Thailand

Poko-chan

bg-header-site-01.png

ทารกช่วงลุกนั่ง (พลิกตัว - นั่ง)

ทารกช่วงลุกนั่ง (พลิกตัว - นั่ง)

หากสามารถพลิกตัวได้แล้ว แสดงว่ากล้ามเนื้อเริ่มมีแรง และใกล้ถึงวันที่จะนั่งได้ ในช่วงแรกอาจจะยังไม่สามารถทำได้หากคุณแม่ไม่ช่วยพยุง แต่ในไม่ช้าทารกจะสามารถนั่งนิ่ง ๆ ได้เอง ทำให้ลูกมีทัศนียภาพที่กว้างขึ้น โลกของลูกก็จะกว้างขึ้น! เมื่อทารกพลิกตัวหรือนั่งได้ ก็จะขยับร่างกายโดยเฉพาะบริเวณท้องได้แรงขึ้น

เพราะลูกขยับตัวมากผ้าอ้อมจะแน่นเกินไปรึเปล่า
ปัสสาวะก็มีปริมาณมากขึ้นด้วย

สภาพการเจริญเติบโต เกณฑ์รูปร่าง น้ำหนัก : 6 - 14 กิโลกรัม

ร่างกายโดยรวม

คอจะเริ่มแข็ง สะโพกก็เริ่มจะแข็งแรง ร่างกายมั่นคงอุ้มได้ง่ายขึ้น

เท้า

มีแรงมากขึ้น และเริ่มเตะผ้าห่ม บางครั้งเมื่อคุณแม่หรือคุณพ่อพยุงรักแร้ก็จะกระโดดขึ้นด้านบนหัวเข่า

แขน

ถ้านอนคว่ำอยู่ ก็จะชันแขน ยกศีรษะขึ้นได้อย่างมั่นคงและในสภาพที่นอนคว่ำหรือตอนที่เล่นเท้าตัวเองจะทำให้สามารถพลิกตัวได้

มือ

สามารถจับหรือเคาะของเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว

สะโพก, หลัง

กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังมีการพัฒนามากขึ้นในช่วงแรก จะสามารถนั่งได้โดยการพิงและจะค่อย ๆ นั่งเองคนเดียวได้ และท่านั่งก็มั่นคงขึ้น

ฟัน

เด็กบางคนจะเริ่มมีฟันขึ้นโดยฟันหน้าด้านล่างหรือด้านบน 2 ซี่จะเริ่มโผล่ขึ้นมาเล็กน้อย

ผิว

มีการเผาผลาญพลังงานมาก ทำให้เล็บและผมยาวเร็ว ควรหมั่นตัดเล็บเนื่องจากเล็บอาจจะทำให้ผิวของลูกเป็นแผลได้ นอกจากนี้ผมอาจจะทำให้รอยพับบริเวณหูฉีกขาด ขอให้ระมัดระวังให้มาก และขอให้ดูแลตรวจเช็คจมูกและหูให้ดีด้วย ปัสสาวะเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้น หากไม่หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ จะทำให้ก้นเกิดผื่นคันขึ้นได้ และช่วงนี้เป็นช่วงที่ทารกเจริญเติบโตเร็ว ซึ่งผ้าอ้อมที่เหมาะกับเมื่อวานก็อาจจะทำให้บริเวณเอวหรือขาหนีบแน่นและรัดจนเกิดผื่นผ้าอ้อมในวันนี้ได้

ดังนั้น หลังทำความสะอาดจะต้องรักษาความชุ่มชื้นด้วย

นมแม่, นมชงและอาหารเด็กอ่อน

ลูกจะเริ่มแสดงความสนใจกับของกินของคุณแม่และคุณพ่อ เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเริ่มถึงเวลาให้อาหารเด็กอ่อน รสชาติและรูปร่างของช้อนหรือของกินเป็นประสบการณ์แรกของลูกทั้งสิ้น ดังนั้นต้องใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และค่อยเป็นค่อยไปให้เหมาะกับการเติบโตของลูก หากเริ่มคุ้นเคยกับของเหลวข้นแล้ว ก็จะเปลี่ยนไปเป็นอาหารเหนียวข้นอ่อนนุ่มที่ใช้ลิ้นดุนได้

ในตอนที่เป็นเด็กเล็ก หากมีประสบการณ์เกี่ยวกับรสชาติที่หลากหลาย ก็จะทำให้ความชอบและไม่ชอบน้อยลง แม้ว่าจะเริ่มให้อาหารเด็กอ่อน แต่ก็ควรให้นมในจำนวนครั้งและปริมาณเช่นเดียวกับที่ผ่านมาเท่าที่ลูกต้องการ

ดังนั้น จะเพิ่มปริมาณและสารอาหารที่ไม่เพียงพอในนมแม่ได้ด้วยอาหารเด็ก

การอาบน้ำ

หากลูกนั่งได้และร่างกายแข็งแรงแล้ว จะสามารถนั่งเก้าอี้เด็กสำหรับอาบน้ำได้ ซึ่งจะทำให้มีช่วงเวลาอาบน้ำกับคุณแม่และคุณพ่อที่สนุกมากขึ้น ผมลูกจะเริ่มยาวมาก ดังนั้นขอให้สระผมเพื่อป้องกันไม่ให้มีผดขึ้นที่หนังศศีรษะ ซึ่งหากใช้แชมพูสำหรับทารกที่ล้างฟองออกได้ง่ายและไม่แสบตา จะช่วยให้คุณแม่วางใจได้มากขึ้น ถ้าลูกเริ่มมีแรงที่เท้า ลูกมักจะใช้เท้ายันไว้ ขอให้ระมัดระวังให้มากเนื่องจากอาจจะทำให้คุณแม่เสียการทรงตัวและล้มลงได้

ดังนั้น ก่อนที่จะอาบน้ำขอให้ตรวจเช็คและปรับอุณหภูมิของห้องน้ำและน้ำอุ่นก่อน

การแต่งตัว

หากสามารถพลิกตัวได้แล้ว สิ่งที่ขัดขวางการเคลื่อนไหวจะทำให้ทารกเกิดความเครียดได้ ดังนั้นจึงควรเลือกเสื้อผ้าเรียบ ๆ และบางเท่าที่จะทำได้ ซึ่งทำให้ลูกเคลื่อนไหวได้ง่าย และคุณแม่ก็ดูแลได้ง่ายด้วย ทารกต้องการขยับแขนและใช้มือได้อย่างอิสระในการนั่ง ตบมือ หรือเล่นของเล่น ดังนั้นจึงควรเลือกเสื้อแขนสั้น หากแขนเสื้อยาวเกินไป ขอให้พับขึ้นมา

ดังนั้น หากเลือกเสื้อผ้าให้เคลื่อนไหวได้ง่าย เช่น เสื้อคลุมที่บางหรือเสื้อยืด+กางเกงได้ก็คงจะดี

1 วันของทารก

หากให้นมลูกเต็มอิ่มก่อนนอน จะทำให้ลูกหลับสนิทจนถึงเช้าโดยไม่ตื่นกลางดึก เวลาตื่นตอนกลางววันก็จะนานขึ้น สามารถเล่นของเล่นกับคุณแม่ และค่อย ๆ นั่งเองคนเดียวได้นานขึ้น มีเด็กบางคนที่ร้องตอนกลางคืนหรือเข้านอนยาก ดังนั้น ในวันที่อากาศดี ก็ขอให้คุณแม่พาออกไปข้างนอก หรือปูเบาะรองไว้บนพื้นในบ้าน และปล่อยให้เล่นอย่างอิสระ

ดังนั้น จะต้องสร้างจังหวะเพื่อให้ตอนกลางวันมีการทำกิจกรรมและกลางคืนนอนเร็ว หากสามารถนั่งเองได้เป็นเวลานาน ก็ถึงวันที่เริ่มเหมือนจะคลานแล้ว!

การนั่งของลูกน้อย

การนั่งของลูกน้อย

กล้ามเนื้อบริเวณคอ ลำตัว และหลัง ต้องมีความพร้อม และแข็งแรง เมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 3 ส่วนพร้อมแล้วขั้นต่อไปลูกก็จะค่อยๆ ลุกขึ้นนั่งได้แล้วละค่ะ ช่วงอายุประมาณ 8-9 เดือนส่วนใหญ่ลูกก็จะนั่งได้แล้ว แต่เรื่องการนั่งสำหรับเด็กๆไม่ง่ายเลย เพราะต้องใช้ความสมดุลของร่างกาย

แรกเกิด : ลูกน้อยยังไม่สามารถนั่งได้ ส่วนลำตัวยังอ่อน ไม่สามารถเกร็งหรือทรงตัวได้

อายุ 1 เดือน : คุณแม่สามารถช่วยประคอง ลูกจะพยายามตั้งคอ 2-3 วินาที แล้วประคองให้เขานั่งหลังแบบโค้งๆค่ะ

อายุ 4 เดือน : คอของลูกเริ่มแข็งแรงขึ้น ทำให้เงยหน้าได้แล้ว ส่วนที่เป็นลำตัวด้านบนจะเริ่มตั้งตรงได้แล้ว แต่ละตัวส่วนล่างยังโค้งๆอยู่ เมื่อหลังส่วนบนตั้งได้แล้ว ลูกจะสามารถนั่งโดยไม่ต้องใช้มือช่วยยันพื้นได้แล้วค่ะ

อายุ 6 เดือน : คุณแม่สามารถเริ่มฝึกให้ลูกลองนั่งเก้าอี้ ถ้ายิ่งมีหมอนนุ่มๆ ช่วยอิงไว้พิงหลัง ลูกจะนั่งได้แบบสบายๆไม่ต้องกลัวล้มอยู่ได้ด้วยตัวเองประมาณ 2-3 วินาทีค่ะ

อายุ 9-10 เดือน : ลูกสามารถนั่งทรงตัวได้ดี และสามารถหันตัวไปมองรอบๆ เอนตัวไปข้างหน้า หรือข้างหลังก็ได้

update : 19.09.2560

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

แชร์