ดูแลลูกน้อยอย่างไร ให้ปราศจากโรคภัยในหน้าฝน
ฤดูฝนของบ้านเราเริ่มต้นตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งในช่วงหน้าฝน มักจะมีโรคต่าง ๆ ที่ระบาดในเด็ก เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคอีสุกอีใส โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วง โรคไอพีดี และปอดบวม โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ที่มักจะเป็นได้ง่าย ๆ หากเด็กป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และดูแลสุขภาพไม่ดี อาจส่งผลให้หลอดลมอักเสบและเป็นโรคปอดบวมได้ในที่สุด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลลูกรักอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยทำตามวิธีที่เรานำมาฝาก ดังนี้
1. เสริมภูมิต้านทานให้ลูกน้อย
เนื่องจากในช่วงหน้าฝนลูกมีโอกาสเจอฝน อากาศเปลี่ยน และทำให้เจ็บป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่าย ดังนั้น ควรเสริมภูมิคุ้มกันลูกไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะวิตามินซี ที่มีอยู่ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ส้ม ฝรั่ง กีวี สตรอว์เบอร์รี มะเขือเทศ บรอกโคลี ผักคะน้า กะหล่ำดอก เป็นต้น หรือจะเสริมด้วยวิตามินซีเม็ด โดยกินในปริมาณที่เหมาะสมตามอายุ คือ อายุ 1 - 3 ปี กินได้ไม่เกิน 400 มิลลิกรัม/วัน อายุ 4 - 8 ปี กินได้ไม่เกิน 650 มิลลิกรัม/วัน และเด็กอายุ 9 - 13 ปี กินได้ไม่เกิน 1,200 มิลลิกรัม/วัน
2. ให้ลูกได้รับวัคซีนป้องกันโรค
โดยปกติแล้วเด็ก ๆ ต้องไปรับวัคซีนหลักให้ครบถ้วน ส่วนวัคซีนเสริม เช่น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโรต้าไวรัส ที่เด็กมักจะเป็นบ่อยในช่วงหน้าฝน คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
3. หน้ากากอนามัยอย่างให้ขาด
เมื่อต้องออกไปข้างนอก ต้องให้ลูกสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพราะถึงแม้ว่าลูกจะไม่ได้เป็นไข้หวัด แต่หากไปสัมผัสใกล้ชิดคนที่มีเชื้อ ลูกก็สามารถติดได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีโควิด-19 ระบาดร่วมด้วยแบบนี้ จึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ
4. ระวังพาหะในหน้าฝน
พาหะนำโรคในหน้าฝน ส่วนใหญ่จะเป็นยุงและแมลงต่าง ๆ วิธีป้องกัน คือ ควรทำความสะอาดบริเวณโดยรอบบ้าน ไม่ให้รก หรือมีน้ำขังจนเป็นแหล่งสะสมของพาหะ นอกจากนี้ ไม่ควรให้ลูกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มียุง และแมลงชุกชุม หรือไปวิ่งเล่นนอกบ้านเวลาเย็น ๆ และตอนกลางคืน จะเป็นการป้องกันได้ดีในระดับหนึ่ง
5. เตรียมอุปกรณ์กันฝนให้พร้อม
หากจำเป็นต้องออกจากบ้านในหน้าฝน สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ ร่ม ชุดกันฝน ผ้าขนหนูผืนเล็ก และถุงพลาสติก เพื่อให้ทันหยิบมาใช้ได้ง่าย ๆ กรณีเด็กที่ต้องไปโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถจัดใส่กระเป๋าลูก โดยเลือกขนาดที่เหมาะสม ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป เพื่อให้พกพาสะดวก
6. รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายหลังโดนฝน
หลังจากที่ลูกโดนฝนมาแล้ว ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ไม่ควรปล่อยให้ลูกไว้อย่างนั้น แต่ให้รีบอาบน้ำทันที จากนั้นเช็ดตัวให้แห้ง สวมเสื้อผ้าสบายตัว อยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ เพื่อให้ร่างกายมีสมดุล เพราะหากร่างกายพบอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากเกินไป ก็มีโอกาสที่จะไม่สบายได้เช่นกัน โดยเฉพาะเด็กที่เป็นภูมิแพ้อากาศ
7. ให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
อากาศในหน้าฝนมักจะมีความชื้นสูง คุณแม่ต้องระวังเรื่องเสื้อผ้าให้ดี เสื้อผ้าต้องตากให้แห้ง เก็บไว้ให้ที่ปลอดโปร่งไม่อับชื้น เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา เชื้อโรค และกลิ่นอับ ลูกจะได้สบายตัว ไม่งอแง ที่สำคัญเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีนั้น ควรผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าใยไผ่ เป็นต้น
8. เลือกผ้าอ้อมระบายอากาศดี และซึมซับยาวนาน
สำหรับลูกที่ยังอยู่ในวัยที่ต้องใส่ผ้าอ้อม คุณแม่ควรเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่มีคุณสมบัติระบายอากาศดี และซึมซับได้อย่างดีเยี่ยม อย่าง มามี่โพโค แพ้นท์ พรีเมี่ยม เอ็กซ์ตร้า ดราย ซึ่งมีแนวซึมซับ “สปีด แอร์ เวฟ” ช่วยซึมซับปัสสาวะได้อย่างรวดเร็ว นานถึง 12 ชั่วโมง นอกจากนี้ก็ยังมีนวัตกรรมจากญี่ปุ่น ที่มีขอบเอวแบบ “ซอฟท์ แอร์ เน็ต” ซึ่งมีรูระบายอากาศ ช่วยระบายความอับชื้นจากด้านในออกสู่ด้านนอกได้ 360 องศา จึงทำให้ผิวลูกน้อยแห้งสบาย ลดอาการคัน และทำให้ลูกอารมณ์ดีตลอดวัน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศบ้านเราที่ร้อนชื้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝน ที่มีความอับชื้นมากเป็นพิเศษ
อ้างอิงข้อมูลจาก:
1. https://www.bangkokhospital.com/content/include-diseases-children-most-vulnerable-in-the-rainy-season
2. http://www.mamaexpert.com/posts/content-5262
ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย