Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

รู้หรือไม่ ตั้งครรภ์แฝดไม่ง่าย และอันตรายกว่าที่คิด

ในยุคสมัยนี้ การตั้งครรภ์แฝดมีให้เห็นมากขึ้น เพราะมีดาราและคนดังหลายคนมีลูกแฝด ทำให้หลายคนก็อยากมีลูกแฝดบ้าง แต่การมีลูกแฝด ไม่เพียงแค่การที่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กเพิ่มขึ้นเป็น 2 คน เท่านั้น แต่ในแง่ของสุขภาพ การตั้งครรภ์แฝดถือเป็นความเสี่ยงตามมาหลายอย่าง ซึ่งเราจะมาให้ความรู้กับว่าที่คุณแม่ในบทความนี้ มาดูพร้อมกันเลยค่ะ


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แฝด

หากเป็นการตั้งครรภ์แฝดโดยธรรมชาติ มักจะพบได้ไม่มากนัก คิดเป็นประมาณร้อยละ 5 – 10 เท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อผู้มีบุตรยากเข้ามาช่วย ทำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝด เช่น การรักษาด้วยการฉีดยากระตุ้นไข่ หรือการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนเพื่อทำเด็กหลอดแก้ว อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนที่มีบุตรยาก และช่วยเหลือในเรื่องของการตั้งครรภ์โดยเฉพาะ แต่การตั้งครรภ์แฝด เหมือนจะเป็นผลพลอยได้เสียมากกว่า แต่หลายคู่รักหลายคนมองว่าเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะการตั้งครรภ์แฝดทำให้ไม่ต้องตั้งครรภ์บ่อย แค่ตั้งครรภ์ 1 ครั้ง ก็ได้ลูก 2 คน แถมยังกลายเป็นค่านิยมว่าการมีลูกแฝดแล้วดี เพราะดาราหรือคนดังหลายคนมักมีลูกแฝด ทั้งที่ความจริงแล้วในทางการแพทย์ การตั้งครรภ์แฝดถือว่าเป็นความเสี่ยง และมีอันตรายมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ 

น้ำหนักของทารกแฝดในครรภ์มักจะน้อยกว่าเด็กทั่วไป

หากจำนวนทารกแฝดในครรภ์มีมาก น้ำหนักทารกในครรภ์ (แต่ละคน) ยิ่งน้อย ในกรณีตั้งครรภ์เดี่ยวน้ำหนักแรกคลอดของทารกอยู่ราวประมาณ 2800-3200 กรัม หากเป็นแฝดสอง ทารกแต่ละคนอาจมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 - 2,500 กรัม ยิ่งเป็นแฝดสาม แฝดสี่ หรือ แฝดห้า ยิ่งมีน้ำหนักตัวที่น้อยขึ้นไปอีก เช่น 1,000 - 1,500 กรัม หรือหากมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด ต่อให้เป็นแค่แฝดสองก็อาจมีน้ำหนักน้อยมาก ๆ และมีโอกาสที่ปอดจะทำงานผิดปกติ หรือเกิดทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้ 

 

ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์แฝด

· ทารกน้ำหนักตัวน้อย เพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทารกในครรภ์ต้องแย่งสารอาหารกัน

· คุณแม่มีน้ำหนักมากกว่าปกติ ขนาดครรภ์ก็ใหญ่กว่าปกติ เมื่ออายุครรภ์เยอะขึ้นคุณแม่จะรู้สึกอึดอัด มีปัญหาเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน

· มีโอกาสครรภ์เป็นพิษเพิ่มขึ้น และการคลอดก่อนกำหนดเพราะเด็กจะตัวโตขึ้น

· มีความเสี่ยงเมื่อคลอดธรรมชาติ เพราะแฝดคนที่สองจะออกมาลำบาก จึงต้องใช้วิธีผ่าคลอดแทน

· เสี่ยงต่อการแท้ง

 

โดยสรุป การตั้งครรภ์แฝดจัดว่าเป็นการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ สูติแพทย์ทั่วไปจึงต้องให้ความใส่ใจครรภ์แฝดเป็นพิเศษ และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดนั้นเอง

การดูแลตัวเองเมื่อตั้งครรภ์แฝดแต่ละไตรมาส

เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์แฝดแล้ว สิ่งที่ควรทำก็คือการดูแลสุขภาพตัวเองมาก ๆ เพื่อให้การตั้งครรภ์ราบรื่น และคลอดอย่างปลอดภัย โดยสามารถทำตามคำแนะนำที่เรานำมาฝากกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้ 

    · การดูแลครรภ์แฝดในไตรมาสแรก

การตั้งครรภ์แฝดมีโอกาสแท้งบุตรสูงกว่าปกติ ดังนั้น เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์ อยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งหมั่นดูแลสุขภาพตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับคนท้อง เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ คอยสังเกตหากมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือหน่วงท้องน้อยให้รีบมาพบแพทย์ นอกจากนี้ คุณแม่มักจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าทั่วไป เนื่องจากฮอร์โมนตั้งครรภ์จะสูงขึ้นมากและรวดเร็ว ให้รับประทานอาหารอ่อน มื้อละน้อยแต่บ่อย ๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรือมีกลิ่นฉุน เลี่ยงเครื่องดื่มน้ำอัดลม พักผ่อนให้เพียงพอ และเนื่องจากการรับประทานอาหารมากขึ้น ควรระวังโรคเบาหวานที่ตามมาด้วย

    · การดูแลครรภ์แฝดในไตรมาสที่สอง

ในไตรมาสที่สอง คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดจะมีน้ำหนักตัวขึ้นเร็วและมากกว่าตั้งครรภ์เดี่ยว กล้ามเนื้อหลังและน่องจะแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นตะคริวได้ง่าย จึงต้องหลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดินนาน ๆ ควรนั่งพัก เปลี่ยนท่าหรืออริยะบทบ่อย ๆ สามารถนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือประคบอุ่นได้ เพื่อลดอาการเมื่อยล้า นอกจากนี้ คุณแม่จะเริ่มสัมผัสได้ถึงอาการลูกดิ้น จึงจำเป็นต้องสังเกตลูกดิ้น เนื่องจากมีทารกหลายคน การนับจำนวนครั้งโดยรวมเหมือนทั่วไปจึงไม่สามารถบอกสุขภาพของเด็กทารกแต่ละคนได้ แต่ให้คุณแม่สังเกตให้ดี จะสามารถแยกแยะได้ว่าลูกคนไหนดิ้นโดยแบ่งเป็นส่วนของหน้าท้อง เช่น ด้านขวา ด้านซ้าย ด้านบน ด้านล่าง เป็นต้น

    · การดูแลครรภ์แฝดในไตรมาสที่สาม

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดในช่วงไตรมาสที่สุด มักจะพบเรื่องรกเกาะต่ำเพิ่มขึ้น อาจมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้ ทั้งยังเสี่ยงเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้มากกว่าทั่วไป จึงต้องสังเกตเรื่องความดันโลหิตว่าสูงหรือไม่ ขาบวมมากขึ้นเยอะหรือไม่ ปวดศีรษะ จุกแน่นลิ้นปี่ ชายโครงบ่อย ๆ หรือไม่ เป็นต้น 

การดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่และทารกแฝดหลังคลอด

· ควรให้นมลูกหลังคลอดเหมือนการตั้งครรภ์เดี่ยว ความผูกพันระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย และทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

· คุณแม่หลังคลอดต้องพยายามดูแลตนเองให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะในระยะแรก ๆ ยังต้องมีการให้นมบุตรมากกว่า 1 คน ส่วนการดูแลเรื่องแผลฝีเย็บหรือแผลผ่าตัดหน้าท้องก็ไม่แตกต่างจากการตั้งครรภ์เดี่ยว

· คุณแม่ควรคุมกำเนิด แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างสม่ำเสมอจะช่วยคุมกำเนิดได้ก็ตาม (ซึ่งจะใช้ได้ผลเฉพาะในช่วงระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอด) แต่มีคำแนะนำว่าคุณแม่ควรเริ่มคุมกำเนิดตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6 หลังคลอดเลยจะดีกว่า 

 

ส่วนของใช้สำหรับทารก สามารถใช้เหมือนของเด็กทั่วไป แต่สำหรับเสื้อผ้าอาจจะต้องดูให้ดี เพราะว่าขนาดตัวของทารกแฝดจะเล็กกว่าทารกทั่วไป ควรเลือกที่น้องใส่แล้วสบายตัว ในส่วนของผ้าอ้อมสำหรับเด็กก็เหมือนกัน ซึ่ง มามี่โพโค ซุปเปอร์ พรีเมี่ยม ออร์แกนิค เป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่มีขนาดเริ่มต้นตั้งแต่ small NB ที่ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 3 กิโลกรัม เป็นแบบเทปติด มีขอบเอว นุ่ม กระชับทางด้านหลัง สวมใส่ได้อย่างพอดีไม่หลวม จึงเหมาะกับน้องที่เป็นทารกแฝดน้ำหนักน้อย นอกจากนี้ ยังมาพร้อมคุณสมบัติที่ดีเยี่ยม ทั้งอ่อนโยน อ่อนนุ่ม ด้วยผสมของปุยฝ้ายธรรมชาติ “ออร์แกนิค คอตตอน” มาพร้อม “ออร์แกนิค สปีด ชีท” ที่แผ่นซึมซับบางเบาเพียง 0.4 เซนติเมตร ลูกน้อยจึงไม่รู้สึกอึดอัด แต่กลับรู้สึกสบายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีนวัตกรรม “ออร์แกนิค สปีด เวฟ” แผ่นซึมซับลอนคลื่น ที่ช่วยซึมซับปัสสาวะได้อย่างรวดเร็ว แบบ 360 องศา และสามารถซึมซับได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง  

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย