ลูกไอแห้ง ๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก
ลูกไอแห้ง ๆ อันตรายไหม ลูกไอแบบนี้หมายความว่าอะไร อาการไอเกิดขึ้นได้กับเด็กในทุกช่วงวัย และมีหลายแบบ ซึ่งอาการไอส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเสียงไอ หรือลักษณะการไอของทารก สามารถบอกอะไรได้บ้าง มาดูกัน
ลูกไอแห้ง ๆ ไอเสียงวี้ด ลูกไอแบบไหนอันตราย หรือไอแบบไหนมีความเสี่ยง
ลักษณะอาการไอของทารก
1. ไอแห้ง ๆ (Dry cough)
อาการไอแห้ง ๆ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการแพ้ หรืออาการหวัดในทารก การไอชนิดนี้เป็นการไอที่แสดงว่าลูกน้อยรู้สึกระคายเคืองจากการติดเชื้อบริเวณลำคอ
2. ไอแบบมีเสมหะ (Wet cough)
อาการไอลักษณะนี้ อาจบ่งบอกได้ว่าลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จึงส่งผลให้ร่างกายสร้างเสมหะขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค
3. ไอเหมือนหมาเห่า (Barky cough)
หากลูกไอแบบนี้ แสดงว่าลูกน้อยอาจเกิดการบวมของหลอดลม หรือกล่องเสียง จนเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ทำให้ลูกหายใจลำบาก และไอเป็นเสียงก้องคล้ายกับเสียงหมาเห่า
4. ไอกรน (Whooping cough)
ไอกรนเป็นผลมาจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Bordetella Pertussis อาการไอแบบนี้ เด็กจะไอเป็นชุด ๆ มากว่า 20 ครั้งในครั้งเดียว และเด็กจะหายใจลำบากหลังจากที่ไอ อาจมีอาการน้ำมูกไหลร่วมด้วย ซึ่งประมาณ 10% ของทารกเชื้ออาจเข้าสู่ปอดตามทางเดินหายใจ และทำให้เกิดปอดบวม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
ดังนั้น ทารกควรได้รับภูมิต้านทาน โรคไอกรนครั้งแรกผ่านการได้รับวัคซีน โรคไอกรนระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และครั้งต่อไปเมื่อลูกน้อยมีอายุได้ 2 เดือน
5. ไอเสียงวี้ด
อาการไอหายใจดังเสียงวี้ด ๆ นี้ เกิดจากที่ลูกหายใจขณะที่ไอ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหืด หรือหลอดลมอักเสบ หากเจ้าตัวน้อยอาการเหมือนไข้หวัด และประมาณ 2 - 5 วันต่อมาอาการรุนแรงขึ้น ไอ หายใจหอบ มีเสียงวี้ด อาจเป็นสัญญาณของหลอดลมฝอยอักเสบนั่นเอง
6. ไอตอนกลางคืน
อาการไอตอนกลางคืน มักเกิดจากโรคหอบหืด เนื่องจากระบบทางเดินหายใจส่วนใหญ่จะบวมในเวลากลางคืน ยิ่งไปกว่านั้นความเย็นยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการไอตอนกลางคืนได้
● อากาศกลางคืนเย็นกว่ากลางวัน หากไอหนักตอนกลางคืน แต่กลางวันปกติไม่มีอาการไอ อาจเป็นเพราะตอนกลางคืน อากาศเย็นกว่าตอนกลางวัน อากาศเย็นทำให้หลอดลมตีบตัวลง จึงมีอาการไอมากขึ้นในตอนกลางคืน
● ห้องนอนอากาศแห้ง ไม่ถ่ายเท ในห้องนอนที่ปิดทึบ การระบายอากาศไม่ดี และยังเปิดแอร์ตลอดด้วย อาจทำให้ลูกมีอาการไอมากขึ้นในตอนกลางคืนเพราะอากาศแห้ง ความชื้นน้อย เวลาหายใจก็อาจก่ออาการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุจมูกได้
● ฝุ่นในห้องนอน เราอาจจะคิดว่าทำความสะอาดห้องนอนดีแล้ว แต่อาจจะยังไม่ดีพอ เพราะฝุ่นสามารถสะสมได้ตามเครื่องนอน หมอน ผ้าห่ม และโดยเฉพาะหากมีตุ๊กตาขนนุ่มต่าง ๆ ในห้องนอน อาจเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง ไรฝุ่น ซึ่งเมื่อลูกนอนในตอนกลางคืน ก็จะหายใจ สูดเอาฝุ่นเข้าไป กระตุ้นให้เกิดอาการไอเพิ่มมากขึ้น
7. ไอตอนกลางวัน
อาการไอตอนกลางวันอาจเกิดจากการระคายเคืองที่มีอยู่ในอากาศ เช่น ควันบุหรี่ อากาศ และขนสัตว์เลี้ยง
8. ไอและมีไข้
เป็นอาการของไข้หวัด เพราะเด็กจะไอพร้อมกับเป็นไข้ หากลูกน้อยมีไข้ที่สูงมาก ๆ อาจเป็นสัญญาณปอดอักเสบร่วมด้วย คุณพ่อ คุณแม่จึงควรพาลูกไปพบแพทย์หากไข้ไม่ลดลง
9. ไอและอาเจียน
เด็กบางคนมีอาการไอพร้อม กับอาเจียน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคหอบหืด เนื่องจากอากาศที่เย็น หรือฝุ่นละออง ทำให้เด็กมีอาการไอเสียงวี้ด บางรายก็มีอาการไอร่วมด้วยไอเรื้อรังหากลูกมีอาการไอติดต่อกันหลาย ๆ วัน อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ไซนัส โรคภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด ซึ่งโรคพวกนี้ไม่สามารถหายง่าย ๆ ค่ะ
10. ไอเรื้อรัง
หากลูกมีอาการไอติดต่อกันหลายวัน อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ไซนัส โรคภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด ซึ่งโรคพวกนี้ไม่สามารถหายง่าย ๆ
11. ไอเพราะสิ่งแปลกปลอม
ลักษณะอาการไอแบบนี้คือ เด็กจะไอเบา ๆ ไม่หยุด พร้อมกับอ้าปากค้าง พร้อมอาการหายใจลำบาก หลังจากกินข้าว หรือเล่นของเล่นเพราะเด็กอาจจะสำลักจากสิ่งเหล่านี้ได้
วิธีบรรเทาอาการไอของทารก
1. ให้ลูกจิบน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นมากขึ้น แต่แนะนำว่าไม่ควรเป็นน้ำส้ม เพราะยิ่งจะทำให้ลูกน้อยระคายเคืองมากขึ้น สำหรับนมก็สามารถให้ได้ เพราะนมสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ทั้งยังช่วยสู้กับเชื้อโรคได้ดีอีกด้วย
2. ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพราะการพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญในการบรรเทาอาการไอของทารกมาก ๆ
3. สำหรับโรคหอบหืด คุณพ่อ คุณแม่ควรพาลูกไปหาหมออย่างต่อเนื่อง พร้อมกับวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม
4. ควรใช้ยาอย่างระมัด ระวัง เด็กเล็กควรกินยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
5. ถ้าเป็นการไอจากการที่มีน้ำมูกมาก ๆ การล้างจมูก หรือหยอดจมูกด้วยน้ำเกลือ ร่วมกับการให้ยาลดน้ำมูกที่เหมาะสมจะทำให้อาการดีขึ้น
ลูกไอแบบไหนอันตรายควรพาไปหาหมอ
1. ลูกมีอาการไอนานมากกว่าสองสามชั่วโมง คุณควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที
2. ลูกเริ่มไอเป็นเลือด หรือภาวะเหมือนขาดน้ำ หรือมีปัญหาในการหายใจก็เป็นสัญญาณว่าอาการไอของเขาเริ่มรุนแรง และเขาต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
3. เป็นไข้สูงพร้อม ๆ กับการไอ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็ว
4. ไอขณะที่หายใจ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายแล้วต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ด่วน
เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการไอ อย่าลืมสังเกตลักษณะการไอของลูกน้อย เพราะเสียงไอสามารถบอกได้ว่าลูกไอเพราะอะไร ไอแบบไหนอันตราย
โรคอื่น ๆ ที่เด็ก ๆ สามารถไปได้ มีอะไรบ้าง
● โรคหืด
แม้ว่าอาการของโรคหืด จะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย แต่ผู้ป่วยมักไอแบบมีเสียงหวีด ซึ่งอาการมักรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน และมักไอขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นขณะที่กำลังเล่น กับเพื่อน หรือออกกำลังกาย นอกจากนี้ หากเด็กมีประวัติป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ หรือไอแบบเป็น ๆ หาย ๆ มาก่อน เมื่ออาการของโรครุนแรงขึ้นก็อาจหอบเหนื่อย หายใจเสียงดังหวีด และหน้าอกบุ๋มได้ อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวมักดีขึ้นเมื่อได้พัก และได้รับยาขยายหลอดลม
● โรคไซนัสอักเสบ
อาจเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง และยังทำให้คอระคายเคือง มีน้ำมูก หรือเสมหะ คันตา คันจมูก เจ็บคอ เป็นต้น
● โรคกรดไหลย้อน
อาจทำให้เด็กมีอาการไอ อาเจียนบ่อย ๆ มีรสขมในปาก และรู้สึกปวดแสบร้อนภายในอก
● โรคไอกรน
อาการไอจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ โดยหลังจากการไอสิ้นสุดลงแล้วจะมีลมหายใจเข้าเป็นเสียงดัง วู้ป ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการน้ำมูกไหล จาม และมีไข้ต่ำร่วมด้วย
● โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย