โรคหัด โรคไข้ออกผื่น คืออะไร อันตรายไหม หากลูกเป็นโรคหัดควรทำอย่างไร
โรคหัด โรคไข้ออกผื่น คืออะไร โรคหัด มีการติดต่อได้อย่างไร? โรคหัด โรคไข้ออกผื่น พบได้บ่อยในช่วงอายุใด? อาการของโรคหัด เป็นอย่างไร? ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในโรคหัด คืออะไร? หากลูกเป็นโรคหัด คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร? การป้องกันโรคหัดทำได้อย่างไร? ไปหาคำตอบกันค่ะ
โรคหัด โรคไข้ออกผื่น
คุณพ่อพาน้องเอ็ม (นามสมมติ) อายุ 10 ปี มาปรึกษาหมอ ด้วยอาการผื่นแดงเป็นปื้น ๆ ทั่วตัว มา 3-4 วัน มีอาการคันเล็กน้อย โดยผื่นเริ่มจะขึ้นที่หน้า บริเวณไรผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา ร่วมกับมีไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง หลังจากที่ได้ซักถามประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมแล้ว หมอก็ทราบว่า น้องเอ็มเป็น โรคหัด ซึ่งจะเริ่มระบาด ในช่วงฤดูหนาวแบบนี้ นั่นเองค่ะ
โรคหัด โรคไข้ออกผื่น
โรคหัด โรคไข้ออกผื่น: คุณพ่อพาน้องเอ็ม (นามสมมติ) อายุ 10 ปี มาปรึกษาหมอ ด้วยอาการผื่นแดงเป็นปื้น ๆ ทั่วตัว มา 3-4 วัน มีอาการคันเล็กน้อย โดยผื่นเริ่มจะขึ้นที่หน้า บริเวณไรผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา ร่วมกับมีไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง หลังจากที่ได้ซักถามประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมแล้ว หมอก็ทราบว่า น้องเอ็มเป็น โรคหัด ซึ่งจะเริ่มระบาด ในช่วงฤดูหนาวแบบนี้ นั่นเองค่ะ
โรคหัด คืออะไร?
โรคร้าย ที่มากับลมหนาว โรคหัด โรคไข้ออกผื่น พบบ่อย ๆ ในเด็กเล็ก ๆ ถ้าไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด พบมากในเด็กอายุ 1-6 ปี แต่สำหรับท่านที่มีเด็กเล็ก ก็ต้องระวัง เพราะแม้แต่ทารกวัย 6-9 เดือน ก็เสี่ยงได้เช่นกัน
โรคหัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า Rubeola Virus เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้ออกผื่นชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ มีอาการไข้ ร่วมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจชัดเจน เช่น ไอบ่อย มีน้ำมูกมาก ตาแดง ปากแดง นำมาก่อนที่จะมีผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งในระยะแรกนั้น ผื่นจะมีสีแดง ต่อมา เมื่อใกล้หาย ผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง
โรคหัด มีการติดต่อได้อย่างไร?
โรคหัด สามารถติดต่อกันได้ง่าย เนื่องจากเชื้อไวรัสก่อโรค พบมากในน้ำลาย น้ำมูก และละอองเสมหะของผู้ป่วย เมื่อมีการไอ จาม หายใจรดกัน หรือใช้สิ่งของร่วมกัน เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายทางการหาย ใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส เข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้
โรคหัด มักจะพบในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน แต่ก็อาจพบได้ประปรายตลอดปี
โรคหัด โรคไข้ออกผื่น พบได้บ่อยในช่วงอายุใด?
โดยทั่วไปแล้ว โรคหัด สามารถที่จะพบบ่อยในเด็กอายุ 1-6 ปี แต่หลังจากที่ประเทศไทย เริ่มให้วัคซีนป้องกันหัด เป็นวัคซีนสำหรับเด็ก ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข (EPI) สำหรับเด็กอายุ 9-12 เดือน ทำให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงเป็นอย่างมาก ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
ปัจจุบันผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่ มักจะเป็นเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป หรือเด็กที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน
อาการของโรคหัด เป็นอย่างไร?
ในช่วงแรก ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ไอแห้ง มีน้ำมูก ตาแดง น้ำตาไหล และมีไข้สูงตลอดเวลา อ่อนเพลีย ซึมลง หรือกระสับกระส่าย ร้องกวน หลังจากมีไข้ 3 ถึง 4 วัน จึงจะมีผื่นขึ้น ลักษณะเป็นผื่นแดง รวมตัวกันเป็นปื้น โดยเริ่มเห็นผื่นขึ้นที่บริเวณตีนผม และซอกคอก่อนเป็นอันดับแรก แล้วลามไปตามใบหน้า ลำตัว และแขนขา
ผู้ป่วยอาจมีอาการคันเล็กน้อย ประมาณ 2- 3 วัน นับจากวันแรกที่เริ่มขึ้น ผื่นจึงจะจางลง โดยเมื่อผื่นจางลง ก็จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำในช่วงแรก เมื่อเข้าสู่ระยะใกล้หายจากโรค ผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในโรคหัด คืออะไร?
ผู้ป่วยโรคหัดส่วนใหญ่ มักจะหายจากโรคได้เอง และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย แต่ก็อาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบติดเชื้อ โรคอุจจาระร่วง ซึ่งจะพบได้ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเป็นโรคขาดสารอาหาร โดยมักพบในระยะหลังของโรค ซึ่งไข้เริ่มทุเลาลงแล้ว
หากลูกเป็นโรคหัด คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร?
เนื่องจากโรคนี้ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และอาการมักจะไม่รุนแรง การรักษา และปฏิบัติตัวของผู้ป่วย จึงเน้นการรักษาตามอาการ เหมือนโรคไข้หวัด เช่น เช็ดตัวลดไข้ ทานยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการอื่น ๆ เช่น ยาแก้ไอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะ ๆ โดยคุณพ่อ คุณแม่ สามารถให้การดูแลลูกอยู่ที่บ้านได้ในเบื้องต้น แต่ถ้าหากลูกมีอาการไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียว หรือหายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ
นอกจากนี้ การเลือกผ้าอ้อมสำหรับลูก ควรเป็นผ้าอ้อมที่ระบายความอับชื้นได้ดี เนื่องจากช่วยให้ลูกรักรู้สึกสบายตัวมากขึ้น โดยคุณแม่ควรเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ที่มีคุณสมบัติ ระบายความอับชื้นไว ซึมซับรวดเร็ว อย่าง มามี่โพโค พรีเมี่ยม เอ็กซ์ตร้า ดราย ที่มีนวัตกรรมระบายอากาศ 360 องศา และซึมซับปัสสาวะได้รวดเร็ว ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวมากยิ่งขึ้นค่ะ
การป้องกันโรคหัดทำได้อย่างไร?
นอกจากการป้องกัน โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยแล้ว โรคหัด สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ซึ่งปัจจุบัน เป็นวัคซีนตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องฉีดให้เด็กทุกคน จากเดิมวัคซีนป้องกันโรคหัดจะให้ใน 2 ช่วงอายุ คือ เข็มแรก ให้ในเด็กอายุ 9- 12 เดือน และกระตุ้นเข็มที่ 2 ในเด็กอายุ 4-6 ปี
จนมาในช่วงปี พ.ศ. 2555-2557 กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีเด็กอายุ 2 ปี ป่วยเป็นโรคหัดมากขึ้น จึงพิจารณา และเสนอให้เปลี่ยนเกณฑ์การให้วัคซีนเข็มที่ 2 ใหม่ เป็นอายุ 2 1/2 ปีแทน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558
ปัจจุบันจึง แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด เข็มแรกที่อายุ 9-12 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2 1/2 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปติดต่อขอรับการฉีดวัคซีนโรคหัด ได้ที่สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านค่ะ
Credit content: www.th.theasianparent.com
ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย