คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 ต้องรู้ อาหารอะไรที่ควรทาน อาการที่พบบ่อย รู้ไว้ปลอดภัยแน่
เมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินมาจนถึงโค้งสุดท้าย หรือก็คือช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างมาก มีอะไรบางที่คุณแม่ต้องดู ทั้งอาหารที่ควรรับประทาน อาหารที่พบได้บ่อย อาการแบบไหนผิดปกติ ตลอดจนการเตรียมตัวไปคลอด สิ่งเหล่านี้คุณแม่ควรรู้ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่จะมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงไตรมาส 3
โค้งสุดท้ายก่อนคลอดเป็นช่วงที่สำคัญมาก ช่วงอายุครรภ์ 24 - 42 สัปดาห์ สารอาหารมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองลูก ถ้าแม่ไม่เลือกกิน กินน้อย การสร้างสมองส่วนต่าง ๆ ของลูกก็อาจไม่สมบูรณ์ได้ ถ้าอยากให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในท้อง แม่ต้องกินอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทและการพัฒนา เช่น โปรตีน เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม ไอโอดีน โฟเลต
อาหารบำรุงน้ำนม เพื่อความพร้อมหลังคลอด
ช่วงไตรมาสสุดท้าย แม่ต้องคำนึงถึงอาหารเพิ่มน้ำนม เพื่อบำรุงร่างกายควบคู่ไปด้วย เช่น
· อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีเลือดไปเลี้ยงเซลล์ที่ผลิตน้ำนมบริเวณเต้านมของคุณแม่ได้เพิ่มขึ้น
· อาหารที่มีแคลเซียมสูง แคลเซียมสร้างเสริมพัฒนาการของลูกน้อย และเป็นส่วนประกอบในน้ำนมที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟันของเจ้าตัวน้อย
· อาหารที่มีวิตามินซีและวิตามินดี ทำให้ทั้งแม่และทารกในครรภ์มีภูมิต้านทานสูงขึ้น ช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและสร้างกระดูกของทารก ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายของคุณแม่ นอกจากนี้ วิตามินที่คุณแม่ได้รับนั้นยังจำเป็นต่อการเสริมสร้างเซลล์ในบริเวณเต้านม ทำให้สามารถผลิตน้ำนมได้ดีขึ้น มีปริมาณน้ำนมมากเพียงพอต่อลูกน้อยที่กำลังจะคลอดออกมา แหล่งอาหารที่มีวิตามินซีจากธรรมชาติคือในผักหรือผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ ผักสด ฯลฯ และวิตามินดี เช่น ปลา ไข่แดง เนื้อสัตว์ ธัญพืช และนม
อาการทั่วไปคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ท้อง ดำเนินมาถึงช่วงไตรมาสสุดท้าย ใกล้ถึงเวลาจะเจอหน้าลูกน้อยแล้ว อาการต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย ช่วงไตรมาสที่3 เป็นช่วงที่ฝึกความอดทน เพราะร่างกายแม่ต้องเตรียมพร้อม ในช่วงสุดท้าย ก่อนลูกจะถึงวันคลอด โดยอาการที่แม่ท้องไตรมาสที่3 พบได้บ่อย อาทิ
· น้ำหนักของคุณแม่ในช่วงไตรมาสที่3 จะเพิ่มประมาณ 5 กิโลกรัม ทำให้แม่ท้องรู้สึกอุ้ยอ้ายมากขึ้น ท้องใหญ่อย่างชัดเจน
· อีกไม่นานจะถึงวันคลอดแล้ว แม่ท้องจึงมักจะมีอาการเจ็บท้องหลอก อาการเจ็บท้องจากการหดรัดตัวของมดลูกในช่วงใกล้คลอด คล้ายกับการเจ็บท้องจะคลอดจริง ๆ แต่ยังไม่รุนแรง และจะเจ็บน้อยกว่า
· แม่ท้องบางคนเป็นริดสีดวงทวารแล้ว และมีอาการหนักๆ เอาช่วงไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเพิ่มแรงดันในร่างกายมากขึ้น จนเส้นเลือดบริเวณทวารหนักเกิดการขยาย บวม หรือเกิดเส้นเลือดขอดจนอาจมีอาการริดสีดวงทวารได้
· คุณแม่ท้องแก่มักจะหายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก เนื่องจากมดลูกขยายตัว ดันอวัยวะด้านบนให้ขยับขึ้นไปดันกะบังลม ทำให้พื้นที่ปอดเหลือน้อยลง ขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการหายใจได้ลำบาก หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจสั้นได้
· มือบวม ตัวบวม เท้าบวม อาการตัวบวม เกิดจากมีปริมาณน้ำสะสมตามเนื้อเยื่อมากกว่าปกติ
· ไตรมาสสุดท้าย ท้องของคุณแม่มักบวมเป่งคล้ายจะระเบิด หน้าท้องที่ขยายแบบสุด ๆ ทำให้สะดือถูกดันจนราบหรือจุ่น แต่ไม่ต้องห่วงนะคะ ทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิมหลังคลอด
· แม่ท้องมักจะมีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาไอ จาม หรือวิ่ง เรียกง่าย ๆ ว่า ฉี่เล็ด ทั้งยังปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากศีรษะทารกลงไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ
· มักจะมีปัญหานอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เนื่องจากการเจ็บครรภ์เตือน หรือเพราะทารกดิ้นแรง และยังปวดเมื่อยมาก จนนอนท่าเดิมนาน ๆ ไม่ค่อยได้ ต้องพลิกตัวทั้งคืน ลองหาหมอนหลาย ๆ ใบมาหนุนรอง จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นค่ะ
· กระดูกเชิงกรานของแม่จะเริ่มขยาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาใกล้คลอด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหน่วงบริเวณข้อสะโพกหรือปวดหัวหน่าว ปวดร้าวอวัยวะเพศ ขณะเคลื่อนไหว
สัญญาณใกล้คลอดในช่วงไตรมาสที่ 3
ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูติแพทย์ อธิบายถึงอาการเจ็บท้องคลอด อาการที่บ่งบอกว่าเข้าสู่ระยะคลอด หากคุณแม่ตั้งครรถ์ไตรมาสที่3 มีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์
· อาการมูกเลือดออกทางช่องคลอด
การตั้งครรภ์ทั่วไปจะไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด หากพบว่ามีเลือดสดออกให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องไปพบสูติแพทย์โดยด่วน แต่หากเป็นการเข้าสู่ระยะคลอดตามปกติ เมื่อมีการเปิดของปากมดลูกแล้ว มักจะมีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดได้ ลักษณะเป็นเมือกใส เหนียวคล้ายน้ำมูกมีสีแดงปนได้
· อาการน้ำคร่ำรั่ว หรือ น้ำเดิน
เมื่อมีน้ำไหลออกมาทางช่องคลอด มารดาควรสังเกตให้ดีว่าเป็นน้ำใส ไม่มีกลิ่น เหลว อาจมีเศษตะกอนสีขาวปนเล็กน้อยคล้ายน้ำซาวข้าวแสดงว่าเป็นน้ำคร่ำเดิน ไหลเป็นพักๆหรือต่อเนื่องก็ได้ จะออกมากขึ้นเมื่อขยับตัวหรือเดิน ซึ่งจำเป็นต้องแยกกับตกขาวในช่องคลอดซึ่งจะมีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้นคล้ายนม มีกลิ่นคาวหรือคันร่วมด้วย ในกรณีที่พบว่าเป็นน้ำปนกับตะกอนสีเขียวเข้มแสดงว่าเด็กทารกมีการถ่ายขี้เทาออกมาปนในน้ำคร่ำด้วย กรณีนี้ให้รีบมาพบสูติแพทย์โดยด่วนเนื่องจากทารกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยด้วย
· มีอาการเจ็บครรภ์จริง
ในช่วงใกล้คลอดมักจะมีอาการเจ็บครรภ์เตือนบ่อยครั้ง ทั้งนี้เป็นการซ้อมของกล้ามเนื้อมดลูกในการหดรัดตัว ซึ่งการเจ็บครรภ์เตือนนี้มักจะเกิดเป็นพักๆ ไม่สม่ำเสมอ เป็นการบีบตัวเบาๆ ไม่มีรูปแบบ เป็นเวลาสั้นๆ เกิดที่มดลูกในตำแหน่งทั่วไปไม่จำเพาะ เมื่อนอนพักนิ่งๆ อาการจะค่อยทุเลาได้เอง ซึ่งอาการเจ็บครรภ์เตือนนี้ไม่มีอันตรายต่อทั้งมารดาหรือทารกในครรภ์ สามารถสังเกตอาการต่อที่บ้านได้ กรณีที่เจ็บครรภ์จริงมักจะเริ่มมีการหดรัดตัวของมดลูกบริเวณยอดมดลูกก่อนและค่อยกระจายไปทั่วทั้งมดลูก เกิดได้บ่อยขึ้น นานขึ้น แรงขึ้น จนมารดารู้สึกอึดอัดมากขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งอาจมีการรัดตัวอยู่นานเป็นนาทีได้ มีช่วงพักคลายตัว 2-3 นาทีแล้วจึงกลับมาบีบรัดตัวใหม่อย่างสม่ำเสมอต่อไป
· อาการลูกดิ้นน้อยลง
เนื่องด้วยเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น ทำให้มารดาไม่สามารถรับรู้ลูกดิ้นได้ทุกครั้ง จึงรู้สึกเสมือนว่าลูกดิ้นน้อยลง นอกจากนี้ยังไม่สามารถแยกจากทารกที่มีปัญหาลูกดิ้นน้อยลงจริงได้ จึงควรมาโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจประเมินจากสูติแพทย์โดยตรง
ร่างกายคุณแม่ในไตรมาสที่ 3 มักจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย คุณแม่ต้องสังเกตอาการตัวเองให้ดี เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาสำคัญ หากพบอาการผิดปกติควรรีบไปโรงพยาบาล
ไตรมาส 3 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ในช่วงไตรมาส 3 ครรภ์ของคุณแม่จะเริ่มใหญ่ขึ้นจนทำอะไรก็ไม่สะดวก ไม่ควรยกของหนัก ๆ แต่ก็ไม่ควรนั่ง ๆ นอน ๆ แต่ให้เดินออกกำลังกายเบา ๆ ทำจิตใจให้แจ่มใส กรณีที่คลอดธรรมชาติ ควรฝึกกำหนดลมหายใจในการคลอดลูก เพราะการคลอดจริงนั้นคุณแม่จะใช้พลังงานค่อนข้างมาก ส่วนอาหารการกิน ไม่ควรกินเยอะจนเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัดจุกเสียดแน่น และสุดท้ายก็ควรเตรียมของใช้สำหรับตัวเองเพื่อไปโรงพยาบาล ตลอดจนของใช้เด็กทารกแรกเกิด เพราะเมื่อถึงวันเจ็บครรภ์ จะได้ไม่ต้องมาวุ่นวายจัดทีหลัง
ของใช้ที่คุณแม่ต้องเตรียมในช่วงไตรมาสที่ 3
สำหรับของใช้ของคุณแม่ก็ได้แก่ เสื้อชั้นในให้นมลูก ผ้าอนามัยชนิดหนา แผ่นซับน้ำนม ครีมทาหัวนมแตก ครีมบำรุงหน้าท้อง หมอนให้นม เสื้อผ้าสำหรับใส่วันกลับบ้าน เป็นต้น ส่วนของใช้ทารกแรกเกิด ได้แก่ ผ้าห่อตัวลูก เสื้อผ้าเด็กทารก เช่น เสื้อ ชุดนอน ถุงมือ หมวก และถุงเท้า ผ้าเช็ดตัวสำหรับเด็ก โลชั่นหรือเบบี้ออยล์ แป้ง สำลีแบบก้านไว้เช็ดรูจมูกและรูหูของลูก สำลีก้อนผ่านการฆ่าเชื้อไว้เช็ดก้น สำลีแผ่นเดียวรีดข้างไว้เช็ดตา ทิชชูเปียก Car seat สำหรับใช้ตอนออกจากโรงพยาบาล และที่ขาดไม่ได้เลยคือผ้าอ้อม หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป
กรณีที่คุณแม่ใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ข้อดีคือ สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน คุณแม่และคนรอบข้างจะได้มีเวลาทำอย่างอื่น แทนที่จะเสียเวลามาซักผ้าอ้อม และสำหรับเด็กที่เพิ่งคลอด ส่วนใหญ่ก็จะมีขนาดตัวตั้งแต่ 2,700 - 3,200 กรัม จึงเหมาะกับขนาด NB หรือหากลูกตัวเล็กมากก็สามารถเลือกขนาด small NB ซึ่ง มามี่โพโค ซุปเปอร์ พรีเมี่ยม ออร์แกนิค มีให้เลือก ตอบโจทย์ทุกไซส์ มาพร้อมแบบเทปติด มีขอบเอว นุ่ม กระชับทางด้านหลัง ช่วยให้กระชับ แต่ไม่สร้างความอึดอัดให้ลูกน้อย ทั้งยังอ่อนโยนแบบพิเศษด้วยส่วนผสมของปุยฝ้ายธรรมชาติ มีแผ่นซึมซับบางเบาเพียง 0.4 เซนติเมตร ลูกน้อยจึงไม่รู้สึกอึดอัด แต่กลับรู้สึกสบายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีแผ่นซึมซับลอนคลื่น ที่ช่วยซึมซับปัสสาวะได้อย่างรวดเร็ว และสามารถซึมซับแบบ 360 องศา ได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง ให้คุณแม่คลายกังวลว่าลูกน้อยจะสบายตัว ไม่มีอาการระคายเคือง หรืออาการแพ้
ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย