การนอนของทารก
การนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กทารกแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย เพราะการนอนหลับส่งผลถึงการเจริญเติบโต โดยในขณะที่นอนหลับจะมีฮอร์โมนออกมากระตุ้นให้ร่างกายและสมองเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีพฤติกรรมการนอนที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน
ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยตื่นขึ้นมาตอนดึก
การนอนหลับของทารกเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญา การส่งเสริมให้ทารกได้นอนหลับสนิทตลอดคืนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับทารก ซึ่งทารกแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทารกส่วนใหญ่มักจะหลับได้นานขึ้นในช่วงตอนกลางคืนเมื่ออายุเกิน 4-6 เดือน ไปแล้วค่ะ แต่หากลูกน้อยมักตื่นบ่อยในตอนกลางคืน หรือบางรายที่เคยนอนหลับยาว ตอนกลางคืนแล้วมาตื่นร้องไห้บ่อยๆ อาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้
- ปวดฟันเวลาฟันขึ้น แก้ไขโดยให้ยาแก้ปวดหรือทาเจลแก้ปวด
- ฝันร้ายจากการเล่นมากในช่วงเย็นหรือก่อนนอน วิธีแก้คืออย่าให้ลูกเหนื่อยเกินไป ควรจัดเวลานอนกลางวันให้เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป และช่วงก่อนนอนให้ทำกิจกรรมที่ไม่โลดโผนตื่นเต้น
- นวดสัมผัส ด้วยโลชั่นกลิ่นลาเวนเดอร์จะช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับฝันดีค่ะ
- พาลูกเข้านอนตรงเวลาและวางแพลนที่แน่นอน เช่น อาบน้ำเสร็จ ใส่ชุดนอน ดื่มนม แปรงฟัน ฟังนิทาน หอมแก้ม บอกราตรีสวัสดิ์และปิดไฟนอน และให้ลูกนอนเอง อย่าอุ้มลูกจนหลับ ถึงแม้ลูกจะไม่นอนทันทีก็ปล่อยให้ลูกอยู่บนเตียงคนเดียวไปเรื่อยๆ ถ้าลูกร้องไห้ไม่ต้องอุ้ม แต่คุณพ่อคุณแม่คอยอยู่ข้างๆ ได้ ลูกน้อยอาจร้องไห้นานถึง 1-2 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ
- • ลูกอาจไม่สบาย เช่น เป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ทำให้คัดจมูก หายใจไม่ออก หรือ คันมากตามผิวหนัง ทำให้นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อยๆ วิธีแก้ไขโดยให้ยาที่ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้
- • กินนมไม่พอ ให้ดูจำนวนครั้งที่ลูกปัสสาวะ ถ้าได้ 6 ครั้ง/วัน แปลว่าได้นมในปริมาณที่เพียงพอ และถ้าลูกตื่นขึ้นมาดูดนมแป๊บเดียวแล้วก็หลับต่อได้แสดงว่าลูกไม่ได้หิวนม คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุที่ทำให้ลูกตื่น เพื่อไม่ให้ใช้การดูดนมเป็นตัวกล่อมให้ลูกนอนหลับค่ะ
- สำรวจดูว่าผ้าอ้อมที่สวมใส่เลอะหรือลูกถูกรัดพันด้วยผ้าห่มแน่นไปหรือไม่ ลูกน้อยอาจไม่สบายตัวหรือขยับตัวไม่ได้เพราะห่มตัวแน่นเกินไปจึงนอนไม่หลับ ถ้าใช่ ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือคลายผ้าห่มออก โดยไม่ต้องเปิดไฟสว่างจ้า ลูกน้อยจะได้หลับต่อค่ะ
- เตียงนอนของลูกมีอุณหภูมิห้องไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว สังเกตว่าลูกชอบห้องที่มือสนิทหรือมีแสงไฟสลัว เสียงไม่ดังหนวกหู แต่เสียงหึ่งเบาๆ อาจจะเป็นที่ต้องการของลูก เพื่อไม่ให้รู้สึกวังเวงเกินไป เช่น พัดลม หรือเสียงนาฬิกาเดิน และอย่าลุกหาลูกน้อยทันทีที่ลูกส่งเสียงอืออากึ่งหลับกึ่งตื่นเพราะอาจทำให้ลูกตื่นนอนได้ค่ะ
มารู้จักการนอนของลูกน้อยกันค่ะ
ทารกแต่ละคนมีนิสัยแตกต่างกันออกไป และมีธรรมชาติการนอนที่ต่างกัน เช่นเด็กนอนไม่นานแต่นอนบ่อย เป็นเด็กตื่นเช้า หรือเป็นเด็กตื่นง่าย เป็นต้น
ทารกส่วนใหญ่จะนอนหลับครั้งละสั้นๆ ประมาณ 3-4 ชั่วโมง จนกระทั่ง 9-10 เดือน จึงจะนอนได้ยาวกว่านี้ แต่ถ้าลูกน้อยคนไหนมีลักษณะการนอนที่ต่างจากนี้
คุณพ่อคุณแม่อาจต้องปรับการนอนของลูกให้สมดุลค่ะ ซึ่งลักษณะการนอนของทารกจะแบ่งเป็น 4 แบบ
- งีบแบบแมว
เด็กที่นอนบ่อยๆ ครั้งละสั้นๆ จะตื่นได้นาน 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมง จึงจะถึงเวลาหลับครั้งต่อไป เพื่อให้ลูกนอนหลับเป็นเวลามากขึ้น อาจใช้วิธีปลุกลูกให้ตื่นในตอนเช้าเวลาเดียวกันทุกวัน เช่นปลูกทุก 7 โมงเช้าทุกวัน และพยายามให้ลูกนอนหลับครั้งต่อไปในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ควรให้ลูกนอนเป็นเวลาในแต่ละวัน
- ตื่นแต่เช้า
ถ้าคุณพ่อคุณแม่พาลูกเข้านอนตอน 6 โมงเย็น หรือ 1 ทุ่ม เป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกจะตื่นเช้ามาก คุณพ่อคุณแม่ลองนำลูกเข้าน้อยช้ากว่านั้นประมาณ 15-30 นาที อาจช่วยให้ลูกตื่นสายได้บ้าง แต่ถ้ายังไม่ช่วยอะไรแสดงว่าลูกเป็นที่ตื่นเช้าโดยธรรมชาติหรือให้เทคนิคทำราวกับว่านี่คือการตื่นมาตอนกลางคืน โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเปิดไฟให้สว่างและพยายามกล่อมให้ลูกหลับต่ออีกสักพัก
- ตื่นง่าย
สำหรับเด็กน้อยที่ตื่นตัวได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะหลับต่อไปด้วยตนเอง ไม่ควรเข้าไปโอ๋ลูกหรืออุ้มลูกขึ้นมาทันที และสำหรับเด็กที่ตื่นง่ายควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ลูกนอนหลับได้ลึก ห้องนอนลูกควรมืดสนิท อุณหภูมิห้องที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป อาจลองใช้เสียงเพลงบรรเลงเบาๆ เพื่อกล่อมลูกและใช้เป็นเสียงเพื่อป้องกันเสียงดังรบกวนจากภายนอก
- นอนยาก
เด็กบางคนนอนยากมาก ไม่ยอมนอนหลับบนที่นอนของตัวเอง หลับไม่เป็นเวลา หรือหลับในเวลาที่ไม่ควรหลับ ส่วนใหญ่เกิดจากคุณพ่อคุณแม่สร้างเงื่อนไขการนอนหลับตั้งแต่แรก เช่นจะต้องอุ้มลูกโยกไปมาทุกครั้งเพื่อให้นอนหลับ ลูกน้อยจะจดจำได้ว่าต้องอุ้มเท่านั้นจึงจะหลับ ส่งผลให้นูกน้อยหลับได้ยาก
ถ้าอยากให้ลูกหลับได้ง่ายขึ้นอาจต้องใช้ตัวช่วย เช่น ของเล่นชิ้นโปรด ตุ๊กตาตัวโปรด วางไว้ในที่นอนเพื่อให้ลูกนอนหลับในที่นอนของตัวเองได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันเด็กบางคนนอนหลับที่อื่นไม่ได้เลยนอกจากที่นอนตัวเอง ซึ่งอาจเป็นปัญหาเมื่อต้องเดินทางไปพักที่อื่น เพื่อฝึกให้ลูกมีความยืดหยุ่นในการนอน ก่อนเดินทางสัก 1 สัปดาห์ อาจจะมี 1-2 วันที่ให้ลูกงีบหลับช่วงเช้ายาวหน่อย แล้วไม่ต้องนอนหลับในช่วงบ่าย หรือถ้าจะเป็นต้องออกไปข้างนอก และไม่อยากให้ลูกหลับบนรถจนผิดเวลานอน แล้วกลับมาที่บ้านไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่อาจจะพยายามกระตุ้นให้ลูกตื่นด้วยการพูดเล่นกับลูก ร้องเพลง หรือเปิดซีดีเพลงสนุกๆ ให้ลูกฟังแล้วค่อยให้กลับมานอนสบายที่บ้านค่ะ
ท่านอนสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนแรก
ท่านอนของลูกน้อยวัย 6 เดือนแรกนี้สำคัญมาก เพราะการให้ลูกนอนได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของแต่ละช่วงจึงสำคัญ และคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจลูกน้อยอย่างใกล้ชิดนะคะ
ช่วงแรกเกิดถึง 3 เดือน นอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้ ขณะที่การนอนคว่ำเสี่ยงกับโรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก
อายุ 4-6 เดือน เหมาะกับการนอนคว่ำ ด้วยกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้ลูกสามารถชันคอและยกศีรษะได้ แต่ควรมีที่นอนและหมอนที่ไม่นุ่มนิ่มจนเกินไป เพื่อไม่ให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ
อายุ 6 เดือนขึ้นไป กล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงแล้ว แถมยังสามารถพลิกตัวได้ด้วยค่ะ เหมาะกับท่านอนหลายแบบ อาจจะเป็นการนอนตะแคง นอนหงาย กึ่งนั่งกึ่งนอน หรือนอนคว่ำก็ได้
ท่านอนสัมพันธ์กับพัฒนาการของลูกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามแบบนี้ จึงควรจัดท่าให้เหมาะกับวัยลูกนะคะ ที่สำคัญ ควรเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดอากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัยกับลูกค่ะ
4 สไตล์การนอนของเบ๋บี๋ กับเทคนิคการแก้ที่ได้ผลจริง ! (ตอนที่1)
คุณแม่หลายท่านคงทราบดีว่า สิ่งที่จะเป็นตัวช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างดี คือการนอนหลับ แต่ว่าเด็กแต่ละคนก็มีปัญหาการนอนหลับที่ไม่เหมือนกัน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการนอนหลับแต่ละประเภท และการแก้ไขกันดีกว่าค่ะ
1. งีบแบบแมว
เด็กบางคนนอนแค่สั้นๆ ประมาณครั้งละ 30-45 นาที นอกจากนอนไม่นานแล้ว เวลาในการหลับแต่ละครั้งก็ไม่แน่นอน สั้นยาวไม่เท่ากัน
วิธีแก้ : เด็กที่นอนบ่อยๆครั้งละสั้นๆ จะตื่นได้นานประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง - 2 ชั่วโมงจึงจะถึงเวลาหลับครั้งต่อไป เพื่อให้ลูกนอนหลับเป็นเวลามากขึ้น อาจใช้วิธีปลุกให้ตื่นในตอนเช้าเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น ปลุกตอน 7 โมงเช้าทุกวัน และพยายามให้ลูกนอนหลับครั้งต่อไป ในอีกสองชั่วโมงถัดไป พยายามให้ลูกนอนเป็นเวลาในแต่ละวัน เทคนิคสำคัญคือ เอาลูกเข้านอนโดยไม่ต้องรอให้ลูกง่วง เนื่องจากส่วนใหญ่ทารกจะเหนื่อยและอยากงีบหลับก่อนที่จะส่งสัญญาณต่างๆออกมาอยู่แล้ว
2. ตื่นแต่เช้า
เด็กบางคนนอนได้ยาวตลอดคืน แต่ตื่นเช้ามาก เช่น ตื่นมาตอนตี 4 หรือตี 5 จนบางครั้งคุณพ่อคุณแม่เหนื่อยไปตามๆกัน
วิธีแก้ : ถ้าคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยเข้านอนตอน 6 โมงเย็นหรือ 1 ทุ่ม เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับลูกน้อยที่จะตื่นขึ้นมาตอนตี 5 หรือ 6 โมงเช้า หากอยากให้ลูกตื่นสายขึ้น ลองพาลูกเข้านอนช้ากว่าเดิมสัก 15-30 นาที อาจช่วยให้ลูกตื่นสายขึ้นได้บ้าง แต่ถ้ายังไม่ช่วยอะไร แสดงว่าลูกเป็นเด็กที่ตื่นเช้าโดยธรรมชาติ หรืออาจะใช้เทคนิคทำราวกับว่า นี่คือการตื่นมาตอนกลางคืน คือคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเปิดไฟให้สว่างและพยายามกล่อมให้ลูกหลับต่ออีกสักพัก
4 สไตล์การนอนของเบ๋บี๋ กับเทคนิคการแก้ที่ได้ผลจริง ! (ตอนที่2)
3. ตื่นง่าย
เด็กน้อยบางคนไม่มีปัญหาในการหลับ แต่รู้สึกตัวและตื่นง่ายมาก แม้กระทั่งเสียงคุณแม่ทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆที่ไม่ได้ดังมาก เสียงแตรรถยนต์ หรือแสงที่ส่องเข้ามาในที่นอนเพีนงเล็กน้อยก็ทำให้ลูกตื่นได้แล้ว
วิธีแก้ : ปกติเด็กทารกมักจะรู้สึกตัวตื่นสั้นๆไม่กี่นาทีระหว่างที่นอนหลับ แล้วสามารถหลับต่อได้เอง แต่สำหรับเด็กน้อยที่รู้สึกตัวตื่นได้ง่ายมาก คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะหลับต่อไปด้วยตนเอว ไม่ควรเข้าไปโอ๋หรืออุ้มทันที และสำหรับเด็กตื่นง่าย ควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ลูกนอนหลับได้ลึก ห้องนอนลูกควรมืดสนิท อุณภูมิอบอุ่นพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือไม่หนาวจนเกินไป อาจลองใช้เสียงเพลงเบาๆเพื่อกล่อมลูก และใช้เป็นเสียงเพื่อป้องกันเสียงดังรบกวนจากภายนอก
4. นอนยาก
เด็กบางคนนอนหลับยากมาก ไม่ยอมนอนบนที่นอนของตัวเอง นอนหลับไม่เป็นเวลา และจะไปนอนหลับบนคาร์ซีทหรือหลับในเวลาที่ไม่ควรหลับ เด็กหลับยากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากคุณพ่อคุณแม่สร้างเงื่อนไขในการนอนตั้งแต่แรก เช่น ต้องอุ้มโยกไปมาทุกครั้งเพื่อนอนหลับ ทำให้เด็กเกิดการจดจำ
วิธีแก้ : ต้องใช้ตัวช่วย เช่น ของเล่นที่ลูกชอบ ตุ๊กตาตัวโปรด หรือเสื้อยืดตัวเก่าของคุณแม่วางไว้ในที่นอน เพื่อให้ลูกนอนหลับในที่นอนของตนเองได้ง่ายขึ้น ในขณะที่เด็กบางคนอาจหลับได้ง่ายที่บ้าน แต่เมื่อต้องออกไปนอกบ้าน กลับไม่สามารถหลับได้เลย เพื่อฝึกให้ลูกมีความยืดหยุ่นในการหลับ ก่อนเดินทางประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจจะมี 1-2 วันที่ให้ลูกงีบหลับช่วงเช้ายาวหน่อย แล้วไม่ต้องนอนหลับในช่วงบ่าย หรือถ้าจำเป็นต้องออกข้างนอก และไม่อยากให้ลูกหลับบนรถจนผิดเวลาแล้วกลับมาไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกตื่นด้วยการพูดคุย ร้องเพลง หรือเปิดซีดีสนุกๆ แล้วค่อยกลับมากล่อมให้หลับที่บ้านค่ะ
ฝึกลูกวัย 1 ขวบนอนให้เป็นเวลา
การนอนยากหรือไม่ยอมนอนเป็นปัญหาใหญ่ของลูกวัยนี้ แถมยังชอบตื่นตอนกลางคืนทำเอาคุณพ่อคุณแม่ตาโหล เรื่องแบบนี้ต้องฝึกหัด เพราะส่งผลต่อระเบียบวินัยในอนาคตด้วย
- ควรบอกลูกล่วงหน้าสักหน่อยเพื่อเป็นการเตือนว่า ใกล้จะถึงเวลานอนของหนูแล้ว เก็บของเล่นได้แล้วนะ เพื่อไม่รู้สึกว่าถูกบังคับหรือถูกพรากไปจากของที่เล่นอยู่ และควรพาเข้านอนในเวลาเดียวกันเป็นประจำเพื่อความเคยชิน
- ถ้าลูกเป็นเด็กช่างวิตกกังวลหรือดูว่าจิตใจว้าวุ่น หวาดระแวง และหาทางออกด้วยการดูดนิ้ว ดูดขวดนม หรือกอดตุ๊กตาไว้แน่น เพื่อช่วยให้ตัวเองรู้สึกเพลิน ต้องอนุโลมยอมให้ลูกทำแบบนั้น เพราะเมื่อถึงวัยที่เหมาะสมลูกก็จะเลิกได้เอง
- จัดตารางเวลานอนกลางวันของลูกให้เหมาะสม เช่น ถ้าการนอนตอนบ่ายค่อนไปตอนเย็นก็ให้เลื่อนเวลามานอนตอนสายๆ แทน เด็กวัยนี้ต้องการนอนหลับในตอนกลางวันประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่ต้องการการนอนตอนกลางคืนถึง 11-12 ชั่วโมง
- พยายามจัดสิ่งแวดล้อมให้ดูสบายๆ สงบเงียบ เช่น ถ้าใกล้ถึงเวลานอนของลูก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะปิดทีวีแล้วพาลูกเข้านอน หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ในห้องนอน
- ให้ลูกเข้าห้องน้ำตอนกลางวันสม่ำเสมอ เพื่อกลางคืนลูกจะได้ไม่ตื่นเข้าห้องน้ำบ่อยๆ แต่ถ้าหากลูกยังไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ 100% ก็ควรเลือกใส่ผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดี เพื่อทำให้ลูกน้อยรู้สึกแห้ง และหลับสนิทตลอดคืน
- ถ้าลูกกลัวต้องปลอบโยนและช่วยเหลือลูก เช่น ถ้ากลัวความมืดก็เปิดไฟสลัวๆ ทิ้งไว้ และควรพูดให้ความมั่นใจว่าพ่อแม่อยู่ใกล้ๆ ถ้าหนูกลัวก็เรียกได้พ่อแม่ได้ยินเสียงจะรีบเข้ามาหาทันที
- ก่อนเข้านอนจัดการธุระของลูกให้เรียบร้อย เข้าห้องน้ำแปรงฟันหรือฉี่ให้เสร็จ และต้องแน่ใจว่าลูกไม่หิว หนาวหรือร้อนเกินไป
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Amp Chachamon
5 กิจกรรมช่วยให้ทารกและเด็กหลับง่าย
ลูกน้อยในหลายๆบ้านอาจจะนอนหลับได้ยากง่ายแตกต่างกันไป และมีบางกิจกรรมที่สามารถช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายและนอนได้ยาวนานขึ้น มาดูกันค่ะ
- การนวดก่อนนอนประมาณ 15 นาที ติดกันเป็นเวลา 1 เดือน จะทำให้ลูกน้อยนอนหลับง่ายขึ้น
- การฟังเพลงกล่อม โดยเป็นเพลงที่มีจังหวะซ้ำๆ เพราะเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่มีจังหวะใกล้เคียงกับเสียงหัวใจเต้น หรือเสียงอื่นๆที่ทารกคุ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่
- ไกวเปลให้หลับ จังหวะการเคลื่อนไหวไปมาของเปลจะช่วยให้ลูกน้อยหลับได้ไวขึ้น
- สำหรับเด็กแรกเกิด สามารถห่อตัวทารกด้วยผ้าโปร่งหรือผ้าฝ้ายได้ค่ะ เพราะการที่ทารกเคลื่อนตัวหรือเหวี่ยงตัวไปมา อาจทำให้รบกวนการนอนหลับได้
- เล่านิทานก่อนนอน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งเด็กทารกและเด็กที่โตแล้ว เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านไปในตัวและที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยให้ลูกน้อยหลับได้สนิทตลอดคืนคือการเลือกผ้าอ้อมที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ระคายเคือง และสามารถซึมซับได้ดีอย่างเช่น มามี่โพโค แพ้นท์ อัลตร้า โพรเทค ที่สามารถซึมซับได้มากถึง 4 แก้ว ถอดออกง่าย แถมยังสวมง่ายเพราะถูกออกแบบมาให้เป็นผ้าอ้อมแบบกางเกงค่ะ
ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Anna Princesscat
เสริมสร้างสุขนิสัยการนอนของลูกน้อย
การเสริมสร้างสุขนิสัยการนอนของลูกน้อยในการนอน ประกอบด้วยปัจจัยหลายๆปัจจัยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และการกินอาหารที่ถูกต้องก่อนการนอน
วิธีสร้างสุขนิสัยในการนอนที่ดี
- กำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้เป็นเวลาที่สม่ำเสมอ
- มีกิจวัตรก่อนนอนที่สงบ ง่ายที่สุด และสม่ำเสมอ ไม่ทำกิจกรรมที่ตื่นเต้นมากเกินไป เช่น เล่านิทานหรือดูหนังผี
- จัดห้องนอนให้ดูผ่อนคลายและสงบ ไม่มีโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ในห้องนอน
- หากเด็กตื่นหลังจากหลับไปแล้ว พ่อแม่ต้องสังเกตว่า เด็กตื่นเพราะอะไร และอย่าเพิ่งรีบเข้าไปหา ปล่อยให้นอนอยู่อย่างนั้น แล้วเด็กก็จะหลับต่อไปได้เอง
- คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกและลูกน้อยไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหรือรับประทานขนมที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม ลูกอมกาแฟ ช็อกโกแลต และชา
- ไม่ให้เด็กนอนกลางวันมากเกินไป และไม่ให้เด็กหลับในช่วงเย็น
- ให้เด็กทำกิจกรรม ออกกำลัง วิ่งเล่น พอสมควรในตอนกลางวัน
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถซึมซับได้อย่างดีเยี่ยม เพื่อการนอนหลับสบายตลอดคืนของลูกน้อย
- กำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้เป็นเวลาที่สม่ำเสมอ
- มีกิจวัตรก่อนนอนที่สงบ ง่ายที่สุด และสม่ำเสมอ ไม่ทำกิจกรรมที่ตื่นเต้นมากเกินไป เช่น เล่านิทานหรือดูหนังผี
- จัดห้องนอนให้ดูผ่อนคลายและสงบ ไม่มีโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ในห้องนอน
- หากเด็กตื่นหลังจากหลับไปแล้ว พ่อแม่ต้องสังเกตว่า เด็กตื่นเพราะอะไร และอย่าเพิ่งรีบเข้าไปหา ปล่อยให้นอนอยู่อย่างนั้น แล้วเด็กก็จะหลับต่อไปได้เอง
- คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกและลูกน้อยไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหรือรับประทานขนมที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม ลูกอมกาแฟ ช็อกโกแลต และชา
- ไม่ให้เด็กนอนกลางวันมากเกินไป และไม่ให้เด็กหลับในช่วงเย็น
ให้เด็กทำกิจกรรม ออกกำลัง วิ่งเล่น พอสมควรในตอนกลางวัน
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถซึมซับได้อย่างดีเยี่ยม เพื่อการนอนหลับสบายตลอดคืนของลูกน้อย
สร้างตารางนอนให้ลูกทารก
สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คงปวดหัวกับปัญหาการนอนของลูกน้อยอยู่ใช่ไหมคะ ถึงแม้เด็กทารกจะแค่กินและนอน แต่เราก็สามารถสร้างลักษณะนิสัยการนอนที่ดีตั้งแต่เด็กๆได้นะคะ
- ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ช่วง 1-2 เดือนแรก เด็กจะยังไม่รู้จักกลางวันกลางคืน แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยทำให้ลูกเข้าใจความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนได้ โดยลดปฏิสัมพันธ์ในช่วงกลางคืนลง จะช่วยทำให้เด็กเข้าใจว่าเวลากลางวัน เป็นเวลาสำหรับกิจกรรม ส่วนกลางคืนจะเป็นเวลาสำหรับพักผ่อนและอยู่เงียบๆค่ะ
- การให้นม หรือการโยกอาจช่วยให้เด็กนอนหลับได้ง่ายก็จริง แต่อาจจะทำให้เด็กติดพฤติกรรมนี้ และกลายเป็นทำให้เด็กนอนได้ยากค่ะ ควรปล่อยให้เขานอนได้ด้วยตัวเองในบรรยากาศที่เงียบสงบ
- ใช้เคล็ดลับเช่น การนวด เพลงกล่อมเด็ก เพื่อช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลาย แต่กิจวัตรทั้งหมดต้องเสร็จสิ้นภายในเวลา 15 นาที และต้องทำหลังจากกิจวัตรทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้วนะคะ มิเฉ่นนั้นลูกอาจจะอยากให้โอ๋ตลอดไป
- สำหรับตอนกลางวัน ให้ลูกน้อยหลับในที่ที่มีเสียงค่อนข้างดังระหว่างวัน เช่น ห้องนั่งเล่น เพื่อให้ลูกหลับสั้นๆ และป้องกันไม่ให้ลูกนอนหลับมากเกินไป ส่วนกลางคืน ควรวางลูกน้อยไว้ในห้องที่มีแสงทีมๆเงียบๆ มีการรบกวนน้อยที่สุด และเลือกใช้ผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดีและนุ่มสบายแบบ MamyPoko Pants Extra Soft เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายตลอดคืน
- สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำอย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมชื่นชมลูกน้อยในตอนเช้าด้วยนะคะ จะเป็นการสร้างเสริมความมั่นใจให้กับลูกได้ค่ะ
ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Ryu Kanakorn
วิธีทำให้ลูกแฝดหลับพร้อมกัน
สำหรับครอบครัวไหนที่มีลูกแฝด คงปวดหัวกับการพาเจ้าตัวน้อยทั้งสองเข้านอนกันใช่ไหมคะ วันนี้มามี่โพโคมีเคล็ดลับ ทำให้ฝาแฝดนอนหลับพร้อมกันมาฝากค่ะ
- กำหนดกิจวัตรประจำวันอย่างเช่นเจน จะทำให้ลูกเข้านอนเป็นเวลาอย่างพร้อมเพรียง และตื่นมาสดใส การอาบน้ำอุ่น โอบกอดลูก หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง ก็ช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้นค่ะ
- พาเด็กแฝดเข้านอนพร้อมกัน เด็กแฝดจะมีความผูกพันพิเศษ สามารถรับรู้ได้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ ดังนั้นการให้ลูกแฝดได้นอนหลับพร้อมกัน จะช่วยให้ลูกผ่อนคลายและหลับเร็วกว่าเดิมค่ะ
- นำลูกแฝดห่อผ้าห่มไว้ด้วยกัน จะช่วยให้ลูกรู้สึกเหมือนอยู่ในท้องของแม่ ปลอดภัยจากอันตรายค่ะ
- เวลากินข้าวของลูกแฝด ก็ควรให้ลูกกินพร้อมๆกัน เพราะเมื่อท้องตึงหนังตาก็หย่อน จะช่วยทำให้ลูกแฝดหลับได้ง่ายขึ้น
- สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือเร้าความสนใจลูกมากมาย เพราะอาจจะทำให้ลูกตื่นตัว ไม่หลับง่ายๆ รวมไปถึงอุณหภูมิห้องก็ควรอยู่ในอุณหภูมิที่สบาย ไม่เย็นหรือไม่ร้อนเกินไปค่ะ
ขอบคุณรูปภาพน้องคริส น้องเคท จากคุณ โบว์ นะคะ
การนอนของทารกวัย3เดือน
เด็กทารกวัยแรกเกิดช่วงคออ่อนไหว ทำให้ชันคอได้ไม่ดีนัก ท่านอนที่เหมาะสม ควรจัดให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคง เพื่อให้ลูกสามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายขึ้นค่ะ เนื่องจากกล้ามเนื้อคอของลูกยังไม่แข็งแรง การเคลื่อนไหวของคอจึงเป็นลักษณะหันไปมาซ้าย-ขวา ดังนั้นการให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคงจึงเป็นท่านอนที่เหมาะสมมากที่สุด ไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำโดยที่ไม่มีคนดูแลใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายที่เรียกว่า ภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) ที่อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้
นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่ถูกจับให้นอนคว่ำจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้น้อยกว่า และเมื่อโตขึ้นจะมีความช่างสังเกตน้อยกว่าเด็กที่นอนหงาย ส่วนสิ่งแวดล้อมที่ควรจัดให้ลูกในช่วงนี้ควรเป็นภาพหรือของเล่นที่มีสีสันสด ใสและมีเสียง อาจเคลื่อนไหวในแนวนอนหรือแนวราบก็ได้เช่นกันค่ะ
ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ ฐิตาภรณ์ บุญชู
สิ่งแวดล้อมในการนอนของทารก
สิ่งแวดล้อมของการนอนของลูกน้อยมีความสำคัญมาก เพราะเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยอีกทั้งมุ่งหวังให้ลูกนอนหลับสนิทอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพื่อฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตหรือ Growth Hormone ได้หลั่งออกมาอย่างเต็มที่
- สภาพแวดล้อมของการนอนจะต้องเงียบสงบ และไม่มีแสงแยงเข้าตาระหว่างการนอน ควรลดไฟให้สลัวให้เอื้อต่อการนอนด้วย
- ห้องสีขาว สีฟ้า สีเทา สีครีม จะทำให้เด็กรู้สึกสงบและหลับง่ายกว่าห้องสีสดๆ
- เบาะที่นอนที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ดีกว่าอัดด้วยนุ่น เพราะจะมีมาตรฐานการอัดแน่นทำให้ไม่เป็นหลุมหรือยุบตัวลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นนุ่นจะไม่เหมาะที่สุด เพราะเป็นตัวกระตุ้นภูมิแพ้
- เบาะที่นอนจะต้องมีขนาดต้องใหญ่พอสมควร เนื่องจากลูกน้อยโตเร็ว หากไม่ซื้อเผื่อก็อาจจะทำให้สิ้นเปลืองซื้อเปลี่ยนหลายๆ หน ที่สำคัญต้องวัดขนาดเปลให้พอดีกับเปลที่ใช้อยู่ด้วย
- ทดสอบการซื้อว่าที่นอนมีการคืนตัวมากเพียงพอไหม อย่างเช่น กดแล้วคืนตัว เพราะว่าหากลูกนอนคว่ำอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
- เลือกผ้าปูที่สามารถถอดซักได้ และเป็นผ้าปูที่ระบายอากาศได้ดี อาทิ ผ้าฝ้าย ไม่ร้อนหรืออับซึ่งอาจจะส่งผลให้ลูกนอนไม่สบายตัวได้
- เลือกสีเบาะที่นอนและผ้าปูที่สีสันอ่อนโยนสบายตา เพื่อสุนทรียภาพในการนอน
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Nooknik Theeratida
ลูกหลับยาก
คุณแม่หลายท่านอาจเจอปัญหาในการนอนของลูกน้อย ลูกน้อยบางคนดิ้นไปดิ้นมา ร้องครางทุรนทุรายก่อนจะนอน จริงๆแล้วการเข้าสู่การหลับของคนแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ เห็นใด้ชัดในช่วงเวลาเล็กๆ แบบนี้ ลูกคุณแม่มีอาการทุรนทุราย พลิกคว่ำพลิกหงายไปทั่วเตียง ร้องครางประจำทุกคืน แต่เด็กก็ไม่ได้เจ็บปวดอะไร บางทีการเกาหลังเบาๆ ร้องเพลงกล่อมก็เป็นการช่วยให้เด็กเข้าสู่ระยะเวลาของการหลับได้ง่ายขึ้น เคล็ดลับของการนอนหลับที่ดีคือ การออกกำลังกาย ถ้าร่างกายออกกำลังกายได้เต็มที่ สุดท้ายร่างกายต้องการการพักผ่อน จนทำให้เด็กหลับเร็ว หลับสนิท ต้องไปดูว่าเวลากลางวันมีคนเล่นกับเด็กมากพอหรือไม่ จนทำให้เด็กได้เคลื่อนไหว คืบคลานได้มากพอ ก็เท่ากับเป็นการออกกำลังกายไปในตัว แต่ถ้าอุ้มเด็กมากไปถึงแม้จะเล่นกับเด็กมาก แต่ผู้ใหญ่จะเป็นคนเหนื่อยและหมดแรงไปก่อนเด็ก แบบนี้ก็เรียกว่าเป็นการเล่นที่ไม่มีคุณภาพค่ะ
ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ ฐิตาภรณ์ บุญชู
ลูกน้อยนอนผวา
ลูกน้อยเคยมีอาการนอนผวากันบ้างหรือเปล่าคะ การนอนผวาของเด็กวัยแรกเกิด – 3 เดือนแรก ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะอาการผวาเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Moro Reflex หากมีอะไรมากระตุ้นเพียงเล็กน้อย เช่น เสียงดัง แสงจ้า ลูกก็จะผวาขึ้นมาได้ทันที คุณแม่ลองหาผ้าบางๆ ห่อตัวให้ลูกเวลานอน หาหมอนมาวางข้างๆ ให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและลดสิ่งกระตุ้น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าต่างๆ เช่น แสงสว่าง เสียงดังรบกวน เพียงเท่านี้ก็สามารถลดการผวาของหนูน้อยได้แล้วล่ะค่ะ
ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Tonglak Boonsom2
10 วิธีหลับสบาย
การนอนของลูกน้อย นอกจากจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแล้ว เราอาจจะยังสามารถช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายได้ด้วย 10 วิธีดังต่อไปนี้ค่ะ
- การอาบน้ำลูกน้อยด้วยน้ำอุ่นจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว ใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อนุ่ม ไม่หนาหรือไม่บางจนเกินไป
- นวดตัวลูกเบาๆ หรือนวดไปพร้อมกันการทาโลชั่นบริเวณแขนและขา จะช่วยสร้างความผ่อนคลายและทำให้ลูกน้อยหลับได้ง่ายขึ้น
- เด็กแรกเกิด – 6 เดือน โดยธรรมชาติจะมีวงจรการนอนหลับ 10 รอบ/คืน โดยจะตื่นทุกๆ 1-2 ชั่วโมง และเมื่อตื่นมาไม่เจอใคร ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยงอแง รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่การดูดนม เหมือนเป็นการปลอบ ทำให้สามารถหลับต่อได้อย่างมีความสุข แต่ไม่ควรทำบ่อยเกินไปนะคะ เพราะอาจจะทำให้เลิกดูดนมยากค่ะ
- ไกวเปล การแว่งไปมาพร้อมกับร้องเพลง จะช่วยให้ลูกเคลิ้มหลับได้สบายๆ
- หาสิ่งของที่ลูกติด เช่น ตุ๊กตา หมอน ผ้าห่ม ให้ลูกถือ หรือลูบ จะทำให้ลูกเพลิดเพลิน
- การสัมผัสเบาๆ เช่นการตบก้น ลูบหลัง จะทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจที่มีพ่อแม่อยู่ใกล้ๆ
- เปิดเพลงบรรเลงเบาๆ ฟังสบายๆ นอกจากจะช่วยให้หลับง่ายแล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนาสมอง จัดระบบการเรียนรู้และความจำที่ดีอีกด้วย
- อุณหภูมิห้องพอเหมาะ หากมีความร้อน หรือมีความชื้นมากเกินไป จะทำให้ลูกอึดอัด ไม่สบายตัว
- ห้องนอนและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ควรมีความเงียบสงบ
- แสงไฟสลัวๆ จะช่วยให้ลูกน้อยสบายตา และตื่นมาเห็นคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ๆ ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกอุ่นใจขึ้นค่ะ
แล้วคุณพ่อคุณแม่มามี่โพโค มีวิธีอื่นๆที่ช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายกันบ้างไหมคะ ?
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Bazy Bazz
สาเหตุที่ลูกนอนไม่หลับ
เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงวัย 1-3 ปี มักจะมีปัญหาไม่ยอมหลับตอนกลางคืน ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ เพราะการที่ลูกน้อยนอนหลับไม่เต็มอิ่มในตอนกลางคืน จะส่งผลเรื่องการเจริญเติบโต และพัฒนาการในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ เด็กที่นอนไม่พอจะความจำไม่ดี ขี้ลืม ขาดสมาธิ เหม่อลอย หงุดหงิดและแปรปรวนง่าย เคลื่อนไหวน้อย ดูไม่สดชื่น หรืออาจจะเป็นเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น แถมยังอาจจะส่งผลจ่อเรื่องความสูงด้วย เพราะการนอนดึกไปลดการหลั่นของ Growth hormone เรามาลองดูวิธีการแก้ไขกันค่ะ
- ควรบอกลูกล่วงหน้าซักหน่อยว่าใกล้ถึงเวลานอนแล้ว ลูกจะได้เตรียมใจ ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ หรือถูกพรากไปจากกิจกรรมที่กำลังทำอยู่
- จัดสรรเวลานอนกลางวันของลูกให้เหมาะสม เช่น เลื่อนเวลามานอนเร็วขึ้น และดูว่าเวลาในการนอนกลางวันของลูกมากเกินไปหรือเปล่า เพราะเด็กวัย 1-3 ปี ต้องการการนอนกลางวันแค่ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่ตอนกลางคืนต้องการ 11-12 ชั่วโมง
- จัดสิ่งแวดล้อมให้ดูสบายๆ เงียบ ไม่มีเสียงรบกวน หากลูกกลัวความมืด คุณพ่อคุณแม่ต้องพูดให้ลูกมั่นใจว่าพ่อกับแม่จะอยู่ใกล้ๆลูก หรือนอนกับลูกไปสักระยะหนึ่ง จนลูกรู้สึกอบอุ่นใจ และหลับไป
- ทำให้ลูกรู้ว่าคุณรักเขา เช่น อุ้มลูกเดินเล่นก่อนพาเข้านอน กอด หอม หรือเป็นคนพาเข้านอนด้วยตัวเอง ให้ลูกรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทิ้งให้อยู่แต่กับพี่เลี้ยง
ในช่วงแรกๆอาจจะยากซักหน่อย คุณพ่อคุณแม่ต้องยืดหยุ่น ไม่จู้จี้หรือบังคับลูกมากเกินไป เพราะไม่อย่างนั้นแล้วลูกจะรู้สึกว่าการเข้านอนเป็นเรื่องการบังคับค่ะ
ขอบคุณรูปภาพประกอบจากคุณ Natnapa Lohasarn
ลูกไม่หลับตอนกลางคืน
การที่ลูกน้อยนอนไม่หลับ อาจจะไม่ใช่เพราะลูกน้อยดื้อ หรือผิดปกติในเรื่องใดนะคะ แต่อาจจะมาจากหลายๆสาเหตุได้ค่ะ
- เกิดจากสิ่งแวดล้อมเสียงดัง พลุกพล่าน ทำให้เด็กรู้สึกตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา
- พ่อแม่ทำงานกลับบ้านดึก ส่งผลให้ลูกรอ หรือเมื่อคุณพ่อคุณแม่กลับมาเพื่อเล่นกับลูก ก็เลยเวลานอนของลูกไปแล้ว อาจจะส่งผลให้ลูกนอนดึกและเป็นเด็กหลับยาก
- เมื่อลูกน้อยอายุ 6 เดือนขึ้นไป จะเริ่มมีการจำและติดพ่อแม่ กลัวการแยกจากพ่อแม่ ทำให้นอนยากขึ้น
- เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น เป็ดหวัด ท้องอืด ทำให้ไม่สบายตัว
หากหาสาเหตุได้แล้ว ก็ต้องรีบกำจัดสาเหตุเหล่านี้ออกไปโดยเร็วเลยค่ะ เพราะการนอนหลับที่เพียงพอ จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการและความจำที่ดี
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Bazy Bazz
เคล็ดลับในการนอนหลับแบบแห้งสบาย
- ฝึกลูกให้เข้าห้องน้ำก่อนเข้านอนจนเป็นนิสัย
- พยายามอย่าให้ลูกกินน้ำเยอะก่อนเข้านอนประมาณ 2 ชั่วโมง นี่จะช่วยลดโอกาสที่เขาจะปวดฉี่ระหว่างหลับได้
- ปูแผ่นยางหรือพลาสติกไว้ใต้ผ้าปูที่นอน คุณจะได้เปลี่ยนผ้าปูได้ง่ายขึ้นในกรณีที่ลูกฉี่รดที่นอน และลูกจะได้ไม่ต้องนอนคลุกที่นอนเปียกฉี่ อาจให้ลูกช่วยเปลี่ยนผ้าปูที่นอนด้วยก็ได้
- อาจปลุกลูกมาฉี่ 2-3 ชั่วโมงหลังเข้านอนไปแล้ว อาจเป็นเวลาที่พ่อแม่กำลังจะเข้านอนหรือหลังจากนั้นก็ได้
- ชมลูกเมื่อลูกไม่ฉี่รดที่นอน ให้เขาเห็นด้านดีของการไม่ฉี่รดที่นอน
อย่าลืมบอกลูกเสมอว่าการฉี่รดที่นอนเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กวัยเขา และไม่ใช่ความผิดของเขา แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณรู้ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจ จำไว้เสมอว่า ห้ามทำโทษหรือต่อว่าลูกเมื่อเขาฉี่รดที่นอน และพยายามอย่าให้คนในบ้านล้อเขาเรื่องนี้
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก myfirstbrain
ท่านอนของลูกน้อย
ลูกน้อยวัย 6 เดือนแรก ท่านอนของลูกน้อย ในวัยนี้สำคัญมาก เพราะการให้ลูกนอนได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของแต่ละช่วงจึงสำคัญ และคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจลูกน้อยอย่างใกล้ชิด นะคะ
แรกเกิดถึง 3 เดือน นอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้ ขณะที่การนอนคว่ำเสี่ยงกับโรค SIDS
4-6 เดือน เหมาะกับการนอนคว่ำ ด้วยกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้ลูกสามารถชันคอและยกศีรษะได้ แต่ควรมีที่นอนและหมอนที่ไม่นุ่มนิ่มจนเกินไป เพื่อไม่ให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ
6 เดือนขึ้นไป กล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงแล้ว แถมยังสามารถพลิกตัวได้ด้วยค่ะ เหมาะกับท่านอนหลายแบบ อาจจะเป็นการนอนตะแคง นอนหงาย กึ่งนั่งกึ่งนอน หรือนอนคว่ำก็ได้
ท่านอนสัมพันธ์กับพัฒนาการของลูกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามแบบนี้ จึงควรจัดท่าให้เหมาะกับวัยลูกนะคะ ที่สำคัญ ควรเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดสะอ้าน อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัยกับลูกค่ะ
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Tikkö Chirawat
update : 19.09.2560
ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย