Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

เมื่อสัญญาณของการตั้งครรภ์ครบ 9 เดือน หรือในทางการแพทย์จะนับอายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดอยู่ที่อายุครรภ์ระหว่าง 37 - 41 สัปดาห์ ลูกน้อยพร้อมที่จะลืมตาออกมาดูโลกภายนอก พร้อมที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใหม่ ๆ ที่อยู่รอบตัว ดังนั้นสิ่งที่คุณแม่มือใหม่หรือคุณแม่ที่เคยผ่านการมีลูกมาแล้ว ควรให้ความสำคัญและการดูแลเอาใจใส่ลูกน้อยในช่วงแรกเกิด เพื่อให้เขาเจริญเติบโตสมวัยนั่นเอง

การนวดสัมผัสทารกแรกเกิด

การนวดสัมผัสเป็นวิธีที่ดีมากในการช่วยให้ลูกน้อยแรกเกิดของคุณผ่อนคลาย อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ทางใจระหว่างคุณกับลูก ทารกแทบทุกคนล้วนต้องการการดูแลเอาใจใส่ อย่ากังวลใจว่าคุณนวดสัมผัสลูกได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ควรเชื่อในสัญชาตญาณของความเป็นแม่ เริ่มต้นด้วยการนวดเบาๆอย่างอ่อนโยนและลูกจะแสดงอาการให้คุณทราบทันทีเมื่อรู้สึกไม่สบายตัว ส่วนใหญ่ลูกมักจะผลอยหลับไประหว่างการนวดหรือทันทีที่นวดเสร็จแล้ว จึงเหมาะสมที่จะนวดสัมผัสให้ลูกก่อนเวลานอนหรือหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ หากคุณแม่ใช้น้ำมันทาตัวลูกก่อนนวด อย่าลืมว่าลูกอาจเผลอดูดกลืนน้ำมันนั้นเข้าไปได้ ดังนั้นจึงควรใช้แต่น้ำมันบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ซึ่งปลอดภัยและอ่อนโยนสำหรับผิวทารกและที่สำคัญ เป็นน้ำมันที่ใช้รับประทานได้

พฤติกรรมของเด็กทารกวัย 1 เดือน

ทารกวัย 1 เดือนจะเริ่มมีพฤติกรรมตอบสนองต่อการอุ้มของพ่อและแม่

ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า เมื่อแม่อุ้ม การขยับแขนขา การแสดงสีหน้าของทารกจะดูนุ่มนวล เหมือนรอคอยให้แม่เห่กล่อม แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นพ่ออุ้ม

สีหน้าและการขยับแขนขาจะเปลี่ยนไปเป็นแบบแข็งๆขืนๆ เหมือนกับรู้ว่า

ถ้าพ่ออุ้มจะมีการหยอก เล่น ลูกเริ่มเรียนรู้ว่าพ่ออุ้มไม่เหมือนแม่ พฤติกรรมนี้แสดงให้เห็นว่าทารกเล็กๆ ก็เริ่มมีการพัฒนาของสมองส่วนความจำแล้ว

เมื่อทารกอายุครบเดือน แต่ละคนจะแสดงลักษณะเฉพาะตัวให้เห็นมากขึ้น เช่น เป็นเด็กที่ร้องแล้วปลอบให้หยุดยาก หรือเป็นเด็กที่กินแล้วเอาแต่นอน พ่อแม่ที่ใกล้ชิดลูกจะสังเกตและตอบสนองลูกได้ตามลักษณะของลูก แต่โดยทั่วไปแล้วทารกที่ครบเดือนส่วนใหญ่จะร้องไห้มากขึ้นกว่าช่วงที่เพิ่ง
แรกเกิด ทั้งนี้เพราะระบบประสาทมีความสมบูรณ์ขึ้น รู้ร้อนรู้หนาวมากขึ้น 
แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กโยเยงอแงน้อยลงคือ การที่ทำให้เขารู้สึกสบายตัว อากาศถ่ายเท ไม่เหนอะหนะ รู้สึกแห้งสบาย ก็จะทำให้ลูกน้อยอารมณ์ดีได้ทั้งวันเลยค่ะ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Israpahp Nooduang

กระเพาะของทารก วันที่ 1-10

ภาพนี้แสดงขนาดโดยเฉลี่ยของกระเพาะทารก และปริมาณน้ำนมที่สามารถรับได้หลังคลอด จากภาพนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมน้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนม ซึ่งมีปริมาณไม่มาก สามารถทำให้ทารกแรกคลอดอิ่มได้

ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังพบอีกว่าในวันที่ 1 กระเพาะเล็ก ๆ ของทารกไม่มีความยืดหยุ่นมากเท่ากับวันถัดมา

พยาบาลจำนวนมากมายได้เรียนรู้เรื่องนี้ด้วยวิธีที่ไม่ค่อยโสภาเท่าไร คือวันแรกที่พยาบาลป้อนนมขวดแค่หนึ่งหรือสองออนซ์ ทารกจะอาเจียนนมส่วนใหญ่ออกมา ผนังของกระเพาะทารกแรกคลอดยังมีกล้ามเนื้อที่กระชับแน่น จึงดันน้ำนมส่วนเกินออกมา แทนที่จะขยายออกเพื่อรองรับปริมาณน้ำนม

- ในวันที่ 1 กระเพาะของทารกสามารถรับน้ำนมได้ประมาณ 1/6 ถึง 1/4 ออนซ์ (5-7 มล.) ต่อการกินนมหนึ่งครั้ง ซึ่งก็ไม่น่าประหลาดใจเลยว่า น้ำนมเหลืองในเต้านมของแม่ก็จะมีปริมาณเท่านี้เช่นกัน

- เมื่อถึงวันที่ 3 ทารกได้กินนมปริมาณน้อย ๆ เป็นเวลาหลาย ๆ ครั้งแล้ว กระเพาะก็จะขยายขึ้นจนมีขนาดเท่ากับลูกปิงปอง

- เมื่อถึงวันที่ 10 จะมีขนาดเท่า ๆ กับไข่ไก่ฟองใหญ่

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยว่า ถ้าจะเพิ่มปริมาณนมทุกครั้งที่ให้ทารกกิน เพื่อขยายกระเพาะได้เร็วขึ้นทำได้หรือไม่ ตอบเลยว่าเป็นความคิดที่ผิดนะคะ เพราะถือว่าเป็นการสร้างนิสัยการกินที่ผิดให้กับเด็ก และอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้

Tips : ทารกในช่วงวัยนี้จะถ่ายวันละ 3-4 ครั้ง และถือว่าผิวบริเวณก้นยังคงมีความบอบบาง ผ้าอ้อมที่เลือกใช้ควรมีความนุ่ม และสามารถซึมซับได้ดี

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก breastfeedingthai.com

พัฒนาการทางสังคมของเด็กแรกเกิด-6เดือน

เจ้าตัวเล็กที่อยู่ในช่วงแรกเกิด-6เดือน ถือว่าเป็นวัยที่ลูกเริ่มเรียนรู้ในการมองตาม ฟังตาม หรือเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อและแม่เสมอ คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนเขาให้รู้จักเข้าสังคมได้ โดยเริ่มจากอุ้มเขาไว้ ชวนคุย และโต้ตอบหยอกล้อด้วยภาษาและท่าทาง และเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะกอดเขา ให้อ้าแขนรอไว้ก่อน เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าเรากำลังจะกอด และลูกจะรู้จักการเลียนแบบท่าทาง

ช่วงที่ลูกน้อยอายุ 4-6 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มมองและจดจำคนได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกทำความคุ้นเคยกับคนและสิ่งแวดล้อมก่อนอายุ 6 เดือน พยายามสบตาและยิ้มให้ลูกบ่อยๆทั้งในเวลาปกติ และเวลาป้อนนม เด็กจะเรียนรู้การยิ้มตอบ และแสดงอารมณ์มีความสุขเมื่อมีใครมาเล่นด้วย อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการทำให้ลูกน้อยรู้สึกแห้งสบายตัว เพื่อที่จะให้เขาสามารถเล่นและหัวเราะได้อย่างไม่มีอุปสรรคค่ะ เมื่อลูกน้อยรู้สึกสบายตัวแล้ว โตขึ้นมาเขาจะเป็นเด็กอารมณ์ดี เข้ากับคนอื่นง่ายถึงแม้จะยังพูดไม่ได้ แต่การที่ลูกหัวเราะ เพียงเท่านี้ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกแฮปปี้ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ

ผู้ช่วยที่จะทำให้เจ้าตัวเล็กแฮปปี้ได้ทั้งวัน

พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารก

เมื่ออายุ 1 เดือนลูกจะมีพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วนได้ อวัยวะส่วนแรกที่จะมีการเคลื่อนไหวคือการใช้กล้ามเนื้อคอ ชันคอขึ้นในท่านอนคว่ำโดยใช้ส่วนท้องพยุงไว้ ท่านี้จะเป็นท่าแรกของเด็กทารกทุกคนที่เห็นได้ชัดว่าเด็กเริ่มมีพัฒนาการการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นปกติตามวัย พอ 2 เดือน ลูกจะชันคอเองได้นานขึ้นในท่าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ท่านอนคว่ำที่ต้องใช้ท้องพยุงไว้ตลอดเวลา อายุได้ 5 เดือน เด็กจะตื่นตาตื่นใจสนุกไปกับการเล่นขยับนิ้วมือนิ้วเท้าตัวเองและเริ่มพลิกตัวกลับไปกลับมา เริ่มคลานได้เมื่ออายุประมาณ 6- 8 เดือน เด็กส่วนมากจะเริ่มหัดเดินเมื่ออายุได้ประมาณ 12 เดือน และจะเดินเตาะแตะ ๆ ไปรอบ ๆ ไม่หยุดถ้าไม่มีใครมาอุ้มไว้

แล้วลูกน้อยมามี่โพโคตอนอายุ 1 เดือน มีพัฒนาการอย่างไรกันบ้างน้า….

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ HumNoy Nattawut

เสริมพัฒนาการเด็กทารก

คุณแม่ทราบไหมคะว่า แม้ลูกน้อยยังอยู่ในช่วงทารก คุณแม่ก็สามารถเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยได้เลยนะคะ

1. สองภาพที่แตกต่าง 
ถือรูปภาพ 2 รูป ที่คล้ายกันให้ลูกมอง โดยวางให้ห่างจากใบหน้าของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เช่น ภาพรูปบ้านที่เหมือนกันทั้งสองรูป แต่อีกรูปหนึ่งมีต้นไม้ต้นใหญ่อยู่ข้างบ้าน แม้ยังเป็นเด็กทารกแต่เขาสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างนี้ได้ เป็นการสร้างความจำที่จะเป็นพื้นฐานในการจดจำตัวอักษรและการอ่านสำหรับลูกต่อไป


2. กระจกเงาวิเศษ
ทารกน้อยเกือบทุกคนชอบส่องกระจก เขาจะสนุกที่ได้เห็นเงาของตัวเองในกระจกโบกมือหรือยิ้มแย้มหัวเราะตอบออกมาทุกครั้ง


3. ชมวิวด้วยกัน
พาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และบรรยายสิ่งที่เห็นให้ลูกฟัง เช่น โอ้โหต้นไม้ต้นนี้มีนกเกาะอยู่เต็มเลย ดูสิลูกบนนั้นมีนกด้วย การบรรยายสิ่งแวดล้อมให้ลูกฟังสร้างโอกาสการเรียนรู้คำศัพท์ให้กับลูก


4. เสียงประหลาด
ทำเสียงเป็นสัตว์ประหลาด คุ๊กคู ๆ หรือทำเสียงสูง ๆ เลียนแบบเสียงเวลาที่เด็ก ๆ พูด ทารกน้อยจะพยายามปรับการรับฟังเสียงให้เข้ากับเสียงต่าง ๆ จากพ่อแม่

ขอบคุณรูปภาพจากคุณ วริทธิ์นันท์ รอดบรรจบ‎

วิธีเล่นกับทารก

“การเล่น” กับทารก นอกจากจะเพิ่มความสนุกสนาน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างในครอบครัวได้นั้น

ยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับทารกได้อีกด้วยนะคะ แต่สิ่งที่ควรคำนึงในการเล่นกับทารก คือพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเขา ว่าเราควรจะเสริมสร้างพัฒนาการในส่วนใด และควรเล่นแบบไหน

เรามาดูพัฒนาการแต่ละช่วงวัย และการเล่นที่เหมาะสมกับลูกน้อยกันค่ะ

-อายุแรกเกิด - 3 เดือน เด็กในช่วงอายุนี้จะสามารถมองเห็นได้ในระยะที่ไกลขึ้นมาอีกนิด จากช่วงแรกเกิดที่สามารถมองเห็นได้แบบระยะใกล้ๆ “ของเล่น” ในช่วงวัยนี้ควรใช้ของเล่นที่ช่วยฝึกสายตาดวงน้อยๆ ของลูก โดยพ่อแม่อาจจะใช้โมบายรูปทรงต่างๆ ที่สามารถเคลื่อนไหวได้แขวนอยู่บนศีรษะเหนือเปลนอนของลูก เพราะในขณะที่ลูกนอนกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่ภายในเปลจะได้ใช้สายตามองโมบายที่ค่อยๆ เคลื่อนไหว หรืออาจจะมีเสียงดนตรีเบาๆ เพื่อช่วยฝึกการใช้สายตา และฟังเสียงไปด้วย


-อายุ 4 – 6 เดือน เด็กวัยนี้สามารถใช้มือหยิบจิบของใกล้ๆ มือได้บ้างแล้ว ถึงแม้จะยังไม่ค่อยคล่องนัก และที่สำคัญชอบนำของที่หยิบติดมือมานำมาเข้าปากเสียด้วยซิ ดังนั้นจึงพ่อแม่จึงต้องระวังอย่างมาก ไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่นที่มีชิ้นเล็กเกินไปหรือดูจากข้างกล่องผลิตภัณฑ์ที่บอกอายุที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้อาจจะใช้ลูกบอลผ้าที่มีเสียงเบาๆ เวลาเขย่า มีน้ำหนักเบาไว้ให้ลูกลองเล่นหยิบจับ หรือบีบๆ เล่น ก็จะช่วยเสริมพัฒนาการที่ดีได้ไม่ยาก


-อายุ 6 – 12 เดือน เด็กวัยนี้จะสามารถใช้มือ และสายตาได้ดีขึ้น และจะเริ่มชอบสำรวจรวมถึงสามารถหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้คล่องขึ้นแล้ว ของเล่นที่เหมาะกับเขา หากมีปุ่มกดๆ แล้วเกิดเสียง ให้เขาเขย่า จะเป็นการกระตุ้นความสนใจของเขาได้ดี รวมถึงการฝึกกล้ามเนื้อมือไปในตัว แต่ระวังในเรื่องการขว้างของเล่น ด้วยเขาจะเริ่มมีแรงมากขึ้นแถมยังสนุกกับการขว้างของเล่นด้วยซิ พ่อแม่จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดในการเล่นกับลูกวัยนี้ หรืออาจหาของเล่นรูปสัตว์ต่างๆ มาดึงดูดความสนใจ มีเสียงเวลาบีบ รับรองว่าลูกจะสนุกและมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีได้อย่างแน่นอน


-อายุ 6 – 12 เดือน เด็กวัยนี้จะสามารถใช้มือ และสายตาได้ดีขึ้น และจะเริ่มชอบสำรวจรวมถึงสามารถหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้คล่องขึ้นแล้ว ของเล่นที่เหมาะกับเขา หากมีปุ่มกดๆ แล้วเกิดเสียง ให้เขาเขย่า จะเป็นการกระตุ้นความสนใจของเขาได้ดี รวมถึงการฝึกกล้ามเนื้อมือไปในตัว แต่ระวังในเรื่องการขว้างของเล่น ด้วยเขาจะเริ่มมีแรงมากขึ้นแถมยังสนุกกับการขว้างของเล่นด้วยซิ พ่อแม่จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดในการเล่นกับลูกวัยนี้ หรืออาจหาของเล่นรูปสัตว์ต่างๆ มาดึงดูดความสนใจ มีเสียงเวลาบีบ รับรองว่าลูกจะสนุกและมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีได้อย่างแน่นอน

ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Nipa Hapanna‎

เรื่องน่ารู้เด็กทารก

สำหรับพ่อแม่มือใหม่บางท่าน อาจจะเริ่มต้นการเลี้ยงดูทารกด้วยความสับสน เพราะยังไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก วันนี้มามี่โพโคมี 5 เรื่องเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดที่พ่อแม่ทุกคนต้องรู้มากฝากกันค่ะ

1. เด็กแรกเกิดจะทานนมแม่ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หากขณะให้นมคุณแม่ไม่ทราบจริงๆว่าลูกทานอิ่มแล้วหรือยัง เด็กทารกจะเบนหน้าออกจากหน้าอกเมื่ออิ่ม หรือสามารถสังเกตได้จากการปริมาณอุจจาระหรือปัสสาวะ ใน 24 ชั่วโมง ลูกต้องอุจจาระ 2 ครั้ง โดย 1 ครั้งต้องมีพื้นที่เท่ากับแกนกระดาษทิชชู่

ถ้ามีการอุจจาระ 2 ครั้ง แสดงว่าทารกได้ทานนมเพียงพอแล้ว แต่ถ้าอุจจาระถึง 4 ครั้งแสดงว่าได้รับนมมากเกินไป (Over Feeding)


2. เด็กแรกเกิดมักต้องการทานนมทุก 2-3 ชั่วโมง ทำให้ไม่สามารถนอนเป็นระยะเวลานานได้ ทารกจะสามารถนอนได้นานๆมากกว่า 6 ชั่วโมง หลังจากมีอายุ 3 เดือนไปแล้ว


3. ต้องเช็ดสายสะดือลูกให้แรกหลังอาบน้ำเสร็จ โดยเฉพาะบริเวณใต้สะดือ เพื่อไม่ให้น้ำขัง แล้วใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดสะดือลูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และควรปล่อยให้สายสะดือหลุดไปเองตามธรรมชาติ


4. เด็กแรกเกิดในช่วงแรกอาจมีผิวนุ่ม แต่หลังจากนั้นอาจมีอาการผิวแห้งหรือผิวลอก ไม่มีอะไรที่น่ากังวล อาจจะใช้ครีมและโลชั่นสำหรับเด็กทารกทาให้ก็ได้


5. เรื่องสุขอนามัยและเรื่องความสะอาดถือเป็นเรืองสำคัญ อย่าพาลูกออกไปเผชิญแสงแดด คนป่วย และฝูงชน และล้างมือก่อนสัมผัสตัวลูกทุกครั้ง

ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ บาส คับ

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์

เคล็ดลับคุณแม่ที่เกี่ยวข้อง