิ่งใดๆมารบกวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงจะต้องเงียบ และความชื้นรวมไปถึงมดที่จะมากัด ขัดความสุขในช่วงเวลานอนของลูกน้อยอีกด้วยนั่นเอง

สภาพการเจริญเติบโต เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : 4 - 8 กิโลกรัม

ร่างกายโดยรวม : 
กินนมได้มาก และเริ่มอ้วนกลมแบบทารก

ตา : 
เริ่มกรอกตามองตามสิ่งของที่ขยับได้ และจะค่อย ๆ มองได้กว้างขึ้น

คอ : 
กล้ามเนื้อคอจะค่อย ๆ แข็งแรงขึ้น และเริ่มพยุงศีรษะตัวเองได้รวมถึงสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้

หลัง, สะโพก : 
นอกเหนือจากกล้ามเนื้อมือเท้าและคอแล้ว กล้ามเนื้อหลังก็มีการพัฒนาเช่นกัน เมื่อคว่ำก็จะสามารถยกคอไว้ได้อย่างมั่นคงหรือที่เรียกกันว่า “การชันคอ”

จิตใจ : 
เริ่มแสดงความรู้สึกได้มากขึ้น เช่น การจ้องมอง หัวเราะเมื่อมีคนเล่นหยอกล้อด้วย

ผิว : 
ภายในระยะ 2 เดือนหลังเกิด ทารกจะขับไขมันออกมาจำนวนมากเนื่องจากอิทธิพลด้านฮอร์โมนที่ได้รับภายในท้องคุณแม่ และทำให้ทารกมี “ผิวมัน” แต่หากไม่ได้รับอิทธิผลดังกล่าวแล้ว ทารกจะมี “ผิวแห้ง” และทำให้ทารกมีผิวหนังที่บอบบาง ไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้ และเป็นแผลได้ง่าย หากมีสิ่งสกปรก เช่น เหงื่อปริมาณมาก นม น้ำลาย ฯลฯ ตกค้างอยู่ในผิวที่แห้ง จะทำให้ผิวหยาบง่ายขึ้นจนเกิดเป็นรอยแดง ผื่นคัน ผด กลาก เป็นต้น

ดังนั้น หลังทำความสะอาดจะต้องรักษาความชุ่มชื้นด้วย

นมแม่ : 
เมื่อลูกได้ดูดนมแม่บ่อยๆ จะทำให้ดื่มนมได้ดีขึ้น เวลาให้นมก็จะค่อย ๆ เป็นเวลามากขึ้น ระยะห่างของการให้นมก็จะเปลี่ยนเป็นทุก ๆ 3 - 4 ชั่วโมง และทำให้ปริมาณในการกินนมต่อ 1 ครั้งเพิ่มขึ้นด้วย แต่อาจจะมีคุณแม่บางท่านที่เป็นกังวลว่าลูกมีปริมาณการกินนมต่อ 1 ครั้งไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม หากลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ก็ถือว่าไม่มีปัญหา!

แต่หากลูกไม่กินนมเอาแต่ดูดเล่น ขอให้เปลี่ยนเวลาให้นมเป็นครั้งละ 20 นาที และรอให้หิวก่อนจึงให้นมในครั้งต่อไป
การกินนมแบบนี้จะช่วยให้ลูกกินนมเป็นเวลา ไม่พร่ำเพรื่อมากเกินไป

การอาบน้ำ : 
ในระยะ 1 เดือนหลังเกิด ให้เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็ก และให้เปลี่ยนมาอาบในอ่างอาบน้ำที่ห้องน้ำกับคุณแม่หรือคุณพ่อ! หากอุณหภูมิในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและห้องล้างตัวต่ำเกินไป หรือน้ำร้อนเกินไป อาจจะทำให้ลูกร้องไห้ หรือบางคนจะงอแงเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ ในเวลาดังกล่าว ขอให้กอดลูกแน่น ๆ อย่างอ่อนโยน ในช่วงที่คอและสะโพกยังไม่แข็งแรง ให้คุณแม่วางลูกในท่าที่มั่นคง โดยวางไว้บนเข่าของคุณแม่หรือบนเบาะรองและอาบน้ำให้ ขอให้ล้างส่วนที่มองไม่เห็น เช่น บริเวณหลังหู, คอ, ใต้วงแขน, รอยพับที่ข้อมือและเท้า ฯลฯ ที่สกปรกจากเหงื่อไคลให้สะอาดด้วย

ดังนั้น ก่อนที่จะอาบน้ำขอให้ตรวจเช็คและปรับอุณหภูมิของห้องน้ำและน้ำอุ่นก่อน

การแต่งตัว : 
ทารกจะไวต่อความร้อนและทนต่อความหนาวได้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากขยับตัวบ่อย ดังนั้น หากรู้สึกว่า “หนาวนิดหน่อย” จะหมายถึงว่าอุณหภูมิพอดี ทารกที่เอาแต่นอนหลับก็จะเริ่มขยับแขนขา ทำให้บริเวณท้องหรือชายของเสื้อผ้าหรือชุดด้านในหลุดออก จึงควรเลือกเสื้อผ้าหรือเสื้อคลุมที่ด้านบนด้านล่างติดกันและแยกบริเวณส่วนขาออกและให้มือยื่นอยู่นอกแขนเสื้อได้ และในที่นอนก็ขอให้มีแค่เสื้อผ้าอยู่ก็พอ หลังให้นมหรือตอนที่ร้องไห้ ทารกจะมีเหงื่อออกมาก หากเอามือสอดไปที่ด้านหลังแล้วมีเหงื่อออก ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อไม่ให้เหงื่อชื้น

ดังนั้น ต้องระวังไม่สวมเสื้อผ้ามากเกินไป

1 วันของทารก : 
หากระยะเวลาการให้นมลูกเริ่มคงที่แล้ว ทารกก็จะนอนหลับได้ยาวนานขึ้น หากเริ่มชันคอแล้ว ก็ให้พาออกไปเดินเล่นข้างนอกโดยการอุ้มหรือให้นั่งรถเข็นเด็ก เป็นโอกาสให้ลูกได้สัมผัสกับธรรมชาติ ซึ่งแสงแดด ลม หรือกลิ่นของต้นไม้ต่าง ๆ ถือว่าเป็นแรงกระตุ้นที่ดี แต่ขอให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนเยอะและไม่ใช้เวลาในการเดินเล่นนาน เนื่องจากร่างกายยังไม่แข็งแรงและยังมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่ และอย่าลืมปิดม่านบังแดดในรถเข็นเด็ก สวมหมวก หรือกางร่มของคุณแม่เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตมากเกินไป

ดังนั้น ในช่วงแรกควรเดินเล่นใกล้ ๆ บ้านก่อนหากเริ่มขยับคอและพลิกตัวได้ ก็ใกล้ถึงวันที่จะนั่งได้แล้ว!

ทารกระยะแรกเกิด

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

ลองมาวิเคราะห์เกี่ยวกับช่วงเวลา “ปัจจุบัน” และ “หลังจากนี้” ของทารกกัน!

ช่วงแรกเกิดผิวของทารกแรกเกิดจะมีความละเอียดอ่อนมาก หากปล่อยให้ก้นเปียกชื้นจากปัสสาวะหรืออุจจาระเหลวก็จะทำให้เป็นผื่นได้ง่าย ดังนั้น จึงควรเลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้เร็ว และหมั่นเปลี่ยนให้บ่อย ๆ นอกจากนี้ ขอให้เปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างระมัดระวังเนื่องจากสะดือทารกยังไม่แห้งดี

ภาษาของทารก

รับมือกับอารมณ์ปรี๊ด…ของเด็กวัยเตาะแตะ

การเข้าใจภาษาทารกไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับภาษาของทารกโดยเฉพาะลูกคนแรกด้วยแล้ว ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจภาษาของลูกน้อยกันค่ะ

อายุ 0-1 เดือน 
ทารกจะนอนกลับเป็นส่วนใหญ่จึงยังไม่อาจสื่อสารอะไรได้มากนัก ช่วงวันนี้เมื่อทารกเริ่มปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวได้มากขึ้น เมื่อลูกได้ยินเสียงดังรอบข้างมักจะมีการสะดุ้งตกใจ

อายุ 2-4 เดือน
ทารกจะเริ่มส่งยิ้มกับผู้ที่มาหยอกล้อเล่นได้อย่างมีความสุข และสามารถแยกเสียงสูงต่ำได้เนื่องจากระบบการได้ยินเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น

อายุ 5-6 เดือน
เมื่อเด็กได้ยินเสียงที่ตนพอใจก็จะตื่นเต้นและส่งท่าทางเพื่อตอบสนองรับกับเสียงที่ได้ยินนั้นในระดับหนึ่ง

อายุ 7-12 เดือน
เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าใจความหมายของคำที่คุณแม่สื่อสารด้วย เช่น ปาป๊า มาม๊า จ๊ะจ๋า หม่ำๆ เป็นต้น นอกจากนี้จะสามารถรับรู้และจดจำชื่อขอตัวเองได้ รวมถึงคำต่างๆ ที่เราสื่อสารกับลูกอย่างสม่ำเสมอค่ะ

อายุ 1-2 ปี
เด็กเริ่มเรียนรู้และเข้าใจคำต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สื่อสารด้วยได้ สามารถชี้ภาพได้ 2-3 ภาพและรู้จักอวัยวะของตัวเองเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ส่วน แต่จะสามารถรับรู้ได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการสื่อสารและการกระตุ้นพัฒนาการของคุณพ่อและคุณแม่ด้วยค่ะ คุณแม่ควรหมั้นเล่นสื่อสารกับลูกบ่อยๆ ลูกจะจดจำและตอบสนองในสิ่งที่รับรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น ลองบอกให้ลูกน้อยหยิบของเล่น

 

ภาษาและการแสดงออกของทารก

ในช่วง 3 ปีแรก เด็กจะมีพัฒนาการด้านการรับรู้และแสดงออกทางด้านภาษากับคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่มในครรภ์จึงส่งผลให้สามารถตอบสนองในสิ่งที่ได้ยินมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทารกยังไม่สามารถแสดงออกได้มากเท่าการเรียนรู้และจดจำในสิ่งที่ได้ยินจากคุณพ่อคุณแม่

เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่ 6-9 เดือน เด็กจะเริ่มส่งเสียง อ้อแอ้ เป็นช่วงที่เด็กกำลังเริ่มหัดใช้ภาษาและพัฒนาการต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถพูดเป็นคำได้ในอนาคต คุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมทักษะของลูกน้อยได้โดยสื่อสารกับลูกน้อยเป็นประจำ ลูกจะจดจำและเกิดการเรียนรู้เมื่อพบว่าตัวเองมีคู่สนทนาตรงหน้า คุณแม่ควรเน้นพูดประโยคสั้นๆ ไม่ยาวเกินไป และเว้นจังหวะเพื่อให้ลูกได้ตอบสนองคุณแม่บ้างค่ะ จริงๆ แล้วคุณแม่สามารถคุยกับลูกได้ทุกเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า เวลาลูกทานข้าว คุณแม่อาจพูดคำว่า “หม่ำๆ” ลูกจะเข้าใจว่านี่เป็นเวลาทานข้าว หรือเวลาอาบน้ำ คุณแม่อาจพูดว่าอาบน้ำขณะทอดเสื้อผ้าลูกอยู่ หรืออุ้มพาเขาไปที่กระมังอาบน้ำ นอกจากนี้คุณแม่สามารถใช้ของเล่นมาเป็นตัวช่วยแสดงท่าทางประกอบเพื่อกระตุ้นการรับรู้และตอบสนองทางภาษาของคุณแม่ได้อย่างชัดเจนขึ้น แต่คุณแม่ไม่ควรพูดคำเดิมบ่อยๆ หรือให้ลูกเล่นกับของเล่นเดิมๆ เพราะเมื่อลูกรับรู้ในสิ่งนั้นจนคุ้นชิน ลูกจะไม่รู้สึกตื่นกับอะไรใหม่ๆ แล้ว คุณแม่ควรเปลี่ยนคำพูด หรือหยอกล้อเล่นด้วยท่าทางใหม่ๆ เปลี่ยนของเล่นชิ้นใหม่เพื่อเปิดโลกทัศน์และกระตุ้นการการสร้างพัฒนาการใหม่ๆ ให้ลูกรู้สึกตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เค้าอยากมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นต่อไป

การเข้าใจภาษาของทารกไม่ใช่เรื่องยากแต่ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณแม่ทั้งสิ้น หากคุณแม่สื่อสารภาษามาจากใจ เชื่อว่าลูกจะย่อมเป็นเด็กที่เรียนรู้อย่างได้อย่างฉลาดแน่นอนค่ะ

พัฒนาการของลูกน้อย เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : แรกเกิด - 5 กิโลกรัม


ร่างกายโดยรวม :

เมื่อแรกเกิด ทารกจะยังคงมีร่างกายและแขนขาเล็ก ซึ่งแตกต่างกับความคิดที่ว่าทารกจะตัวอ้วนกลมเล็กน้อย

ศีรษะ :
อาจจะมีรูปร่างเบี้ยวเล็กน้อยและมีส่วนที่ปูดออกมาศีรษะด้านบนจะมีช่องว่าง (ศีรษะด้านหน้า) ที่ไม่มีกระดูก แต่ศีรษะจะค่อย ๆ เข้ารูปและช่องว่างจะหายไปภายในช่วงอายุ 1-2 ขวบ

คอ :
มีรูปร่างเรียวเล็กและไม่แข็งแรงจะโยกเอนไปมา ไม่สามารถรับน้ำหนักศีรษะที่หนักได้

แขน :
โดยธรรมชาติ ทารกจะงอข้อศอก และกำมือทั้งสองข้างเบา ๆ อยู่ในลักษณะรูปตัว w ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับตอนที่อยู่ในท้องคุณแม่

ขา :
จะงอหัวเข่า และอ้าขาไปด้านนอก เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณต้นขายังไม่แข็งแรง ลักษณะขาที่อยู่ในรูปตัว M นี้เป็นลักษณะโดยธรรมชาติ

สะดือ :
สายสะดือจะหลุดออกเมื่อผ่านไปประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากนั้นสะดือจะยังคงเปียกอยู่ประมาณ 1 เดือน ซึ่งหากสัมผัสถูกขอบผ้าอ้อม ฯลฯอาจจะทำให้เกิดแผลและอักเสบได้

ร่างกาย :
อุณหภูมิของร่างกายจะสูงประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งทารกจะยังไม่สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายเองได้ จึงต้องช่วยควบคุณอุณหภูมิโดยการปรับระดับอุณหภูมิห้อง ใช้เครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องนอนช่วย

ผิว :
ผิวหนังของทารกจะละเอียดอ่อน บอบบาง และเป็นแผลง่ายกว่าผู้ใหญ่มาก ในช่วงแรกเกิด ทารกจะเผาผลาญพลังงานมากจึงมีเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ รวมทั้งมีการขับไขมัน (sebum) ออกมาจำนวนมาก ทำให้ต่อมไขมันอุดตัน และเกิดผื่นสีเหลือง เช่น ที่บริเวณศีรษะ คิ้ว อีกทั้งจะเกิดผดที่บริเวณใบหน้าหรือหลังคอที่มีต่อมเหงื่ออยู่มาก และอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อจากการใช้เล็บเกา ซึ่งหากมีอาการคัดจมูก จะทำให้ไม่สามารถกินนมแม่หรือนมชงได้ดี จึงขอให้ระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องนี้

ดังนั้น สิ่งที่จะนำไปสัมผัสกับผิวของทารก ขอให้เลือกสิ่งที่อ่อนนุ่มและอ่อนโยนต่อผิว

นมแม่ :
นมแม่ซึ่งมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสมนั้นถือว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เมื่อแรกเกิด ทารกจะร้องไห้ตื่นและหิวนมทุก ๆ 2 - 3 ชั่วโมงตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ขอให้ป้อนทุกครั้งที่ทารกต้องการกินนม ในช่วงแรกอาจจะกินนมได้ไม่เก่ง แต่จะค่อย ๆ ดูดหรือกลืนนมได้เก่งขึ้น ดังนั้นไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในช่วงนี้ ทารกจะมีกระเพาะอาหารที่เล็ก และหูรูดกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรง ทำให้บางครั้งอาเจียนเอานมที่กินเข้าไปออกมา

ดังนั้น ในช่วงแรกเกิดอุจจาระจะเหลว และขับถ่ายหลายครั้ง

อาบน้ำ :
แม้ว่าทารกจะนอนอยู่ในเตียงตลอดทั้งวัน แต่ก็ต้องอาบน้ำให้วันละ 1 ครั้งเพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรก เช่น เหงื่อ, ไขมัน ฯลฯ ที่เกิดจากระบบการเผาผลาญพลังงาน ในช่วงแรกเกิดที่มีภูมิต้านทานต่ำ ให้อาบน้ำโดยใช้อ่างอาบน้ำเด็ก ซึ่งทารกที่อยู่ในน้ำคร่ำในท้องคุณแม่มาโดยตลอดจะชื่นชอบการอาบน้ำมาก หากอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นแม้เพียงไม่กี่นาที ร่างกายก็จะอุ่นขึ้น ทำให้อารมณ์ดี และมีการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ดูเหมือนว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดี

ดังนั้น หลังการอาบน้ำทารกจะกินนมได้มากและนอนหลับสบาย

การแต่งตัว :
ทารกแค่เพียงกินนมหรือร้องไห้ ก็จะมีเหงื่อออกมาก ดังนั้นต้องเตรียมเสื้อผ้าที่ช่วยซับเหงื่อดังกล่าวไว้ให้มากพอ เนื่องจากใน 1 วันต้องเปลี่ยนหลายตัว ซึ่งในช่วงนี้ คอและกระดูกสันหลังของทารกยังไม่แข็งแรง จึงควรเลือกชุดด้านในหรือเสื้อผ้าแบบกิโมโนที่นำเสื้อด้านซ้ายและขวามาซ้อนทับกันด้านหน้าและผูกด้วยเชือกที่สามารถเปลี่ยนได้ทั้ง ๆ ที่ลูกนอนอยู่ ซึ่งผิวของทารกบอบบางและละเอียดอ่อนมาก หากปกหรือชายเสื้อเสียดสีกับผิว อาจจะทำให้มีอาการบวมแดงที่ผิวได้

ดังนั้น ชุดด้านในหรือเสื้อผ้าของช่วงแรกเกิดจึงควรเป็นชุดเรียบ ๆ

1 วันของทารก :
ทารกที่เกิดมาไม่นาน จะกินนมและนอน ตื่นเมื่อหิว กินและนอนต่อซ้ำ ๆ แบบนี้ตลอดทั้งวัน กล่าวกันว่าใน 1 วันจะนอนประมาณ 10 -20 ชั่วโมง ทารกจะนอนหลับไม่ลึกและนอนได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนั้นทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกหิว จะลืมตาตื่นขึ้น ร้องไห้แสดงความต้องการต่อคุณแม่ว่าอยากกินนม

ดังนั้น จากการได้สัมผัสใกล้ชิดกับคุณแม่เช่นนี้จะทำให้สายสัมพันธ์ลึกซื้งยิ่งขึ้น

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์

เคล็ดลับคุณแม่ที่เกี่ยวข้อง