Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

การตรวจอัลตราซาวด์

การตรวจอัลตราซาวด์

การตรวจอัลตราซาวด์คืออะไร?

คุณเคยถูกขอให้ดูรูปการตรวจอัลตราซาวด์ (echo) ของเด็กที่อยู่ในท้องจากบรรดาคุณแม่รุ่นพี่หรือไม่?
การตรวจอัลตราซาวด์ไม่เพียงทำให้ทุกคนสนุกเท่านั้น
แต่ยังเป็นการตรวจสอบเพื่อให้รู้เรื่องสำคัญต่าง ๆ สำหรับคุณแม่และลูก

การตรวจอัลตราซาวด์ทำอย่างไร?

การตรวจอัลตราซาวด์เป็นวิธีการตรวจสอบ

เพื่อเช็คสภาพการเจริญเติบโต

และความแข็งแรงของลูกที่อยู่ในครรภ์

รวมถึงสภาพร่างกายของคุณแม่ด้วยภาพ

ซึ่งจะทำตั้งแต่ตอนตรวจครั้งแรก

ปัจจุบันเทคโนโลยีการตรวจอัลตราซาวด์ก้าวหน้าไปอย่างมาก

และมีด้วยกันหลายประเภทแบ่งได้ตามวิธีการใช้หัวตรวจและวิธีแสดงภาพ

ขอบคุณภาพจาก Inoue Ladies Clinic

กลไกของการตรวจอัลตราซาวด์

กลไกของการตรวจอัลตราซาวด์

ภาพตัวอย่างเครื่องอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด

การตรวจอัลตราซาวด์มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับเครื่องหาปลา คลื่นอัลตราโซนิกที่เป็นคลื่นความถี่สูงนั้น มีคุณสมบัติสะท้อนเส้นขอบอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อเมื่อผ่านของเหลว ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในทะเลโดยสร้างเป็นเครื่องหาปลา และมีการนำไปประยุกต์ใช้ในท้องของคุณแม่ที่เต็มไปด้วยน้ำคร่ำโดยนำไปตรวจสอบระหว่างการตั้งครรภ์

การตรวจอัลตราซาวด์จะทำให้สามารถเห็นคลื่นอัลตราโซนิกเป็นภาพได้ ดังนั้นจึงสามารถตรวจสอบได้ด้วยการดูที่จอมอนิเตอร์หรือปริ้นท์ภาพออกมา และในบางโรงพยาบาลอาจจะสามารถขอให้ช่วยบันทึกภาพเป็นวีดีโอได้

การตรวจอัลตราซาวด์ยังไม่มีตัวอย่างรายงานถึงผลข้างเคียงต่อผู้ตั้งครรภ์เหมือนเช่นการเอกซ์เรย์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัยสูง

ประเภทใช้หัวตรวจ

วิธีอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด

ประเภทใช้หัวตรวจ

ภาพแสดงตัวอย่างการ

เป็นวิธีการตรวจโดยการสอดอุปกรณ์ส่งคลื่นอัลตราโซนิกในรูปแบบแท่งที่เรียกกันว่าหัวตรวจทางช่องคลอดเข้าไปในช่องคลอด

วิธีการนี้จะถูกนำมาใช้ตรวจอัลตราซาวด์ในครั้งแรกเป็นหลัก เนื่องจากวิธีการนี้จะถูกใช้จนถึงประมาณ 11 - 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์

การสอดเข้าไปในช่องคลอดจะช่วยให้เห็นมดลูกในตำแหน่งที่ใกล้กับลูกในครรภ์มากกว่า จึงสามารถได้ภาพที่ละเอียด และไม่เพียงแต่ได้ตรวจสภาพของลูกเท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจสภาพความแข็งแรงของมดลูกและรังไข่ของคุณแม่ได้อีกด้วย

หากเข้ารับการตรวจอย่างผ่อนคลาย จะไม่รู้สึกเจ็บ แต่หากเครียดและฝืน อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บในตอนที่สอดเข้าไป ซึ่งในเวลาดังกล่าวขอให้บอกคุณหมอตรง ๆ

หัวตรวจจะมีการฆ่าเชื้อ และใส่ถุงยางอนามัยเฉพาะทางให้ทุกครั้ง จึงมีความสะอาดมาก

วิธีอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง

วิธีอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง

ภาพแสดงการทำอัลตร้าซาวด์ผ่านหน้าท้อง

การตรวจอัลตราซาวด์ที่ทำตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์จะใช้หัวตรวจตรวจจากภายนอกท้อง โดยจะทาเจลสำหรับช่วยให้คลื่นอัลตราโซนิกผ่านได้ดีที่ท้อง และค่อย ๆ เลื่อนหัวตรวจเท่านั้น จึงไม่มีความเจ็บปวด มีเพียงแค่จะรู้สึกเจลเย็นเล็กน้อย และจะต้องเปลี่ยนท่าทางและการหายใจตามคำสั่งให้ตรงกับตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของลูก แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาจจะรู้สึกลำบากบ้าง

เจลที่ใช้ไม่มีอันตรายใด ๆ สามารถทำความสะอาดหลังตรวจได้ง่าย ๆ แค่ใช้ผ้า ฯลฯ เช็ดออก

ประเภทการตรวจอัลตราซาวด์

วิธี Ultrasonotomography

ประเภทการตรวจอัลตราซาวด์

ภาพแสดงการอัลตร้าซาวด์แบบ 2 มิติ

เป็นวิธีที่แสดงข้อมูลที่ได้รับจากการสะท้อนของคลื่นอัลตราโซนิกเป็นภาพ 2 มิติ (แนวราบ) และเป็นวิธีการตรวจที่ใช้กันมากที่สุด

มีทั้งแบบตรวจทางช่องคลอดและทางหน้าท้อง

วิธี Color Doppler Image *วิธีตรวจทางหน้าท้อง

เป็นวิธีการตรวจอัลตราซาวด์ที่สามารถตรวจวัดปริมาณและความเร็วของกระแสเลือด ซึ่งทำให้รู้ถึงความผิดปกติของจำนวนเส้นเลือดในสายสะดือและรูปร่างหัวใจของลูก

วิธี 3D *วิธีตรวจทางหน้าท้อง

วิธี 3D *วิธีตรวจทางหน้าท้อง

ภาพแสดงการอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติ

เป็นวิธีที่ช่วยให้เห็นรูปร่างจริงแบบ 3 มิติของลูกในท้อง ราวกับได้แอบมองลูกผ่านหน้าต่าง

วิธี 4D *วิธีตรวจทางหน้าท้อง

วิธี 4D *วิธีตรวจทางหน้าท้อง

ภาพแสดงการอัลตร้าซาวด์แบบ 4 มิติ

จะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีมิติเวลาเพิ่มจากวิธี 3D โดยจะสามารถเห็นการเคลื่อนไหวเบา ๆ สบาย ๆ ราวกับลูกกำลังเดินสำรวจอวกาศอยู่ในน้ำคร่ำ

ในการตรวจสอบการเจริญเติบโตของลูก และตรวจสภาพมดลูกและรังไข่ของคุณแม่ สามารถตรวจด้วยวิธี Ultrasonotomography ก็เพียงพอ โรงพยาบาลที่นำวิธี 3D และ 4D มาใช้ยังมีไม่ค่อยมาก แม้ว่าจะนำวิธี 3D และ 4D มาใช้ แต่เนื่องจากไม่ใช่การตรวจสอบที่บังคับ จึงยังมีผู้ที่ต้องการตรวจน้อย

ความถี่ในการตรวจอัลตราซาวด์

ขึ้นอยู่กับสถาบันการแพทย์ แต่การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการตรวจที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่มีโรงพยาบาลบางแห่งที่ทำการตรวจทุกครั้งที่ไปตรวจตามกำหนดเวลา หรือทำการตรวจ 2 - 3 ครั้งตามความจำเป็น

การตรวจอัลตราซาวด์ทำให้รู้อะไร?

หากเป็นการตรวจอัลตราซาวด์แบบ 3D หรือ 4D จะช่วยให้เห็นรูปร่างจริงของทารกได้อย่างแท้จริง

จนแทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นภาพที่อยู่ในมดลูก

แต่การดูภายในร่างกายของคุณแม่หรือรูปร่างทารกแบบนี้

ทำเพื่อให้รู้เรื่องอะไร?

เพื่อตรวจเช็คสุขภาพของคุณแม่

ก่อนอื่นเลยจะสามารถตรวจสภาพของมดลูกและรังไข่ของคุณแม่ได้ ในขั้นตอนของการตรวจครั้งแรก จะเป็นการตรวจที่จำเป็นเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ เช่น ตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือไม่ มีสิ่งผิดปกติที่รังไข่หรือไม่

และในระหว่างตั้งครรภ์ก็จะมีประโยชน์อย่างมากต่อการตรวจ เช่น การตรวจเรื่องภาวะรกเกาะต่ำ เป็นต้น

เพื่อให้รู้สภาพการเจริญเติบโตของลูก

วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือตรวจสอบว่าลูกเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ไม่เพียงแค่ทำให้รู้ว่าเป็นลูกแฝด หรือเด็กเอาหัวขึ้นหรือไม่เท่านั้น แต่ยังสามารถวัดความยาวและขนาดของตำแหน่งต่าง ๆ ตามลักษณะท่าทางของลูก โดยจะวัดความยาวตั้งแต่ศรีษะถึงก้นที่เรียกกันว่า “ความยาวของทารก (Crown-Rump Length; CRL)” หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของศรีษะ, ความยาวของกระดูกสะโพก, ขนาดของรอบท้อง ฯลฯ อย่างละเอียดซึ่งจะนำไปใช้เพื่อกำหนดวันคลอด

นอกจากนี้ เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 24 สัปดาห์ จะเริ่มแบ่งเพศได้ว่าเป็นชายหรือหญิง แต่เนื่องจากไม่ใช่การตรวจเพื่อระบุเพศ ดังนั้นอาจจะมีโรงพยาบาลบางแห่งที่ไม่แจ้งเรื่องนี้

เพื่อให้รู้เกี่ยวกับสุขภาพของลูก

วิธี Color Doppler จะช่วยให้รู้เกี่ยวกับสภาพการไหลเวียนเลือดของลูก ซึ่งอาจจะมีบางกรณีที่ทำให้รู้เกี่ยวกับความแข็งแรงของอวัยวะภายในแต่ละชิ้น สภาพของสายสะดือ หรืออาจจะพบความผิดปกติของหัวใจ ฯลฯ

นอกจากนี้ อาจจะทำให้พบข้อมูลที่ทำให้รู้เกี่ยวกับปัญหาในตอนคลอดจากปริมาณของน้ำคร่ำ ตำแหน่งของรก และสภาพของสะดือได้เร็ว แต่เนื่องจากการตรวจด้วยการดูนั้นมีความแตกต่างกับการตรวจสอบทางเคมี จึงไม่ได้หมายความว่าจะสามารถพบสภาพทั้งหมดด้วยการตรวจนี้

ทำให้ “ได้รู้สึก” มากกว่า “รู้”

การ “เห็น” ลูกในท้องด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ถือว่าเป็นเรื่องน่าพิศวงมาก สำหรับคุณแม่ สิ่งนี้เป็นประสบการณ์แรกที่ “สามารถพบ” กับลูกได้ และเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงความเป็นแม่ หากได้รับรูปถ่ายแล้ว ขอให้นำไปให้ครอบครัวดูด้วยทันที

จะได้รับรูปถ่ายหรือไม่?

มีผู้ที่มีรูปถ่ายในตอนตรวจอัลตราซาวด์อยู่เป็นจำนวนมาก

ดังนั้นอาจจะมีบางคนที่รอคอยการตรวจนี้

ในจำนวนนั้น บางคนอาจจะขอเป็นภาพถ่ายวีดีโอ

โดยในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ จะให้รูปถ่ายเป็นที่ระลึก

แต่ท้ายที่สุดแล้วการตรวจสอบนั้นทำเพื่อตรวจร่างกาย

การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ดังนั้นขอให้ลองสอบถามกับคุณหมอประจำตัวดู

กรณีที่อยากได้รูปถ่าย…

กรณีที่อยากได้รูปถ่ายในการตรวจอัลตราซาวด์ ทางที่ดีที่สุดขอให้ตรวจสอบว่าจะได้รับหรือไม่ในตอนที่เลือกโรงพยาบาล แต่หากเลือกไปแล้วโดยไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ยังมีสถาบันการแพทย์ที่ตรวจอัลตราซาวด์และถ่ายภาพให้แม้ว่าจะไม่ได้ไปตรวจประจำก็ตาม ขอให้ลองหาทางอินเตอร์เน็ตและช่องทางอื่นดู

รูปถ่ายนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่?

เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถาบันการแพทย์ หากเป็นภาพโทโมกราฟีปกติ สถาบันการแพทย์โดยส่วนใหญ่จะปรินท์ให้เป็นที่ระลึก แต่หากเป็นภาพ 3D หรือภาพถ่ายวีดีโอ ฯลฯ ส่วนมากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายพันเยน

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับคุณแม่ที่เกี่ยวข้อง